วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4 ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ตอนที่ 3)

เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา
 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้สอน
: นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
--------------------------------------------------------------
บทที่ 4  ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ตอนที่ 3)
Corporate Income Tax (CIT)

            การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.50)
                กำไรสุทธิทางบัญชี  =  รายได้รายจ่าย
        ในการคำนวณกำไรสุทธิตามหลักกฎหมายภาษีอากรนั้น กิจการจะต้องปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีรายการในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้และรายจ่าย เฉพาะรายการที่มีการบันทึกรายการตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปแตกต่างไปจากที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร
           
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 มีดังนี้
1. รายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการ                                                                                xxxxxx
2. หัก ต้นทุนขายหรือรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรขั้นต้น                                                                   xxxxx
3. กำไรขั้นต้น (ขาดทุนขั้นต้น )                                                                                            xxxxxx                               
4. บวก รายได้อื่น                                                                                                              xxxxx
5. รวม (3. + 4.) ถ้าขาดทุนขั้นต้น (4. - 3.)                                                                              xxxxx
6. หัก รายจ่ายอื่น                                                                                                              xxxxx
7. รวม (5. - 6.) ถ้าขาดทุนขั้นต้น (5. + 6.)                                                                             xxxxx
8. หัก รายจ่ายในการขายและบริหาร                                                                                       xxxxx
9. กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ ตามบัญชีกำไรขาดทุน                                                                         xxxxx
10. บวก รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร                                                                 xxxxx
11. บวก รายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร                                                          xxxxx
 12. รวม (9. + 10. + 11.) ถ้าขาดทุน (9. - 10. - 11.)                                                              xxxxx
13. หัก รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น                                         xxxxx
14. รวม (12. - 13.) ถ้าขาดทุน (12. + 13.)                                                                           xxxxx
15. หัก ขาดทุนสุทธิที่มีสิทธินำมาหักตามกฎหมาย(ยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี)                                        xxxxx
16. รวม (14. - 15.) ถ้าขาดทุน (14. + 15.)                                                                           xxxxx
17. บวก รายจ่ายส่วนที่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ :(ได้แก่)                                                 xxxxx
รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา                                                         xxxxx
รายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ                                xxxxx
รายจ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสถานศึกษา                    xxxxx
รายจ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์                                     xxxxx
รายจ่ายเพื่อพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา                         xxxxx
รายจ่ายในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อปท.                               xxxxx
รายจ่ายเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯ                                                  xxxxx
รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานศึกษา                                                        xxxxx
รายจ่ายบริจาคให้แก่องค์กรกีฬา                                                         xxxxx
18. บวก รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะฯ ส่วนที่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ                                      xxxxx
19. บวก รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ส่วนที่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ                         xxxxx
20. รวม (16.+17.+18.+19.) ถ้าขาดทุน (16.-17.-18.-19.)
                                                        xxxxx
21. กำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี หรือ(ขาดทุนสุท
ธิ)                                                            xxxxx
22. คำนวณภาษี  กำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล                   xxxxxx
 ภาษีที่คำนวณได้                                                                                   xxxxx
 23. หัก (1) ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีซ้อนตาม พรฎ. (ฉบับที่ 18) หรือ (ฉบับที่ 463)           xxxxx
           (2) ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีซ้อนตาม พรฎ. (ฉบับที่ 300)                                 xxxxx
            (3) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีที่บุคคลอื่นเสียแทน                                      xxxxx
            (4) ภาษีที่ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.51                                                            xxxxx
            (5) ภาษีในส่วนที่ได้รับการลดหย่อนอัตราให้ร้อยละ 50 ของอัตราปกติ                       xxxxx
           (6) ภาษีที่ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.50 (กรณียื่นเพิ่มเติม)                                      xxxxxx
24.  คงเหลือภาษีที่ ชำระเพิ่มเติม หรือภาษีที่ ชำระไว้เกิน                              xxxxxxx

---------------------------
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.กรณีทั่วไป ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ"
(พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 42) พ.ศ.2559 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.2559 เป็นต้นไป)

