วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 8 ภาษีการรับมรดก


เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)

                                                                 บทที่ 8 ภาษีการรับมรดก

รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก

๑.  ความหมายของกองมรดก  
             กองมรดกคือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน เสื้อผ้า หรือแม้แต่ของใช้ส่วนตัว แม้แต่ทองที่ครอบฟันไว้ ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้ตาย ซึ่งเมื่อบุคคลใดตายแล้วย่อมอยู่ในความหมายของกองมรดกด้วย
             นอกจากทรัพย์สินแล้ว ยังรวมถึงบรรดาสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวันที่ตายหรือที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าภายหลังจากที่ตายแล้ว    เว้นแต่บรรดาสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิด ที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ย่อมตายตามตัวผู้ตายไปด้วยไม่ตกทอดไปถึงทายาท
              กรณีผู้ตายมีหนี้สิน  ทายาทก็ไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน 

๒. ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก
             คนที่จะมีสิทธิได้รับมรดกแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
         2.1  ทายาทโดยธรรมอันได้แก่ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย 
ทายาทโดยธรรมนั้น กฎหมายแบ่งออกเป็น ๖ ลำดับ มีสิทธิรับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
(๑) คู่สมรส และ ผู้สืบสันดาน อันได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื้อ และต่อๆ ไปจนสุดสาย
(๒) บิดามารดา
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(๕) ปู่ ย่า ตา ยาย
(๖) ลุง ป้า น้า อา
    3. ลำดับการรับมรดก
           (๑) ถ้ามีทายาทลำดับ (๑) คือผู้สืบสันดานแล้ว ทายาทในลำดับอื่น ๆ หมดสิทธิที่จะได้รับมรดกโดยสิ้นเชิง ยกเว้นทายาทลำดับ (๒) และคู่สมรส ซึ่งต่างจะมีสิทธิรับมรดกเสมือนหนึ่งเป็นผู้สืบสันดานคนหนึ่ง เช่น ผู้ตาย มีภริยา ๑ คน มีลูก ๒ คน มีบิดา และมารดา ในกรณีนี้มรดกจะแบ่งกันระหว่าง ภริยาลูกและบิดามารดาคนละเท่า ๆ กัน คือแต่ละคนได้รับหนึ่งในห้า แต่ถ้าลูกคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก และลูกคนนั้นมีลูก หรือมีหลาน (ซึ่งจะเป็นหลานหรือเหลนของเจ้ามรดก) ลูกหรือหลานเหล่านั้นก็จะรับมรดกแทนที่พ่อของตน
       (๒) ถ้าผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดานและผู้สืบสันดานไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ แต่มีบิดามารดา มรดกย่อมตกไปยังคู่สมรสกึ่งหนึ่งและตกเป็นของบิดามารดาอีกกึ่งหนึ่ง โดยทายาทลำดับถัด ๆ ไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย แต่ถ้าบิดามารดาตายไปก่อน ก็เป็นอันจบกันไป จะมีการรับมรดกแทนที่บิดามารดาไม่ได้ มรดกย่อมตกไปสู่ทายาทลำดับ ๓ ต่อไป
        (๓) สำหรับทายาทลำดับ (๓) คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ในกรณีนี้คู่สมรสจะได้รับมรดกไปกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มีกี่คนก็แบ่งไปเท่า ๆ กัน ถ้าคนหนึ่งคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก ถ้ามีลูกหลาน ลูกหลานก็เข้ามารับมรดกแทนที่กันต่อ ๆ ไปจนสุดสาย
         (๔) ถ้าไม่มีทายาทลำดับ (๓) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ มรดกย่อมตกไปสู่ทายาทลำดับ (๔) คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน การแบ่งมรดกจะแบ่งให้คู่สมรสก่อน ๒ ใน ๓ ส่วน ที่เหลือจึงจะตกได้แก่ทายาทลำดับ (๔) ซึ่งต้องไปแบ่งกันเองคนละเท่า ๆ กัน และก็เช่นเดียวกับทายาทลำดับ (๓) คือ ถ้าใครตายไปก่อน มรดกของคนนั้นก็จะถูกทายาทของตนรับมรดกแทนที่ต่อ ๆ ไปจนสุดสาย
          (๕) ถ้าไม่มีทายาทลำดับ (๔) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ มรดกจะตกไปสู่ทายาทลำดับ (๕) คือ ปู่ย่าตายาย ซึ่งคู่สมรสของผู้ตายจะได้รับมรดกก่อน ๒ ใน ๓ ส่วน ส่วนที่เหลือจึงจะนำไปแบ่งกันในระหว่างปู่ ย่า ตา ยาย ถ้าใครตายก่อนก็เป็นอันหมดสิทธิไป เพราะจะไม่มีการรับมรดกแทนที่เหมือนทายาทลำดับอื่น ๆ
          (๖) ถ้าไม่มีปู่ย่าตายาย มรดกจะตกไปสู่ทายาทลำดับ (๖) คือ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งคู่สมรสของผู้ตายจะได้รับมรดกก่อน ๒ ใน ๓ ที่เหลือจึงจะนำมาแบ่งปันกันกับลุง ป้า น้า อา ถ้าใครตายไปก่อนมรดกของคนนั้นก็จะตกทอดไปสู่ทายาทของคนนั้นอันเป็นการรับมรดกแทนที่
           (๗) ถ้าไม่มีทายาททั้ง ๖ ลำดับและไม่มีผู้รับมรดกแทนที่เหลืออยู่เลย คงเหลือแต่คู่สมรสคนเดียว มรดกทั้งหมดจะตกได้แก่คู่สมรส
           (๘) ถ้าใครตายไปไม่มีแม้แต่คู่สมรสก็ไม่มี ทายาทก็ไม่มีสักลำดับเดียว ทั้งยังมิได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วย มรดกย่อมตกได้แก่แผ่นดิน

