วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทที่ 3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนที่ 2

เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
ผู้สอน : นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
----------------------

บทที่ 3  ตอนที่ 2 
 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ต่อ)

  มีเงินได้เท่าไรจึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก่อนปีภาษี ๒๕๖๐          

               ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
      - กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท
      - กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 100,000 บาท

2. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
      - กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
      - กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 60,000 บาท

3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 30,000 บาท

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท

ตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
     เงินได้ที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
(1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด  ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน   100,000 บาท
- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส  ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกัน เกิน 200,000 บาท
(2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด  ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน  60,000 บาท
- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส  ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน  เกิน 120,000 บาท
(3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง  ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน   60,000 บาท
(4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล  ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้
   เกิน 60,000 บาท

                      วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?

      การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี (รายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีภาษีนั้น)
 ผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมกราคม -มีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้

              การคำนวณภาษีมี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1. ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ โดยนำเงินได้ทั้งหมด(หักเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีแล้ว) หักค่าใช้จ่าย เหลือเท่าไร  หักค่าลดหย่อนและ หักเงินบริจาค  เหลือเงินได้สุทธิเท่าไรให้คำนวณตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
วิธีที่ 2. ภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน หากเงินได้พึงประเมินมีจำนวนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดรวมเงินได้พึงประเมินทุกประเภท คูณด้วย 0.005 เว้นแต่คำนวณแล้วไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระ ภาษีจากวิธีที่ ๑ หากเกิน 5,000 บาท ให้ชำระภาษีจากยอดที่มากกว่าระหว่างวิธีที่ ๑ กับ วิธีที่ ๒

โดยมีขั้นตอนการคำนวณ ดังต่อไปนี้

ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1
เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี xxxx (1)
หัก เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามที่กฏหมายกำหนด                                                 xxxx
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด  xxxx (2)
(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                                  xxxx (3)
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด xxxx (4)
(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ                                                     xxxx (5)
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด                                     xxxx (6)
(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ                                                                                                xxxx (7)
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้ 
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1                                                                       xxxx (8)
 

ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
           กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น
             หมายเหตุ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 ( 10 ) แต่ยังคงมีหน้าที่เสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 ( 8 ) โดยนำมาสรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียขั้นที่สาม


ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี
กำหนดให้ (10) คือ จำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2
การคำนวณภาษี
จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10)    จำนวนที่สูงกว่า xxxx (11)
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว xx
      ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว                                                                  xx
      ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า                                                                        xx
      เครดิตภาษีเงินปันผล xx
รวมหัก xxx (12)
  เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (11)-(12) xx xxx 

 กรณี (12) มากกว่า (11) จะเหลือภาษีที่ชำระไว้เกิน  ที่สามารถขอคืนจากกรมสรรพากรได้
 หากผู้มีเงินได้มีคส่มประสงค์ขอคืน ให้ผู้มีเงินได้แจ้งความประสงค์ขอคืนในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 โดยลงชื่อในส่วนของคำร้องขอคืนภาษี


 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๕๖  ถึงปี ภาษี๒๕๕๙


เงินได้สุทธิ  0- 150,000 บาท                                      ( เสียภาษีในอัตรา 5%)     (  ได้รับการยกเว้นภาษี)
เงินได้สุทธิ 150,001 บาท ถึง 300,000 บาท                              เสียภาษีอัตราร้อยละ 5
เงินได้สุทธิ  300,001 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท                เสียภาษีอัตราร้อยละ 10
เงินได้สุทธิ  500,001 บาท แต่ไม่เกิน 750,000 บาท                เสียภาษีอัตราร้อยละ 15
เงินได้สุทธิ  750,001 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท             เสียภาษีอัตราร้อยละ 20
เงินได้สุทธิ  1,000,001 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท          เสียภาษีอัตราร้อยละ 25
เงินได้สุทธิ  2,000,001 บาท แต่ไม่เกิน 4,000,000 บาท          เสียภาษีอัตราร้อยละ 30
เงินได้สุทธิ  4,000,001 บาท ขึ้นไป                                         เสียภาษีอัตราร้อยละ 35

****************************************************

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตั้งแต่ปีภาษี  ๒๕๖๐

 •เงินได้สุทธิ  0-150,000 บาท                                 เสียภาษีในอัตรา 5%     (  ได้รับการยกเว้นภาษี)
 •เงินได้สุทธิ  150,001 – 300,000 บาท                   เสียภาษีในอัตรา 5%
 •เงินได้สุทธิ  300,001 – 500,000 บาท                   เสียภาษีในอัตรา 10%
 •เงินได้สุทธิ  500,001 – 750,000 บาท                   เสียภาษีในอัตรา 15%
 •เงินได้สุทธิ  750,001 – 1,000,000 บาท                เสียภาษีในอัตรา 20%
 •เงินได้สุทธิ  1,000,001 – 2,000,0000  บาท           เสียภาษีในอัตรา 25%
 •เงินได้สุทธิ  2,000,001 – 5,000,0000  บาท           เสียภาษีในอัตรา 30%
 •เงินได้สุทธิ  5,000,001 บาท ขึ้นไป                       เสียภาษีในอัตรา 35%


การหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

๑.เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  หักได้เท่าที่จ่ายจริง ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาทแรก ให้หักในรายการค่าลดหย่อนฯ    ส่วนเกินที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 490,000 บาท ให้หักในรายการเงินได้ที่ได้รับยกเว้น   ทั้งนี้ ส่วนนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง
๒.เงินสะสม กบข. หักได้เท่าที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
๓.เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักได้เท่าที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
๕.เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ หักได้เท่าที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน500,000 บาท
๕.คนพิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ กรณีผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตาม
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมีอายุไม่เกิน65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยได้รับยกเว้นเงินได้190,000 บาท หากผู้มีเงินได้มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีใด และใช้สิทธิยกเว้นเงินได้กรณีผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแล้ว ต้องไม่ใช้
สิทธิยกเว้นเงินได้กรณีเป็นคนพิการในปีภาษีนั้นอีกกรณีผู้มีเงินได้และคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และต่างฝ่ายต่างเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นเงินได้คนละ 190,000 บาท
๖.ผู้มีเงินได้ (รวมถึงคนพิการ) ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปในปีภาษีและเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้ยกเว้นเงินได้ 190,000 บาทกรณีผู้มีเงินได้และคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และต่างฝ่ายต่าง
เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นเงินได้คนละ 190,000 บาท
๗.เงินชดเชยตามกฏหมายแรงงาน  ต้องเป็นกรณีถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ (ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง) เฉพาะส่วนที่
ไม่เกิน ค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน300,000 บาท ทั้งนี้ มีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 5 ปี    กรณีที่มีระยะเวลาการทำงาน 5 ปีขึ้นไป และเลือกนำมารวม
คำนวณภาษีกับเงินได้อื่นก็จะได้รับยกเว้นเช่นเดียวกัน  กรณีเลือกไม่นำมารวมคำนวณภาษี ให้นำไปแสดงรายการ ในใบแนบกรณีคู่สมรสมีเงินได้และรวมคำนวณภาษีให้หักได้ตามเกณฑ์
เดียวกัน

เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?


     1. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40  (1) และ (2 )

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายให้หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้

ก่อนปีภาษี ๒๕๖๐
(1) ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 60,000 บาท
(2) ในกรณีสามีภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินฝ่ายละ 60,000 บาท
ตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
(1) ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ ๕๐ ของเงินได้แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(2) ในกรณีสามีภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ ๕๐ แต่ไม่เกินฝ่ายละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท

     3. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายได้ดังนี้
ก่อนปีภาษี ๒๕๖๐
           เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์  ให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท    (จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรไม่ได้)
           สำหรับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจาก พินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
 การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร  ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ทุกประเภทในอัตรา ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
           ในกรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทนี้  ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์เดียวกัน

     4. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

     5. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ คือ
             (1) การให้เช่าทรัพย์สิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
           ก. หักตามความจำเป็นและสมควร             คือ
      การขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้ประเภทที่ 3,5,6,7 และ 8 ดังกล่าว มาข้างต้นนั้น รายจ่ายที่จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายต้องมีลักษณะดังนี้
        (1) เป็นค่าใช้จ่ายตามปกติ มีความเกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจแต่ละประเภทหรือต่อเงินได้แต่ละชนิด
        (2) เป็นจำนวนที่สมควรและเหมาะสมแก่กิจการ
        (3) ไม่เป็นรายจ่ายที่กฎหมายห้ามมิให้หักเป็นรายจ่าย
        (4) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการหักใช้จ่ายพร้อม ที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้
     การเลือกขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรนี้ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเดิมตลอด ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกปฏิบัติได้ว่า ปีใดจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือปีใดจะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
      นอกจากนี้ในปีภาษีเดียวกันเองผู้มีเงินได้ยังอาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้ประเภทหนึ่ง และหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรสำหรับเงินได้อีกประเภทหนึ่งได้ด้วย
      แต่เงินได้ประเภทและชนิด เดียวกัน หากเลือกหักค่าใช้จ่ายตามวิธีใดแล้ว จะต้องใช้วิธีเดียวกันสำหรับเงินได้ประเภทนั้นทั้งประเภท

           ข. หักเป็นการเหมาในอัตราที่กำหนด
                     1) ถ้าเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ยกเว้นในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้ เช่าช่วง แล้วแต่กรณี
                      2) ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 20 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
                      3) ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีที่เจ้าของเป็นผู้ให้เช่าหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 15 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะค่าเช่าที่เสียให้ แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
                     4) ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
                     5) ทรัพย์สินอย่างอื่น ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 10
              ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี            
                  (2) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน กฎหมายยอมให้ผู้มีเงินได้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว(จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรไม่ได้)