2.กรณีลดอัตราภาษี
กรณี SMEs คือ มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และ• มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
รอบระยะเวลาบัญชี          กำไรสุทธิ (บาท)                    อัตราร้อยละ (%)
     2559 เป็นต้นไป        1-300,000                           ยกเว้น
                                   300,001-3,000,000             15 %

                                  3,000,000   ขึ้นไไป                  20 %




มาตรการบัญชีเดียว
                     รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซึ่งเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของ จึงให้นิติบุคคลจดแจ้งต่อกรมสรรพากร ระหว่างวันที่ 15 มค.2559 - 15 มี.ค. 2559 ขอเข้าระบบบัญชีเดียว  โดยกรมสรรพากรจะไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 ลงไปและจะได้สิทธิพิเศษเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
     SMEs คือ มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และ มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาทที่จดแจ้งเข้าระบบบัญชีเดียว 
(
๑) กำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่      ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙  แต่ไม่เกินวันที่  ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙    อัตราภาษี   0 % (ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิทั้งจำนวน)

(๒)  กำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ แต่ไม่เกินวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐           กำไรสุทธิ (บาท)              อัตราร้อยละ (%)
                           1- 300,000                             ยกเว้น
                           300,000                             ขึ้นไป  10%
------------------------------------
   
     การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50
      การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ ระยะเวลาบัญชีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (โดยต้องยื่นเป็นประจำทุกรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม)  พร้อมแนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย ที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวด้วย  
     สถานที่ยื่นแบบ
     ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ต้องยื่นแบบฯ ต่อเจ้าพนักงานณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่  หรือ ยื่นทางอินเตอร์เน็ต ที่ www.rd.go.th
      กิจการที่ต้องแยกยื่นแบบแบบ ภ.ง.ด.50
   กรณีดังต่อไปนี้ ให้แยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน พร้อมทั้ง บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นฯ และกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ฯ
(2) บริษัทที่ประกอบการทั้งกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ(ITC) ทั้งที่ได้รับยกเว้นฯ และกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ฯ
(3) บริษัทที่ประกอบการทั้งกิจการโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งที่ได้รับยกเว้นฯ และกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ฯ
(4) บริษัทที่ประกอบการทั้งกิจการที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกิจการอื่น
(5) บริษัทที่ประกอบการทั้งกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ และกิจการอื่น(6) บริษัทที่ประกอบการทั้งกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค(ROH) และกิจการอื่น
(7) บริษัทที่ประกอบการทั้งกิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ(IHQ) และกิจการอื่น
       กรณี (2) ถึง (7) ให้ยื่นบัญชีงบดุลพร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 ของกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้
ตัวอย่างเช่น กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการทั้งกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และกิจการอื่นที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แยกยื่นแบบภ.ง.ด.50 โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกัน พร้อมทั้ง บัญชีงบดุลบัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนของแต่ละกิจการออกเป็นคนละชุด

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่าง    บริษัท    Hill & Home Garden Resort  จำกัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ  (ทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้ว 10,000,000 บาท) บริษัทมีผลขาดทุนในรอบปีที่ผ่านมา 500,000 บาท   ปรากฎว่าในรอบปี 2558 บริษัทมีรายละเอียดงบกำไรขาดทุนดังนี้                   (หน่วย : บาท)
รายได้
รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน                                                    
= 50,000,000
รายได้จากการตกแต่งบ้าน                                                             
= 10,000,000
เงินปันผลและส่วนแบ่งกำไรจากบ
.จดทะเบียนตามกฎหมายไทย                 = 2,000,000
  รวมรายได้                                                                             
= 62,000,000
รายจ่าย

          เงินเดือนและโบนัส                                                            =  30,000,000
          ค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงาน
(มูลค่าทุน 10,000,000)                        =     500,000
          ค่าเสื่อมราคารถเบนซ์ประจำตำแหน่ง
(ซื้อมา 1 ต.ค. 58 มูลค่า 8,000,000) =  1,600,000        
          ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม                                                                      
=    400,000
          ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ                                                                   
=    400,000