         2.2  ผู้รับพินัยกรรมซึ่งได้แก่ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม  
                  ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร ผู้รับพินัยกรรมย่อมได้รับมรดกตามนั้น และถ้าทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใครหมดแล้ว ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย กล่าวโดยสรุปก็คือ ทายาทโดยธรรมจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีพินัยกรรมระบุไว้เป็นอย่างอื่น หรือถึงมีพินัยกรรมกำหนดไว้แล้วแต่ยังมีทรัพย์สินหลงเหลืออยู่ ทรัพย์สินที่หลงเหลืออยู่จึงจะตกไปถึงทายาทโดยธรรม
                   แต่ทายาทโดยธรรมอาจเป็นผู้รับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมด้วยก็ได้ เช่น พ่อทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ลูก ๆ จนหมด ในกรณีนั้นลูก ๆ จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรม ส่วนในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม ถ้าบังเอิญมีทรัพย์สินเหลืออยู่ ทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะตกได้แก่ลูก ๆ ในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย

                   ความเป็นมาของการจัดเก็บภาษีการรับมรดก
               ในปัจจุบัน  มีการจัดเก็บภาษีมรดกอยู่หลายประเทศ โดยระบบการจัดเก็บภาษีมรดกของประเทศต่างๆมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 
                 1.การจัดเก็บภาษีกองมรดก ( Estate tax)  ได้แก่การจัดภาษีจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายที่เป็นกองมรดกโดยไม่ต้องรอให้มีการแบ่งให้แก่ทายาท เช่นในประเทศอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา
                 2.การจัดเก็บภาษีการรับมรดก (Inheritance) ได้แก่ ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าทรัพย์สินของทรัพย์มรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับจากกองมรดกโดยผู้รับมรดกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก  เช่น ในประเทศฝรั่งเศส  ประเทศญี่ปุ่น  และในประเทศไทย เป็นต้น


                 ภาษีมรดกในประเทศไทย

              ในอดีต ประเทศไทยเคยมีการจัดเก็บภาษีมรดกมาแล้วในปีพ.ศ.2476  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก  พ.ศ.2476 โดยจัดเก็บภาษีจากกองมรดกที่มีจำนวนสุทธิเกิน 10,000  บาท  และเก็บภาษีการรับมรดกจากทายาทที่ได้รับมรดกที่มีจำนวนเกิน 10,000 บาท  แต่ได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ.2487  ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บได้เป็นจำนวนไม่แน่นอนและจัดเก็บได้น้อยแต่มีภาระที่ต้องปฺฎิบัติมาก    รวมใช้บังคับประมาณ 10 ปี  จึงยกเลิก

              มรดกกับการจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน 

          ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.. 2558 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5  สิงหาคม 2558 ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559  เป็นต้นไป)
             การจัดเก็บภาษีการรับมรดกเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศไทย จึงต้องมีการจัดเก็บภาษีจากการรับมรดกที่มีมูลค่าจำนวนมากเพื่อนำเงินภาษีไปใช้พัฒนาประเทศและยกระดับการดำรงชีวิตของประชาชนที่ยากไร้ให้ดีขึ้น

                สาระสำคัญของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.. 2558
      
            หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีการรับมรดก คือ กรมสรรพากร  สังกัด กระทรวงการคลัง

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี :
() บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
() บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
() บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ในกรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นนิติบุคคล ให้ถือว่า นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายไทย หรือมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก หรือมีผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีอานาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอานาจบริหารกิจการทั้งหมด เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษี :
(1) ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
(2) คู่สมรสของเจ้ามรดก
(3) บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
(4) หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
(5) บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ

3. ฐานภาษี :
มรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท
(1) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย หรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย
(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ได้แก่ ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

4. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี :
มรดกซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
() อสังหาริมทรัพย์
() หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
() เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
() ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
() ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
5. การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน :
ให้ใช้ราคาหรือมูลค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับมรดก ดังนี้
(1) กรณีอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดในกฎกระทรวง
(2) กรณีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาของ หลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันได้รับมรดก
(3) กรณีอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. อัตราภาษี :
อัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือ ผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี
7. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี :
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นแบบตามที่อธิบดีกำหนดภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่ง มีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท หรือภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีขยายให้ โดยจะยื่นและชำระ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
ในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการแทน
8. การผ่อนชำระ :
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะผ่อนชำระภาษีภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีก็ได้
กรณีผ่อนชำระครบถ้วนภายใน 2 ปี ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม
กรณีผ่อนชำระครบถ้วนเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้เสียเงินเพิ่มบางส่วน (ตามที่กำหนดในพระ ราชกฤษฎีกาฯ)

9. การประเมินภาษี :
กรณียื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนดเวลา (150 วัน) เจ้าพนักงานประเมินต้องประเมิน ภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นแบบ (ขยายได้ไม่เกิน 3 ปี) โดยไม่ให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มหากมี ภาษีที่ต้องเสียเพิ่มและได้ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจประเมินภาษีภายใน 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

10. เบี้ยปรับ :
ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้อง ชำระ
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงต่อความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้จานวนภาษี ที่ต้องเสียขาดไป เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบ ของรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
11. เงินเพิ่ม :
ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่รวมเบี้ยปรับ
กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนกำหนดเวลาการชำระภาษี และได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่เลื่อนให้นั้น เงินเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนการคำนวณเงินเพิ่ม ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบจนถึงวันที่ชำระภาษี แต่เงินเพิ่มที่
คำนวณได้มิให้เกินจานวนภาษีที่ต้องชำระ
12. การขอคืนภาษี :
ยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ชำระภาษีทั้งหมด ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
เจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง และมีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำร้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ
กรณีที่ต้องคืนภาษี ให้คืนเงินภาษีให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ
ผู้ขอคืนไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่คืน

13. การอุทธรณ์ :
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินภาษี
คณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ (ขยายได้ไม่เกิน 90 วัน) และให้แจ้งคาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันมีคาวินิจฉัย
ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคาวินิจฉัย หรือพ้นกำหนดเวลาหากคณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน หรือ 90 วันที่ได้ขยาย โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์
คณะกรรมการอุทธรณ์ประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนเป็นประธาน ผู้แทนสานักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง เป็นกรรมการ