                  (3) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว(จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรไม่ได้)

      6. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6  วิชาชีพอิสระ ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
           - ให้หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ
           - ให้หักเป็นการเหมาดังต่อไปนี้
           - เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60
           - เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก 1) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30  
  7. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 รับเหมาก่อสร้าง หรือ รับจ้างทำของ
ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
           - หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ
           - หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 70

  8. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
           - หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ
           - หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด
ตารางแสดงอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
ประเภทเงินได้พึงประเมิน ร้อยละ
(1) การเก็บค่าต๋ง หรือค่าเกมจากการพนันการแข่งขัน หรือ การเล่นต่าง ๆ 65
(2) การถ่าย ล้างอัด หรือขยายรูปภาพยนตร์รวมทั้งการขายสวนประกอบ 70
(3) การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักรเครื่องกล 70
(4) การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้ หรือหนังเทียม รวมทั้งการขาย ส่วนประกอบ 70
(5) การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่น ๆรวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(6) การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซม เครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ 70
(7) การทำกิจการโรงแรม หรือภัตตาคารหรือการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มจำหน่าย 70
(8) การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย 70
(9) การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง 70
(10) การทำวรรณกรรม 75
(11) การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น รวมทั้งการขายส่วนประกอบ 75
(12) การทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล เฉพาะที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาล และการจำหน่ายยา 75
(13) การโม่หรือย่อยหิน 75
(14) การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น 80
(15) การขนส่ง หรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ 80
(16) การทำบล็อกและตรา การรับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ 80
(17) การทำเหมืองแร่ 80
(18) การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเครื่องดื่ม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 85
(19) การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบเครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา 80
(20) การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า 80
(21) การทำน้ำแข็ง 80
(22) การทำกาว แป้งเปียก หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆที่มิใช่เครื่องสำอาง 80
(23) การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติกหรือเครื่องยางสำเร็จรูป 80
(24) การซักรีด หรือย้อมสี 80
(25) การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต 80
(26) รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง 80
(27) การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก หรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก 85
(28) การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป 85
(29) การฟอกหนัง 85
(30) การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล 85
(31) การจับสัตว์น้ำ 85
(32) การทำกิจการโรงเลื่อย 85
(33) การกลั่น หรือหีบน้ำมัน 85
(34) การให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 85
(35) การทำกิจการโรงสีข้าว 85
(36) การทำเกษตรกรรมประเภท ไม้ล้มลุกและธัญชาติ 85
(37) การอบหรือบ่มใบยาสูบ 85
(38) สัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ 85
(39) การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได 85
(40) การทำนาเกลือ 85
(41) การขายเรือกำปั่น หรือเรือมีระวาง ตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ 85
(42) การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน 61
(43) การแสดงของนักแสดงละครภาพยนตร์ วิทยุหรือโทนักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดง เพื่อความบันเทิงใด ๆ
สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท 60
สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท 40
การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
(44) เงินได้ที่มิได้ระบุไว้ตั้งแต่ข้อ (1)-ข้อ (43)ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรท่านั้น

ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?


การหักลดหย่อน หมายถึง รายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีก่อนนำเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่าเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1. การหักลดหย่อนในกรณีทั่วไป

    1.1 ผู้มีเงินได้ 

   ก่อนปีภาษี ๒๕๖๐  หักลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ จำนวน 30,000 บาท (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม)
        การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
        การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้   ๓0,000 บาท
        การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่อยู่ในประเทศไทยคนละ ๓0,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน ๖0,000 บาท
        การหักลดหย่อนวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ให้หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
   ตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้  จำนวน  60,000 บาท
ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
     การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
      การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้   ๖0,000 บาท
      การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่อยู่ในประเทศไทยคนละ ๖0,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน ๑๒0,000 บาท
        การหักลดหย่อนวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ให้หักลดหย่อนได้ ๑๒0,000 บาท