          เบี้ยปรับเงินเพิ่มค่าปรับอาญาภาษีมูลค่าเพิ่ม                                   
=  200,000
          ค่ารับรอง                                                                        
= 500,000             
          ค่าบริจาคมูลนิธิสายใจไทย                                                       
= 500,000
          ค่าบริจาคมหาวิทยาลัยกรุงเทพ                                                  
= 500,000
          ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ( ถูกต้องตามหลักบัญชีภาษีไม่ใช่รายจ่ายต้องห้าม)       
= 10,000,000
                           รวมรายจ่าย                                                     = 44,600,000
  การคำนวณกำไรสุทธิทางบัญชี     รายได้     หัก  รายจ่าย  เท่ากับกำไรสุทธิ
      รายได้                                    =  62,000,000       บาท    หัก
      รายจ่าย                                   
= 44,600,000       บาท
  กำไรสุทธิตามหลักบัญชี                   
= 17,400,000        บาท
การปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ด้านรายได้    มีรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีกึ่งหนึ่งได้แก่ เงินปันผล   จำนวน 2,000,000  บาท นำมาคำนวณภาษีเพียง 1,000,000   ดังนั้น รายได้ที่ใช้คำนวณกำไรสุทธิ(ทางภาษี) คือ 62,000,000 -1,000,000  = 61,000,000    บาท
ด้านรายจ่าย  มีรายจ่ายต้องห้าม หรือ ที่หักเกิน ดังนี้
    1.ค่ารถประจำตำแหน่ง 1,600,000 บาท   หักค่าเสื่อมราคาได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่า 1  ล้านบาท
     ( 1,000,000 x 20 %=  200,000 บาท) ได้มา 1 ต.ค.58 ( 3 เดือน)หักได้ =  200,000 /12 x 3= 50,000
       บาท  (หักเกิน 1,600,000-50,000 = 1,550,000)

    2. ค่ารับรอง 500,000 บาท  หักได้ร้อยละ 0.3 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย 61  ล้าน x 0.3 % = 183,000  บาท(หักเกิน  500,000- 183,000 = 317,000)
3.ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม  400,000 หักไม่ได้(รายจ่ายต้องห้าม)
4. เบี้ยปรับเงินเพิ่มค่าปรับอาญาภาษีมูลค่าเพิ่ม  200,000  หักไม่ได้(รายจ่ายต้องห้าม)
5.เงินบริจาครายจ่ายเพื่อสาธารณกุศล ตามเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนด ให้หักเป็นรายจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการกีฬา/การศึกษา ตามเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนด ให้หักเป็นรายจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ (บวกกลับก่อนแล้วจึงคำนวณ)
วิธีการปรับปรุงกำไรสุทธิ
กำไรสุทธิตามหลักการบัญชี                                                        17,400,000
รายการปรับปรุง
บวก    
 1.ค่าเสื่อมราคารถนั่งประจำตำแหน่ง หักเกิน (1,600,000 – 50,000)           1,550,000
  
        2.ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (รายจ่ายต้องห้าม)                                                400,000
           
3.เบี้ยปรับเงินเพิ่มทางอาญาภาษีมูลค่าเพิ่ม (รายจ่ายต้องห้าม)                     200,000           
           
4.ค่ารับรอง (หักเกิน 500,000 – 183,000)                                           317,000
          
5.ค่าบริจาคสายใจไทย (บวกกลับก่อน)                                                  500,000
           
6. ค่าบริจาค ม.กรุงเทพ (บวกกลับก่อน)                                               500,000                      รวมที่ต้องบวกกลับ                                                 3,467,000
                     คงเหลือ                 
                                                       20,867,000
หัก     เงินปันผล   (ยกเว้นครึ่งหนึ่ง)                               1,000,000                                                
         ขาดทุนสุทธิไม่เกิน 5 รอบบัญชี                                500
,000
                   รวมหัก                                                                1
,500,000
        คงเหลือกำไรสุทธิก่อนหักเงินบริจาค                                        19
,367,000
หัก  เงินบริจาคสายใจไทย 2/104*19
,367,000                                      372,442.31
หัก  เงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2/104*19
,367,000                                  372,442.31
คงเหลือกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร                                            18
,622,115.38
ภาษีเงินได้นิติบุคคล  (18
,622,115.38x20%)   =                                3,724,431.08
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ            3
,724,431          บาท  (เศษสตางค์ได้รับการยกเว้น)



ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ภ.ง.ด.51
             ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี  ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ดังต่อไปนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภทใด หรือ ณ ที่ใด
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่าง  ประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทย ในกิจการที่มิใช่การขนส่งระหว่างประเทศ
3. กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทย ในกิจการอื่นใดที่มิใช่การขนส่งระหว่างประเทศ
4. กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
         กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่าสิบสองเดือน ไม่ต้องการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่น้อยกว่า 12 เดือนนั้น
         การชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระประจำรอบระยะเวลาบัญชี  (ภ.ง.ด.50)
         กำหนดเวลายื่นแบบให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีต่อเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

         เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมงบการเงินโดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้วแต่กรณี ตรวจสอบและรับรอง ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) โดยนำภาษีที่ชำระไว้ตาม ภ.ง.ด.51ไปเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระประจำรอบระยะเวลาบัญชี  (ภ.ง.ด.50)
         กรณีดังต่อไปนี้ ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 คนละฉบับ เสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล  คือ
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศประกอบกิจการอื่นทั้งที่ได้รับยกเว้นและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) บริษัทซึ่งประกอบการทั้งกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคและกิจการอื่น
(3) บริษัทซึ่งประกอบการทั้งกิจการที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะเพื่อการนำเข้าและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกิจการอื่น
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกิจการอื่น
(5) บริษัทซึ่งประกอบการทั้งกิจการศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ และกิจการอื่น

       1. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบ ภ.ง.ด.51 แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
(1.1)การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ที่คำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิ
        สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิกรณีทั่วไปได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล   ที่มิใช่นิติบุคคลตาม (1.2)  มีหน้าที่จัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น(เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น จะมีกำไร หรือ ขาดทุนเท่าใด) แล้วให้คำนวณและชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ตัวอย่าง  บริษัท กิจสยามมอเตอร์ จำกัด (จดทะเบียนสิบล้านบาท) ได้ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม ถึง 31 ธันวามคม 2559   โดยบริษัท คาดว่าจะมีกำไรทั้งปี จำนวน 7,000,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิ ดังนี้
ประมาณการกำไรสุทธิทั้งรอบระยะเวลาบัญชี                           7,000,000 บาท
กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี               3,500,000 บาท

ภาษีเงินได้นิติบุคคล                                   =                  20% ของ  3,500,000 บาท
ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี                             =                             700,000   บาท
     (1.2 ) การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี    จากกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนของ สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ  ดังต่อไปนี้
     ก. บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์
     ข. ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์

     ค. บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทฟองซิเอร์   ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์
             ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังดังกล่าว คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิ ของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรก ของรอบระยะเวลาบัญชี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 65ทวิและมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี  แล้วชำระภาษีจากกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนของนิติบุคคลนั้น
             การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก  จะต้องมีการสอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินเมื่อครบกำหนดระยะเวลา
6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อธิบดีกรมสรรพากรให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้แนบงบแสดงสถานะทางการเงินดังกล่าวและหนังสือรับรองของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ด้วย
            กรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก ให้แนบงบการเงินพร้อมแบบ ภ.ง.ด.51 หากประกอบกิจการมากกว่าหนึ่งประเภท ให้แนบงบกำไรขาดทุนพร้อมแบบ ภ.ง.ด.51 แยกเป็นรายกิจการ ส่วนงบดุลยื่นพร้อมแบบ ภ.ง.ด.51 ของกิจการใดกิจการหนึ่งก็ได้
2. บทกำหนดโทษเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี   
1. กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด มาตรา 67 ตรี
2. กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากกำไรสุทธิจริง โดยยื่นรายการและชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชำระขาดไป ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด มาตรา 67 ตรี
3. กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาและมีภาษีต้องเสีย ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ มาตรา 67 ตรี
4. กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาเว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทอีกด้วย
         ตัวอย่างการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร
         เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี โดยประมาณการกำไรสุทธิน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ได้มีบทบัญญัติลงโทษ   โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ชำระขาด
   ตัวอย่างที่ 1
บริษัท สหไทย จำกัด (ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท) ได้ประมาณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม – 31 ธันวาคม  2558   จำนวน 200,000 บาท บริษัทได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี ตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ดังนี้

          ประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี                          200,000  บาท
          กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ                   100,000  บาท
          ภาษีเงินได้นิติบุคคล                                   100,000 x 20 %  = 20,000
          เสียภาษีตามแบบ ภ.ง.ด. 51  จำนวน               20,000   บาท
      เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี   บริษัท สหไทย ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม – 31 ธันวาคม  2558  แสดงกำไรสุทธิจริง     =  300,000     บาท  บริษัท จะต้องเสีย เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี  หรือไม่ อย่างไร
วิธีคำนวณ  (1)     กำไรสุทธิจริง                                  =  300,000     บาท 
               (2)    ประมาณการกำไรสุทธิ                        =  200,000     บาท

                       ประมาณการขาดไป  (1)-(2)                =  100,000     บาท
                       คิดเป็นร้อยละ  (100,000 x100)           =    33.33
                                300,000
ดังนั้น   บริษัท   แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป(33.33%) เกิน 25% ของกำไรสุทธิจริง
การคำนวนเงินเพิ่ม
บริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิไว้ทั้งรอบระยะเวลาบัญชี   = 200,000 บาท
          กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ               = 100,000 บาท
1.       คำนวณภาษี  (100,000  x 20%)                       =     20,000         บาท  (1)
          กำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี(จริง)                =    300,000          บาท
          กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิจริง                                   =    150,000          บาท
2.       คำนวณภาษี(150,000x 20%)                           =     30,000            บาท  (2)      ดังนั้น บริษัทชำระภาษีขาดไป (2) - (1)                 =         10 ,000 บาท
          ต้องเสียเงินเพิ่ม 20% ของภาษีที่ชำระขาดไป          =    10 ,000 x 20%
            บริษัท จะต้องเสีย เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี         =     2,000 บาท
เหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี
แนวทางในการพิจารณาเหตุอันสมควรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ได้แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร  ซึ่งการพิจารณา เหตุอันสมควรก็ยังเป็นเรื่องยุ่งยากสับสนและไม่สามารถแสดงได้ว่าความ สมควรเกิดขึ้นจริง และโดยที่การเสียภาษีตามมาตรา 67 ทวิ เป็นเพียงการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการประจำปี
ฉะนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณา เหตุอันสมควรดังกล่าว กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไป โดยกรณีต่อไปนี้ถือว่ามีเหตุอันควร
1. กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี แต่ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่า กำไรสุทธิที่เคยยื่นในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว
ทั้งนี้ ใช้บังคับกับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
แนวทางในการพิจารณาเหตุอันสมควรตามแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากร ที่  มก. 9 / 2550 เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2550
ข้อ 2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ โดยมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
 (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ (รายได้จากการประกอบกิจการ ไม่รวมถึง การนำเงินไปหาประโยชน์โดยฝากธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่ได้รับมาก่อนไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้หรือรอบระยะเวลาบัญชีก่อน)
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุงรายได้เพิ่มขึ้น ตามข้อเท็จจริงของผลการตรวจสภาพกิจการ
(3) กรณีมีการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนหลัง ของรอบระยะเวลาบัญชี และมีกำไรจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว
 (4) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดต่ำลงด้วย
(5) การส่งสินค้าออกมีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก
(6) การรับจ้างที่มีค่าจ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างและความยากง่ายของงานที่ทำ
(7) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ
ข้อ 5 กรณีปรับปรุงเหตุอันสมควร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ปรากฏว่าประมาณการกำไรสุทธิรวมของทั้งสองประเภทกิจการขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวมซึ่งได้จากการประกอบกิจการ และประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นเดียวกัน ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 6 ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดแย้งกับคำสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางและตัวอย่างการคำนวณที่แนบท้ายแนวทางปฏิบัตินี้
ข้อ 7 กรณีมีเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้ได้ ให้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่ออธิบดีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ  

-----------------------------------------------------------
ฐานการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.      ฐานจากกำไรสุทธิ
2.      ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย
3.      ฐานเงินได้จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4.      ฐานการจำหน่ายเงินกำไรไปจากประเทศไทย