14. บทกำหนดโทษ :
ไม่ยื่นแบบโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคาสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคาถามของเจ้าพนักงานประเมิน หรือของประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไปให้แก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีผู้กระทาความผิดเป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล ผู้มีส่วนในการกระทาความผิดของนิติบุคคล รับโทษ
จงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคาเท็จ หรือตอบคาถามด้วยถ้อยคาอันเป็นเท็จ หรือนาพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือโดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบายโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือแนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นใดกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานรู้ข้อมูลของผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วนำออกแจ้งแก่บุคคลใดหรือทำให้รู้โดยวิธีใด หรือปล่อยปละละเลยให้ข้อมูลดังกล่าวรู้ถึงบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ต้องรู้ โดยไม่มีอานากระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

15. วันบังคับใช้ :
พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.. 2558 ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นุเบกษา (มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559  เป็นต้นไป)

                                                                              

-----------------------------------------------------------------------

บทที่ 7 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย (WITHOLDING TAX)


เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2558 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
---------------------------------------------------------
บทที่ 7 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย (WITHOLDING TAX)
                           ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีของรัฐวิธีหนึ่งที่กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีก่อนที่จะถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ตามประเภทเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด ภาษีเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด ภาษีเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้น กฎหมายให้ถือเป็นเครดิตภาษีของผู้มีเงินได้ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ก็มีสิทธินำเอาภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้นไปหักออกจากจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย และเสียภาษีเพิ่มเฉพาะส่วนที่เหลือหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ หากปรากฏว่าเมื่อคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีกลับมีภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย มากกว่าภาษีที่จะต้องเสีย ผู้มีเงินได้ก็สมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไว้เกินหรือเสียเกินได้     การจัดเก็บภาษีของรัฐโดยวิธีกำหนดให้มีการหักภาษีไว้เมื่อมีการจ่ายเงินได้ เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า (Pay As You Go) ใน สหราชอาณาจักรอังกฤษเรียกว่า (Pay As You Earn) ซึ่งนอกจากรัฐจะได้เงินภาษีเข้าคลังมาใช้จ่ายก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษีแล้ว ยังเป็นหลักฐานเบื้องต้นแสดงแหล่งที่มาของรายได้ของผู้มีเงินได้ด้วย จึงสะดวกในการติดตามหากผู้มีเงินได้ยื่นรายการเสียภาษีภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
1. วัตถุประสงค์
                 (1)การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในคราวเดียวกันเป็นเงินจำนวนมาก เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี แต่ให้เสียภาษีเป็นคราวๆ ไปทีละน้อยตามจำนวนเงินที่ได้รับแต่ละคราว
                 (2) เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ ทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อย่างราบรื่น อันจะก่อให้เกิดสภาพคล่อง และลดภาวะการเงินตึงตัวในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
                  (3) เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร และลดภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษี หรือการติดตามจัดเก็บภาษีในภายหลัง
2. ใครบ้างมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นรายกรณี โดยอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในรูปใด ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลก็ได้ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ ให้แก่ผู้รับเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล , เงินได้บุคคลธรรมดา (บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) โดยเงินได้ที่จ่ายมิใช่เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้กฎหมายอาจกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้บางประเภท หรือเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้แก่ผู้รับเงินบางประเภทเท่านั้นก็ได้
3. หน้าที่ทั่วไปของผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(1) คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้แล้วหักไว้
(2) นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่คำนวณและหักไว้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าจะได้หักภาษีไว้หรือไม่ เว้นแต่กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ เจ้าพนักงานที่ดินมีการทำนิติกรรมนั้นจะเป็นผู้ดำเนินการส่งแทน อย่างไรก็ดี มีการขยายเวลานำส่งภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้แล้ว
ถ้าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
(3) พร้อมกับการนำเงินภาษีส่งตาม (2) ต้องยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงการหักภาษีเป็นรายตัวผู้มีเงินได้พึงประเมิน ในกรณีที่รัฐบาลเว้นแต่องค์การของรัฐบาล เป็นผู้จ่ายและคำนวณหักไว้ในฎีกาเบิกเงินแล้วไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามนี้ ส่วนในกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เจ้าพนักงานที่ดินที่มีการทำนิติกรรมนั้น จะเป็นผู้ดำเนินการเอง