    1.2 สามีหรือภริยา
  ก่อนปีภาษี ๒๕๖๐  สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน ได้ จำนวน 30,000 บาท
  ตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๖๐ เป็นต้นไป สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน ได้ จำนวน  60,000 บาท
    เงื่อนไข
         (1) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน จะต้องเป็นสามีหรือภริยาชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) การสมรสไม่ครบปีภาษีก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ เช่น จดทะเบียนสมรสระหว่างปีภาษี หรือตายในระหว่างปีภาษี ก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้  
         (2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่จะนำมาหักลดหย่อนจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมิน
 หากต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้แยกยื่นแบบและหักลดหย่อนเฉพาะส่วนของผู้มีเงินได้
           (๓) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมกันถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนคู่สมรสได้ทั้งที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและที่เป็นผู้อยู่ในต่างประเทศ
           (๔) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
    1.3 การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มี เงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย
ก่อนปีภาษี ๒๕๖๐  
หักลดหย่อนบุตรได้ คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
สำหรับบุตรทีศึกษาอยู่ ให้หักลดหย่อนการศึกษาบุตรได้อีกคนละ  2,000  บาท
   การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะ บุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตร ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย
               (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท
               (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสอง ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000
ตัวอย่าง ๑.สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คนสามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และ การศึกษาบุตร 2,000 บาท
           ๒.กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาทตัวอย่าง สามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คนสามีและภริยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท)
         
  ตั้งแต่ปีภาษี ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
หักลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000  บาท/คน)
               (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตรคนละ 30,000 บาท
               (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสอง ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท

 
เงื่อนไข
         การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะ
๑.บุตรเป็น ผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
๒.กรณีพ้นจากผู้เยาว์(บรรลุนิติภาวะแล้ว) บุตรที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาในประเทศ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
๓.แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้ ดังกล่าวต้องไม่ใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 ให้ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
      การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้ในฐานะเดียว(บิดามารดาที่แท้จริงนำบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นไปหักลดหย่อนไม่ได้)
      ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของบุตรในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
 ๑.๔ อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา   หักได้คนละ 30,000 บาท
            เงื่อนไข
       ๑.๔.๑ บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่  บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป
       ๑.๔.๒. ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน) และการหักลดหย่อนหักได้ตลอดปีภาษี
       ๑.๔.๓. หักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาทและหักลดหย่อนได้สำหรับบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้อีกคนละ30,000 บาท
ตัวอย่าง สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาทและมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามี
ได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยา สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภริยา 30,000 บาท และมารดาของภริยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
         ๑.๔.๔ กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท
ตัวอย่าง สามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย สามีภริยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)
ส่วนภริยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)
         ๑.๔.๕. บุตรหลายคนรับอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ให้บุตรคนใดคนหนึ่งที่มีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนด้วยแบบ ล.ย.03   กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น  ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของบิดามารดาในแบบแสดงรายการภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด. 91 ด้วย