        1.ฐานจากกำไรสุทธิ  ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
       2. ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
มีอยู่ 3 กรณีได้แก่
          2.1      กรณีเป็นรายได้จากกิจการขนส่งคนโดยสารหรือขนของระหว่างประเทศของบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
          2.2      กรณีเป็นรายได้ของมูลนิธิหรือสมาคม
           2.3     กรณีพิเศษที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้  ขอเสียร้อยละ 5 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย
     

           2.1  กรณีเป็นรายได้จากกิจการขนส่งคนโดยสารหรือขนของระหว่างประเทศ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้แก่  บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

                 (ก) กรณีรับขนคนโดยสาร รายได้เกิดจากค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บใน ประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น ให้คำนวณภาษีอัตราภาษีร้อยละ 3
ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คำนวณ จากมูลค่าของค่าโดยสารที่ได้รับหรือพึงได้รับสำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากคนโดยสารอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนคนโดยสาร ไม่ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมดหรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
                     (ข) กรณีรับขนของ รายได้เกิดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าใน หรือนอกประเทศก่อนหักรายจ่ายใดๆเนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้นให้คำนวณภาษีอัตราร้อยละ 3 ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนสินค้าซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คำนวณ จากมูลค่าของค่าระวางที่ได้รับหรือพึงได้รับ สำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุ ในแอร์เวย์บิล ในกรณีรับขนสินค้าโดยอากาศยานหรือสำหรับระยะทางถึงปลายทางตามที่ระบุในบิลออฟเลดิงในกรณีรับขน สินค้าโดยเรือทะเล รวมถึงค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่อง มาจากการ ให้บริการรับขนสินค้า ไม่ว่าสายการบินหรือสายการเดินเรือนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
(ค)      การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี กิจการขนส่งระหว่างประเทศ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 52  
กรณีการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ใช้แบบ ภ.ง.ด.52 และต้องแนบบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวด้วย  โดยยื่นแบบ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี   (ไม่ต้องยื่นเสียภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแต่อย่างใด)
     ในกรณีมีการประกอบกิจการขนส่งภายในประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี อีกต่างหากด้วย
ตัวอย่าง บริษัท แอร์เอเชีย จำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย มีสาขาประกอบกิจการทั่วโลกและเข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทย ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ  และ ประกอบกิจการขนส่งภายในประเทศ  บริษัทฯ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยดังนี้
  1. กิจการขนส่งระหว่างประเทศ  เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายในอัตราร้อยละ 3 โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.52
       (ก) กรณีรับขนคนโดยสาร ระหว่างประเทศ รายได้เกิดจากค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทย
      (ข) กรณีรับขนของ รายได้เกิดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น
2. กิจการขนส่งภายในประเทศ  ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ  จากรายได้ที่เกิดในประเทศไทย โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.50          
                2.2 กรณีมูลนิธิหรือสมาคม
(ก) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่  มูลนิธิหรือสมาคมจดทะเบียนตามกฏหมายไทย และมูลนิธิหรือสมาคมจดทะเบียนตามกฏหมายต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การสาธารณกุศล
หมายเหตุ
มูลนิธิหรือสมาคมใดที่มิได้จดทะเบียนการจัดตั้งให้ถูกต้องตามกฎหมายก็จะมีฐานะเป็นเพียงคณะบุคคลซึ่ง อาจจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจัดตั้งสโมสรสำหรับพนักงานเพื่อดำเนินกิจกรรม สันทนาการสำหรับพนักงาน หรือนักศึกษาจัดตั้งสโมสรหรือชมรมต่างๆ โดยไม่ได้ผูกพันกับนิติบุคคลใดโดย เฉพาะ ย่อมมีฐานะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้อย่าง บุคคลธรรมดาแม้ว่าจะไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือเพื่อที่จะแบ่งปันกำไรก็ตาม