(4) ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามแบบที่อธิบดีกำหนดหรือแบบที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน และอย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศ แต่ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรจะยกเว้นให้ไม่ต้องออกหนังสือรับรองดังว่านี้ก็ได้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายข้างต้น ต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับด้วย โดยฉบับที่ 1 ต้องมีข้อความว่าสำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการและฉบับที่ 2 ต้องมีข้อความว่าสำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน
ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วแต่ชำรุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีการถ่ายเอกสาร และมีข้อความว่าใบแทนไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำดับของเล่มก็ได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายข้างต้น ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค
นอกจากต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้เครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าผู้มีเงินได้พึงได้ (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2540) ให้ผู้จ่ายเงินได้รับผิดชอบร่วมกับ ผู้มีเงินได้เท่ากับจำนวนที่ได้รับคืนเกินไป หรือที่ชำระไว้ไม่ครบ (ดูตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50,69 ทวิ หรือ www.rd.go.th)
(5) ต้องทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยกรอกรายการการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำวันและแยกเป็นรายการหักจากบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และกรอกรายการนำส่งภาษีประจำวันโดยให้แยกตามใบเสร็จรับชำระภาษีอากรของกรมสรรพากร เป็นรายฉบับเรียงลำดับก่อนหลังตามวันที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือการนำส่งภาษี
เมื่อสิ้นวันสุดท้ายของเดือนให้รวมยอดจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย และจำนวน จำนวนภาษีที่นำส่งแล้วทั้งสิ้นเดือนของเดือนนั้นแต่ละรายการ และต้องเก็บรักษาบัญชีพิเศษดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี
(6) ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว อย่างน้อยต้องมีข้อความแนบท้ายประกาศนี้ สำหรับกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าว สำหรับเงินได้ของเดือนมกราคมของทุกปี
(2) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน
(3) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งออกจากงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน
แบบแจ้งข้อความและรายละเอียดให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ของเดือนมกราคมของทุกปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวออกจากงานในระหว่างปีภาษี แล้วแต่กรณี (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 123) )
4. ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี
ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอตามบทบัญญัติดังกล่าวอธิบายสรุปได้ดังนี้
(1) ความรับผิดทางแพ่ง
(ก) ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีกรณีผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้
1) กรณีมิได้หักและนำส่งภาษีเลย
2) กรณีหักและนำส่งภาษีไว้ไม่ครบถ้วน
ความรับผิดร่วมกันตามข้อนี้ หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในฐานะลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ ถ้าเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ไม่ได้ก็ให้เรียกเก็บจากผู้จ่ายเงินได้ตามจำนวนภาษีที่มิได้หักและหักแล้วแต่นำส่งไม่ครบถ้วน
(ข) ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีกรณีผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว
1) กรณีหักภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่ไม่นำส่ง
2) กรณีหักภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่นำส่งไม่ครบถ้วน
ความรับผิดตามข้อนี้ หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้จะต้องรับผิดในจำนวนภาษีที่หักไว้แล้วแต่ไม่นำส่งและหรือนำส่งไม่ครบถ้วน สำหรับผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่าจำนวนที่ถูกหักไว้
(ค) ความรับผิดเกี่ยวกับเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
เงินภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่าย ถ้าไม่หักหรือหักแล้วไม่นำส่งภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินหรือภายใน 7 วัน นับแต่สิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องนำส่ง แต่เงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่นำส่ง
(กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่มีเบี้ยปรับแต่อย่างใด)
(2) ความรับผิดทางอาญา
ในกรณีผู้จ่ายเงินได้มิได้ยื่นรายการ (ภ.ง.ด.1-2-3) นำเงินภาษีส่งอำเภอภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 52 (กรณีนำภาษีหักไว้ส่งอำเภอ) เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 มีความผิดทางอาญาตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ทั้งนี้ เว้นแต่จะแสดงได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย (ปัจจุบันกรมสรรพากรกำหนดค่าปรับขั้นต่ำสำหรับครั้งแรกไว้ 100 บาท ถ้ายื่นแบบฯ ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดยื่นแบบฯ)
เกี่ยวกับเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542ฯ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2542
ข้อสังเกต
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 3 เตรส และการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
5. หลักเกณฑ์ วิธีการการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน้าที่ให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่กำหนดไว้ ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้