         ๑.๕ อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ  หักได้คนละ 60,000 บาท
            การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละ 60,000 บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือเป็นคนทุพพลภาพ
ตามมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
            (1.) ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน สำหรับบุคคลซึ่งเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
         (ก) บิดามารดาของผู้มีเงินได้
         (ข) บิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
         (ค) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
         (ง) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้
         (จ) บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
         (ฉ) บุคคลอื่นนอกจาก (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ซึ่งเป็นคนพิการที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือซึ่งเป็นคนทุพพลภาพและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ จำนวน 1 คนกรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
บุคคลตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน
            (๒)  บุคคลตาม (1) ที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร
            กรณีบุคคลตาม (1) เป็นทั้งคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและเป็นคนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ในฐานะคนพิการเพียงฐานะเดียว จะนำไปหักลดหย่อนในฐานะคู่สมรส บุตร หรือ บิดามารดาอีกไม่ได้
             (3) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนพิการซึ่งเป็นบุคคลตาม (1) ผู้มีเงินได้นั้นต้องเป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้าย
ในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน
                (4) ผู้มีเงินได้หลายคนมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือ คนทุพพลภาพ และทำความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคน ที่มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าวเป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมเพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนพิการใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูฯ
             (5) ผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยาซึ่งมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการ โดยผู้มีเงินได้มีเงินได้ฝ่ายเดียว แต่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลบุตร ซึ่งเป็นคนพิการ และมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยไม่มีผู้มีเงินได้อื่นมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีเงินได้ดังกล่าวจึงมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นคนพิการ นั้น
ตัวอย่าง สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อน
คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
            (6) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพซึ่งเป็นบุคคลตาม (1) ผู้มีเงินได้นั้นจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อขอใช้สิทธิหักลดหย่อน
               (ก) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (1) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน
               กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู และทำความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว เป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182)
                (ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลตาม (1)ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วย
กฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือหลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันหรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลตาม (1) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพหรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลตาม (1) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองของแต่ละปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนผู้รับรองตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลซึ่งบรรลุ นิติภาวะ
และรับรองผู้มีเงินได้ ได้ไม่เกิน 1 คน สำหรับการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพคนหนึ่งคนใด
          (7) การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 182) ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ทั้งนี้การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวรรคสองของ (1) ด้วย
                  (8) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้เฉพาะคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
                      บุคคลตาม 1. (1) ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 182) จะต้องเป็นบุคคลที่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร    การหักลดหย่อนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ(ฉบับที่ 182) ผู้มีเงินได้ต้องแนบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04) และแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
               (1) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนพร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการในส่วนที่แสดงว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วย
             (2) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้
                     (ก) ใบรับรองแพทย์ตาม 1. (6) (ก)
                     (ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.04-1)
          ๑.๖ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักได้ตามจำนวน
ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ  15,000 บาท  เงือนไข
               1. บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาทขึ้นไป
            2. ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้นฯ) และใช้สิทธิยกเว้นฯได้ตลอดปีภาษี
            3. ผู้มีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตนและบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
           4. ผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้ยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
           5. กรมธรรม์หนึ่งกรมธรรม์ใดมีการจ่ายชำระจากบุตรผู้มีเงินได้หลายคนให้ใช้สิทธิยกเว้นฯ ได้ทุกคนโดยเฉลี่ยเบี้ยประกัน ตามส่วนจำนวนบุตรผู้มีเงินได้ร่วมกันจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
           6. ผู้มีเงินได้ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองที่มีข้อความ อย่างน้อยตามประกาศอธิบดีฯ กำหนดจากบริษัทประกันชีวิต  ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย
ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของบิดามารดาในแบบแสดงรายการด้วย
        ๑.๗  เบี้ยประกันชีวิต  
            เบี้ยประกันชีวิตที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท  รวมกันหักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
               เงื่อนไข
1. การลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ เฉพาะกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
          (1.1) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดั งกล่าวไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้
            (1.2) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
                  (ก) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี
จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือ
                  (ข) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดนอกจาก (ก) เช่น 2 ปี 3 ปี หรือ5 ปี เป็นต้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน
                  (ค) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนที่ไม่เป็นตาม (ก) หรือ (ข) ผลรวมของเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทั้งนี้ เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตาม (ก) และหรือ(ข) และหรือ (ค) ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้รับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่
ได้รับเมื่อสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแล้ว แต่ผู้เอาประกันยังคงได้รับความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประกันชีวิตหรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์
ความใน (1.1) และ (1.2) ให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
               2. การได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
                  (2.1) ให้ได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
                 (2.2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษี สำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ตัวอย่าง สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท ถ้าความ เป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับ ผู้มีเงินได้ 100,000 บาท และ สามีหักลดหย่อนภริยา 10,000บาท
                 ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี  สามีหักลดหย่อน และยกเว้น ภาษีสำหรับผู้มีเงินได้ 100,000 บาทของภรรยาหักไม่ได้
            (2.3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน100,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
             3. การได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมหลักฐานตามวรรคหนึ่งต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน   กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ หลักฐานตามวรรคหนึ่งต้องระบุเงื่อนไขตาม 1. (1.2) ด้วยความในวรรคสองและวรรคสามให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
                 4. กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2. แล้วและต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ 1. ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับการลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2. และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจาก
เงินได้เพื่อลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
                การฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวก็อยู่ในข่ายที่จะขอหักลดหย่อนตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย
ข่ายที่จะขอหักลดหย่อนตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย
              5. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกัน ชีวิตแบบบำนาญ
หักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท    ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป  และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
              (1) เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
              (2) เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
              (3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการ
เอาประกันก็ได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
              (4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้นและผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
               (6.) การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
และแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี ให้ยกเว้นเงินได้ที่จ่ายไปเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาทและให้ยกเว้นเงินได้เพิ่มขึ้นอีกตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
                  (1) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท สามารถนำไปหักลดหย่อนเป็นเบี้ยประกันชีวิตอื่นได้อีกไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
                    กรณีมีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตอื่นและเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญทั้ง  2 อย่างสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนในฐานะประกันชีวิตแบบอื่นได้ด้วยแต่รวมกันต้องไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ต้องหักประกันชีวิตแบบอื่นให้เต็มจำนวนก่อน
                (๒) กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทนุ ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
                  (๓) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม
กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวม
คำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีเดียวกัน
ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ดังกล่าว จะต้องใช้สิทธิในการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่น เต็มจำนวนเงิน 100,000 บาท ก่อนแล้วนำจำนวนเงินที่เหลือ หลังหักเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่น กรอกในช่องเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
                  (๔) การได้รับยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานภัยซึ่งได้รับรองว่า เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ  กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ แล้ว
และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์  ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้  และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้
มาแล้วนับตั้งแต่วันทีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆจนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27แห่งประมวลรัษฎากร