(ข)ฐานภาษี ร ายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรายได้ที่มูลนิธิหรือสมาคมจะต้อง เสียภาษีเงินได้ จะรวมถึงรายได้ทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาจากทางใดๆ เช่น รายได้จากการขายสินค้าและบริการ ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล ฯลฯ
รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) ได้แก่
(1) ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก
(2) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค
(3) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา
นอกจากนี้ ยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคม เฉพาะเงินได้จากกิจการโรงเรียน เอกชนซึ่งได้ ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของการรับจ้างทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่ โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน (มาตรา 5 นว แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
(ค) อัตราภาษี มูลนิธิและสมาคมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา ดังนี้
(1) เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือ การอื่นๆ เสียร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(2) เงินได้อื่น ๆ นอกจาก (ก) เสียร้อยละ 10 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายการคำนวณภาษีเงินได้ของมูลนิธิ หรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีด้วย
(ง) กำหนดเวลาเสียภาษีและแบบแสดงรายการภาษี
        
มูลนิธิและสมาคมที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  มีหน้าที่
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 55 ภายใน 150 วันนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (ไม่ต้องแนบงบดุลแต่ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบและรับรอง)
        2.3.กรณีพิเศษที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ เสียร้อยละ 5 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย
              ผู้มีหน้าที่เสียได้แก่ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน หรือ นิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากฐานกำไรสุทธิ แต่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ เนื่องจากไม่ทำบัญชี  บัญชีไฟไหม้  ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี  หรือบัญชีไม่น่าเชื่อถือยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อขอเสียภาษีร้อยละ 5 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย ตามมตรา 71 โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด 50 ภายใน 150 นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
              เจ้าหน้าที่สรรพากรจะเป็นผู้คำนวณและกำหนดให้เสียภาษีตามหลักเกณฑ์ ในประมวลรัษฎากร มาตรา 71  ในกรณีที่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ หรือไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนไม่ปรากฏให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร
   3. ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70) (เสียโดยวีหักภาษี ณ ที่จ่าย)
3.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย การเสียภาษีกรณีนี้กฎหมายให้เสียโดยวิธีหักภาษี คือ ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามวิธีการและอัตราดังหัวข้อถัดไป ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้จ่ายเงินได้ก็ตาม ภาษีที่หักไว้ในกรณีนี้เป็นภาษีที่เสียเด็ดขาดจึงเสร็จสิ้นเป็นรายครั้งไปถ้ากรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งเป็นสาขาของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีตามฐานนี้เพราะผู้รับเงินได้ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้แต่อย่างใด
3.2 เงินได้ที่ต้องหักภาษี เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งผู้จ่ายมีหน้าที่ต้อง หักภาษี ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6)
(1) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับ ทำงานให้ (ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเงินกู้ยืม ในทางปฏิบัติถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8)
(2) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคำพิพากษาของศาล
(3) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ได้แก่เงินได้ที่เป็น
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
กรณีได้เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของ ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ไม่ต้องเสีย ภาษีฐานนี้ (มาตรา 70 วรรค 2 )
(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือกองทุนรวม
(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นส่วนในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและ เงินที่กันไว้รวมกัน
(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้ รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
(4) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่า ทรัพย์สิน
(5) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบ โรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
3.3 วิธีการคำนวณหักภาษีฐานนี้ มีหลักเกณฑ์และวิธีการแยกออก ตามประเภทของเงินได้ ดังนี้
(1) เงินได้พึงประเมินมาตรา 40(2)(3)(4)(5) และ (6) นอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ดังจะกล่าวต่อไปใน (2) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 15
(2) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 10
การยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับบริษัทต่างประเทศข้างต้น ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินแบบแสดงรายการที่ยื่น ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด.54 (ถ้าไม่มี การส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ต้องยื่น)
ตัวอย่าง