5.1 การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
กรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้โดยเฉพาะโดยไม่ต้องออกกฎหรือคำสั่ง เพื่อกำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายต่างหาก ผู้จ่ายเงินย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ดังนี้
5.1.1 มาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.1.2 มาตรา 69 ทวิ, 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
5.2 การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงประกอบกับคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร
กรณีผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเงินได้ที่ไม่อยู่ในข่ายต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักไว้โดยเฉพาะตามข้อ 1 ผู้มีเงินได้อาจถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงประกอบกับคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดประเภทเงินได้ที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้รายละเอียดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ กฎหมายและคำสั่งต่างๆ สามารถค้นคว้าและ UPDATES ได้จาก www.rd.go.th โดยคลิกไปที่ www.rd.go.th > อ้างอิง > ประมวลรัษฎากร > กฎกระทรวง (ประกาศ คำสั่ง)
6. การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่ง ประมวลรัษฎากร
ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ ฯลฯ ตามมาตรา 40 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
(1) บุคคล หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
นิติบุคคลได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม องค์การของรัฐบาล มูลนิธิ สมาคม วัดวาอารามและนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นๆ เช่น สหกรณ์
องค์การของรัฐบาลหมายความถึง
องค์การของรัฐบาล ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล
กิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และ
หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
(2) ห้างหุ้นส่วน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
(3) บริษัท ได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหมายความรวมถึง
กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า/คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองมรดก
คณะนิติบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหมายความถึง
- กองทุน
- มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล
- หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และตัวอย่างการคำนวณ
6.1 กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ไม่ว่าเงินได้ที่จ่ายจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่อาจคำนวณได้เป็นเงิน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม เงินที่ออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ การให้อาหารรับประทานโดยไม่คิดมูลค่า หรือการได้อยู่บ้านของนายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินได้โดยไม่เสียค่าเช่า เป็นต้น
การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีแล้วคำนวณภาษี ในทำนองเดียวกับการคำนวณภาษีสิ้นปี โดยหัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ออกก่อน เหลือเงินได้สุทธิเท่าใดจึงนำไปคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ได้เงินภาษีจากเงินได้สุทธิทั้งสิ้นเท่าใด ให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักภาษีไว้จำนวนเท่านั้น
ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ได้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
หมายเหตุ การคำนวณหักค่าลดหย่อนให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ ได้แจ้งไว้พร้อมกับสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย. 01 (แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ตามเอกสารที่.....
ตัวอย่างที่ 1
กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือนเดือนละเท่าๆ กันตลอดปีภาษี ตามข้อสังเกต 1 (1) (2) (3) ปีภาษีนี้ นาย ก. ได้รับเงินเดือนๆ ละ 40,000 บาท จากบริษัท aaa จำกัด นาย ก. ได้แจ้งสถานการณ์หักลดหย่อนไว้ว่า มีภริยาชอบด้วยกฎหมายในระหว่างปีภาษีและภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรผู้เยาว์กำลังศึกษา 2 คน มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของนาย ก. จำนวน 71,000 บาท และจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของภริยา จำนวน 20,000 บาท มารดาของนาย ก. อายุ 58 ปี และมารดาของภริยาอายุ 62 ปี ต่างไม่มีรายได้นอกจากนี้มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้มารดานาย ก. 18,000 บาทด้วย ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือน ดังนี้
                                                วิธีการคำนวณ
หน่วย : บาท
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 40,000 x 12 = 480,000
หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000) = 60,000
คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 420,000
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000
ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเบี้ยประกันชีวิต 71,000(1)
ค่าลดหย่อนมารดาของภริยา 30,000(2)
ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพมารดาของนาย ก. 15,000(3) = 210,000
คงเหลือเงินได้สุทธิ = 210,000
ภาษีเงินได้ทั้งปี = (150,000 ได้รับยกเว้น) + (60,000 x 5 %) = 3,000
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 3,000/12 = 250
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย นาย ก. ในกรณีดังนี้
เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม เดือนละ = 250 บาท
ข้อสังเกต
1.    หักลดหย่อนประกันชีวิตของภริยาไม่ได้ เพราะความเป็นสามีภริยาไม่ได้มีอยู่ตลอดปีภาษี
2.    หักลดหย่อนมารดาภริยาได้ ส่วนมารดาของ นาย ก. หักไม่ได้เพราะอายุไม่ถึง 60 ปี
3.    หักประกันสุขภาพมารดานาย ก ได้ แม้อายุไม่ถึง 60 ปี