๑.๘ ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
      หักได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000บาท
               หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
           (1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้งและต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน และต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
          (2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551เป็นต้นไป แต่มิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
          (3) ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
          (4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้
          (๕) กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่า 1 กองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข  และต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี หรือมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
           (๖) กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์  ในปีใด เมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม
แล้ว และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์  นับตั้งแต่ ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
           (๗). กรณีผู้มีเงินได้ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทุพพลภาพ ผู้มีเงินได้จะไม่ซื้อหน่วยลงทุนต่อไปหรือจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปีใดปีหนึ่ง และจะ
ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
            (๘.) กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุน
รวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมิน
ตรวจสอบได้
              (๙). การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน   ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000บาท สำหรับปีภาษีนั้นกรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
        (๑๐) กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 6. แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์  ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้  และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
เงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว
        (๑๑)    ในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมกรณีดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้วได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
           (๑๒)   การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171)ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 259)ฯ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไป คำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

๑.๘ ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หักได้จำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
          ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(1.)  ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวต่อเนื่อง
กันเป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตายกรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการ รับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ที่จะนำมาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวได้อีกต่อไป
           (2.) กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเกินกว่า 1 กองทุนเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละกองทุนที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ตาม 1. และต้องมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
            (3). กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอีกกองทุนหนึ่ง ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นภายใน 5 วันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จึงจะถือว่าระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวมีระยะเวลาต่อเนื่องกันการโอนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่งกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทำ    เอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
            (4). การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน 1. และ 2. ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
           (5). กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวและได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 4. แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ 1. หรือ 2. ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 4. แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น
ระยะยาวเพราะทุพพลภาพหรือตาย ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้ สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรในกรณีที่มีการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม 1. หรือ 2. การคำนวณต้นทุนผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหน่วยลงทุน (capital gain) เพื่อเสียภาษีในกรณีดังกล่าวให้คำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
           (6.) การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169)ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 257)ฯ ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทนุรวมที่แสดงได้ว่ามีการรจ่ายเงินซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังกล่าว และให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว      

     
     ๑.๙  ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย
 ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายดอกเบี้ยไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้
               1. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมจาก
                         (1) ผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
                                 (ก) ธนาคาร
                                 (ข) บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์          
                                      และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
                                 (ค) บริษัทประกันชีวิต
                                  (ง) สหกรณ์
                                  (จ) นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้                              
                                      เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
                                 (ฉ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาด
                                      รองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
                           (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                           (3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                           (4) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ
        2. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ อาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือหอ้งชุดในอาคารชุดหรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง หรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
         3. ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้นโดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม
          4.ต้องใช้อาคารหรือ ห้องชุดที่นำมาหักลดหย่อนเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่นำมาหักลดหย่อน แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้าง สั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำหรือกรณี
อาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้อาคารหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้
         5. กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม 3. เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งสำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม 3.
         6. ให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
         7. กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท
          8. กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลดหย่อนและยกเว้นภาษี สำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
           9. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่าง สามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 100,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภริยาหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ฝ่ายละ 100,000 บาท
           10. กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างกู้ยืมในระหว่างสมรสให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
            11. กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย และร่วมกันกู้ยืมให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่าง สามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 100,000 บาท สามีหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ 50,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ 50,000 บาท
           12. กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม (1) ให้ยังคงหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ตาม จำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความ รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยหรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระนั้น
           ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ให้กู้ยืมเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการดังกล่าวนั้นด้วย

๑.๑๐ กาหักลดหย่อนเงินได้ที่จ่ายไปเพื่อ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ (บ้านหลังแรก)
          เงินได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดใน
อาคารชุด ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ในอสังหาริมทรัพย์น้นั ให้แล้วเสร็จในระหว่างวันที่ 13 ตลุาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้สิทธิต่อเนื่องกัน ๕ ปี นับแต่ปีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และให้หักลดหย่อนได้เป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีภาษี
               ผู้มีเงินได้จะได้รับสิทธิหักลดหย่อนภาษีต้องปฏิบัติ ดังนี้
      1. ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปี นับแต่ปีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์  หรือมีชื่อเป็นคู่สัญญากับสถาบันการเงินที่ให้กู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงิน
ได้ถึงแก่ความตาย หรือกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย
      2. ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยเป็น ผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงิน
เพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย   หรือ ไม่เคยเป็น ผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยเดิม และซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
            และต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271(พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวลรัษฎากร   และ ไม่เคยใช้สิทธิซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 (มาตรการบ้านหลังแรก)

    ๑.๑๑ เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม 
           ตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคม หักได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกินตาม
กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม  ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ข้างต้นและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตามเกณฑ์ข้างต้น
 ๑.๑๒ ค่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ   หักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 15,000 บาท
  เฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 255๙    ประกอบด้วย
       (1) ค่าบริการนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ (ค่าแพ็กเกจทัวร์) ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
      (2) ค่าที่พักในโรงแรมให้กับผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม กระทรวงมหาดไทย