บริษัท อาร์ เอส ที จำกัด ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศบราซิล และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รับเงินปันผลจากบริษัทกรุงเทพฯ จำกัด 500,000 บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
วิธีคำนวณ
เงินได้พึงประเมิน (เงินปันผลเป็นเงินได้พึงประเมินประเภท 4(ข) = 500,000 บาท
ต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 10 = 500,000 x 10% = 50,000 บาท
บริษัท อาร์ เอส ที จำกัด จะต้องเสียภาษีโดยถูกผู้จ่ายเงินหักภาษีไว้ = 50,000 บาท
3.4 การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษี
- ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
- แบบแสดงรายการที่ใช้ คือ แบบ ภ.ง.ด. 54 (ถ้าไม่มีการส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ต้องยื่น)
4. ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ (มาตรา 70 ทวิ)   (เสียโดยวีหักภาษี ณ ที่จ่าย)
4.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจำหน่ายเงินกำไรหรือเงิน ประเภทอื่น
ใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยให้เสียภาษีเงินได้โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่าย การจำหน่ายเงินกำไรนั้นให้หมายความรวมถึง
(1) การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร จากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีอื่นใดไปชำระหนี้ หรือหักกลบลบหนี้หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ในบัญชี ของบุคคลใด ๆ ในต่างประเทศ หรือ
(2) ในกรณีที่มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (1) แต่ได้มีการขออนุญาตซื้อและโอนเงินตรา ต่างประเทศ ซึ่งเป็นกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไป ต่างประเทศ หรือ
(3) การปฏิบัติอย่างอื่นอันก่อให้เกิดผลตาม (1) หรือ (2)
4.2 อัตราภาษีและการคำนวณภาษี วิธีการเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศนี้ ให้เสียภาษีโดยหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10
ตัวอย่าง บริษัท เอ เอส บี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเม็กซิโก และประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัท ต้องการจำหน่ายเงินกำไรไปให้แก่สำนักงานใหญ่ 300,000 บาท จะต้องเสียภาษี ดังนี้
วิธีคำนวณ
กำไรที่จำหน่าย = 300,000 บาท
ต้องหักภาษีจากกำไรที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10 = 300,000 x 10% = 30,000 บาท
ดังนั้น บริษัท จะส่งเงินไปให้สำนักงานใหญ่ได้เพียง = 270,000 บาท
เงินภาษีจำนวน 30,000 บาท ที่หักไว้ต้องนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการต่อไป
4.3 การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่น ได้แก่ ภ.ง.ด. 54 (ยื่นทุกครั้งที่มีการจำหน่ายเงิน กำไรออกไปจากประเทศไทย ถ้าเก็บกำไรไว้ในประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีฐานนี้
ข้อสังเกต
(1) เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ จะไม่ต้องเสียภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย หรือฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยซ้ำอีก ในทำนองกลับกัน เงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายหรือฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ก็ไม่ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิซ้ำอีกเช่นกัน
(2) กำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้แล้ว หากมีการจำหน่ายกำไรที่เหลืออยู่ออกไปนอกประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จากฐานการจำหน่ายกำไรอีกครั้งหนึ่ง เช่น สาขาส่งกำไรไปให้สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ เป็นต้น แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย หรือฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ไม่ต้องเสียภาษีจากฐานการจำหน่ายกำไรอีกครั้งแม้จะส่งเงินที่เหลือไปต่างประเทศ
 สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล
ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
(1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สรรพากรเขต/อำเภอ เดิม) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
(2) ธนาคารพาณิชย์ไทย และ สาขา ในเขตกรุงเทพมหานคร
ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
(1) ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ในกรณีสำนักงานสรรพากรอำเภอมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ หรือ
(2) สำนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
หมายเหตุ การยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.50 , ภ.ง.ด.51 , ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.54 สามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก็ได้
การจัดทำบัญชี
สาระสำคัญพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 กำหนดได้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกำหนดให้กิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร มีหน้าที่จัดทำบัญชีด้วย โดยกำหนดวันเริ่มทำบัญชีของนิติบุคคลต่างๆ ด้วย ดังนี้
ประเภทนิติบุคคล
วันเริ่มทำบัญชี
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
บริษัทจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด
วันที่ได้รับการจดทะเบียน
เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจ
ในประเทศไทย
วันที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจ
ในประเทศไทย
กิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร
วันที่ได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543  เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี ซึ่งเมื่อเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแล้วจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีครั้งแรก และวิธีการจัดทำบัญชีของบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้นตามที่อธิบดีกำหนด นิติบุคคล ต้องจัดทำบัญชีต่างๆ ตามพระราชบัญญัติการบัญชี และบัญชี
จบภาษีเงินได้นิติบุคคล