 ๑.๑๓ ค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศ  หักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 15,000 บาทหักได้ เฉพาะปีภาษี 2558 เท่านั้น
          เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แหง่ ประมวลรษั ฎากร ในระหวา่ งวนั ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
      ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข
      (1) ต้องชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงจะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้
      (2) ต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการภายในประเทศ เฉพาะที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 เท่านั้น
      (3) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 แล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกำกับภาษีนั้นมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก
      (4) กรณีผู้มีเงินได้นำใบกำกับภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินได้เป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไปใช้สิทธิตาม ๑.๑๒ ค่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ   แล้ว ใบกำกับภาษีนั้นไม่สามารถนำมาใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ได้อีก
       การซื้อสินค้าไม่รวมถึงสินค้า ดังต่อไปนี้
(1) สุรา เบียร์ และไวน์
(2) ยาสูบ
(3) น้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
(4) รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
๑.๑๔ การหักค่าซื้อสินค้าหรือบริการ   ในส่วนของค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการนำเที่ยว และค่าที่พักในโรงแรม ระหว่างวันที่ 9-7 เมษายน 2559 จากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และจดทะเบียนประกอบธุรกิจถูกต้อง โดยสามารถนำมาหักได้เท่าที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทหักได้ เฉพาะปีภาษี 2559 เท่านั้น

1.15  การหักลดหย่อนภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย หรือสินค้าโอทอป 

   กฏกระทรวงฉบับที่ 316 พ.ศ.2559  ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้ที่ได้ซื้อสินค้าโอทอป จากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2559 สามารถนาหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไปใช้สิทธิหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยสินค้าดังกล่าวจะต้องเป็นสินค้าที่ลงทะเบียนจากกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีในเรื่องดังกล่าว กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงให้ทราบ ดังนี้
1. ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับค่าซื้อสินค้าโอทอป ระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท โดยการได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวจะต้องนาไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ต้องเป็นการซื้อสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (สินค้าโอทอป) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยซื้อจากผู้ขายที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สินค้าโอทอปดังกล่าวจะต้องเป็นสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 เท่านั้น ส่วนสินค้าโอทอปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่ได้รับสิทธินามาหักลดหย่อน
2. หลักฐานในการหักลดหย่อน
- ต้องได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จากผู้ขาย - กรณีรายการสินค้าในใบกำกับภาษีมีทั้งรายการสินค้าโอทอปและรายการสินค้าอื่นรวมอยู่ด้วยกัน ในส่วนที่เป็นสินค้าโอทอปผู้ขายจะต้องระบุข้อความในใบกำกับภาษีไว้ในแต่ละรายการสินค้านั้น ว่าเป็นสินค้าโอทอป หรือจัดทาเครื่องหมายแสดงในแต่ละรายการสินค้าที่เป็นสินค้าโอทอปโดยมีข้อความในใบกำกับภาษีว่าเครื่องหมายดังกล่าวหมายถึงสินค้าโอทอป
- กรณีสินค้าทุกรายการในใบกำกับภาษีเป็นสินค้าโอทอปทั้งหมด ผู้ขายอาจประทับตรายาง ที่มีชื่อผู้ขายและมีข้อความว่า “สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าโอทอป” โดยไม่ต้องระบุในแต่ละรายการสินค้าก็ได้
- ข้อความที่แสดงว่าเป็นสินค้าโอทอป เช่น “หนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” “OTOP” “โอทอป” หรือ “One Tambon One Product” เป็นต้น”

  ๒.การหักลดหย่อนเงินบริจาค 

      (๒.๑ ) เงินบริจาคทั่วไป
         เป็นรายการลดหย่อนสุดท้ายก่อนนำเงินได้ไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยสามารถหักเงินบริจาคได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน (หักลดหย่อนได้เฉพาะที่บริจาคเป็นเงินเท่านั้น) ได้แก่ การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ (ต้องเป็นองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา)
      (๒.๒) เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา  ได้แก่ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
      การบริจาคให้แก่สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(ดูพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558) พ.ศ. 2556)
      (๒.๓) เงินสนับสนุนการกีฬา ได้แก่ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการกีฬา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
      เงินที่บริจาคให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬา จังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาจังหวัดหรือสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา หรือกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เพื่อนำไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์กีฬา การฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน การจัดสร้างและพัฒนาสนามกีฬาหรือศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา หรือการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรด้านกีฬา  (ดูพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 559) พ.ศ. 2556)
      (๒.๔) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น ให้ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน เป็นจำนวน 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนแล้ว ทั้งนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 217)
      (๒.๕) เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของเงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนแล้ว ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 214)
      (๒.๖) เงินได้ที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน เป็นจำนวน 2 เท่าของเงินที่ได้จ่าย แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนแล้ว ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 209)
      (๒.๗) เงินได้ที่จ่ายให้แก่โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
       สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน เป็นจำนวน 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 222)
      (๒.๘) เงินได้ที่จ่ายให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 200)
      (๒.๙) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้หักลดหย่อนเท่าจำนวนเงินที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนแล้ว
(ดูพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 594) พ.ศ. 2558

การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง    

       ตั้งแต่ปีภาษี 2551 เป็นต้นไป บุคคลธรรมดา ที่มีสัญชาติไทย (ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคล ที่มิใช่ นิติบุคคล และกองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง) สามารถบริจาค เงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองได้ ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัต ิประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 โดยแสดง เจตนาบริจาค เงินภาษี ให้แก่พรรคการเมือง พร้อมการยื่นแบบ แสดงรายการภาษี ประจำปี โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการ ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ ( ฉบับที่ 176 ) ดังนี้
1. ผู้มีเงินได้ เมื่อคำนวณภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้ว มีเงินภาษี ที่ต้องชำระ ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป  
2. ผู้มีเงินได้ ที่มีสิทธิบริจาค ต้องแสดง เจตนาไว้ใน ช่องที่กำหนดไว้ ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยต้อง ระบุให้ชัดเจนว่า ประสงค์จะบริจาค หรือ ไม่บริจาค และระบุ รหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค หากไม่ระบ ุความประสงค์ หรือไม่ระบุ รหัสพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้แสดง เจตนาบริจาค ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้  
    ( 1 )  ระบุรหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค ได้เพียง 1 พรรคการเมือง หากแสดงเจตนา เกินกว่า 1 พรรคการเมือง ถือว่า ไม่ประสงค์ จะบริจาคให้พรรคการเมืองใด    
  ( 2 )  เมื่อแสดงเจตนาบริจาค ให้แก่พรรคการเมืองใดแล้ว ห้ามปลี่ยนแปลงในปีภาษีนั้น    
  ( 3 )  พรรคการเมือง ที่ผู้บริจาค จะแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้ได้ในปีภาษีใด จะต้องเป็น พรรคการเมือง ที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนพรรคการเมือง ในปีภาษีนั้น หากพรรคการเมือง ที่แสดงความประสงค์ บริจาคเงินภาษี ให้สิ้นสภาพ เลิก หรือยุบ ตามกฎหมาย ในปีภาษีใด ให้ถือเสมือนว่า ไม่มีพรรคการเมืองนั้น ที่จะได้รับการแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษีในปีภาษีนั้น    
    สามารถค้นหา รหัสพรรคการเมือง ได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง www.ect.go.th หรือจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th    
3. การแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษีให้แก่ พรรคการเมืองตาม 2. ห้าม มิให้นำไป หักเป็นค่าลดหย่อน ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร  
4. ผู้มีเงินได้ ซึ่งมีสิทธิระบุการแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมือง ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ ดังนี้  
    ( 1 )  กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ฝ่ายที่มีเงินได้เป็นผู้ระบุความประสงค์ในแบบฯ    
  ( 2 )  กรณีสามี หรือภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และแยกยื่นแบบฯ หรือรวมยื่นแบบฯ แต่แยกคำนวณภาษี ให้สามี และภริยา ต่างฝ่ายต่าง มีสิทธิระบุความประสงค์ในแบบฯ    
  ( 3 )  กรณีสามี หรือภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และรวมยื่นแบบฯ รวมทั้ง รวมคำนวณภาษี
ให้ต่างฝ่าย ต่างมีสิทธิ ระบุความประสงค์ ของตนเอง ในแบบฯ โดยกรอก รายละเอียด การคำนวณ แยกรายการบุคคลใน "ใบแนบ ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2551 รายละเอียด คำนวณ ภ.ง.ด.90/91 แยกรายบุคคล กรณีคู่สมรส รวมคำนวณภาษี และบริจาคภาษี แก่พรรคการเมือง" (แล้วแต่กรณี) ซึ่งสามารถ Download ได้จาก เว็บไซต์กรมสรรพากร HOT MENU > Download > บริการอิเล็กทรอนิกส์ > แบบแสดงรายการภาษี แบบคำร้อง/คำขอต่างๆ > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา "
        อนึ่ง หากผู้มีเงินได้ คำนวณภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้ว มีเงินภาษี ที่ต้องชำระ ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป และมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้เกินกว่า เงินภาษีที่ต้องชำระ เมื่อแจ้งความประสงค์ ขอคืนเงินภาษี ที่ชำระไว้เกิน พร้อมทั้ง แสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองด้วย กรมสรรพากร จะหักเงินบริจาคดังกล่าว จากเงินภาษี ที่ต้องชำระ ดังนั้น การบริจาค เงินภาษีดังกล่าว ไม่มีผลต่อเงินภาษี ที่ขอคืนไว้แต่อย่างใด

                                                                             จบตอนที่ ๒ มีต่อตอนที่ ๓
            ************************************************************

7 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