6.2 กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดในประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 45) ให้คำนวณตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) เป็นเงินทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านั้น
6.3 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธ์ หรือสิทธิอย่างอื่นๆ และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรฯ ให้คำนวณหักตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากกรณีดังต่อไปนี้
กรณีที่หนึ่ง ให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15.0 ได้แก่
1) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
2) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
3) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าวให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้ผู้จ่ายเรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้รับในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้
ในกรณี 1) 2) หรือ 3) ข้างต้น ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้
กรณีที่สอง ให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 .0 ได้แก่ เงินได้พึงประเมินประเภท 4 (ข)
ข้อสังเกต
1. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4(ข) ที่ผู้รับ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (ถึง 180 วัน)
ได้รับจาก
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ข) กองทุนรวม
(ค) สถาบันการเงินที่กฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ และผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าว ในอัตราดังกล่าว โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้
อนึ่งเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (ข) ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีโดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ ทั้งนี้ เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เท่านั้น เครดิตภาษีนี้จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีภาษีเท่านั้น แต่ไม่เกี่ยวกับการคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย
2. มีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามาตรา 50(2) (ก) และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลข้างต้น และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้
รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
กรณีที่สาม ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้รับเงินมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้เอง
6.4 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินฯ และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
6.5 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 แต่ไม่รวมถึงการจ่ายชื้อพืชผลทางการเกษตร และนอกจากกรณีตาม
6.6 ที่ผู้จ่ายเป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การการจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขัน ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
ตัวอย่างที่ 1 สมมุติว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นหน่วยงานราชการจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ นาย ก. ผู้รับเหมา 500,000 บาท ในกรณีนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 ของเงินที่จ่ายเป็นเงินภาษี 5,000 บาท (500,000 x 1/100)
ตัวอย่างที่ 2 สมมุติว่า เทศบาลจัดให้มีการแข่งขันชกมวย และได้จ่ายรางวัลในการชกมวยให้แก่ นาย ก. นักมวยอาชีพเป็นเงิน 45,000 บาท ในกรณีเช่นนี้เทศบาลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า) โดยไม่ต้องหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนใดๆ ดังนี้
เงินได้ 45,000 บาท เสียภาษี 5% = 2,250 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 2,250 บาท
6.6 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 เฉพาะที่จ่าย ให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้คำนวณหักภาษีและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะที่มีการจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่
กรณีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(ก) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องหักและนำส่ง
(ข) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครองได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครองผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องหักและนำส่ง
ค่าใช้จ่ายเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ คือ
จำนวนปีที่ถือครอง
1
2
3
4
5
6
7
8 ปีขึ้นไป
หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ
92
84
77
71
65
60
55
50
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีตามวิธีการคำนวณข้างต้น (ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย) แทนการนำไปรวมคำนวณภาษีตามปกติก็ได้ ภาษีที่คำนวณได้นี้ถ้าเกินร้อยละ 20 ของราคาขาย ก็ให้เสียเพียง ร้อยละ 20 ของราคาขายเท่านั้น
ในกรณีที่เลือกเสียภาษีโดยนำไปรวมคำนวณภาษีตามปกติ ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ตาม (ก) หรือตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตาม (ข) แล้วแต่กรณี เหลือเท่าใดนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น คำว่าจำนวนปีที่ถือครอง ใน (ก) หรือ (ข) หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
ข้อสังเกต
1. คำว่าขายในที่นี้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง
(ก) ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคา หรือมูลค่าตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา
(ข) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาทซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
2. “ราคาขายหมายความถึง ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดโดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอน กรณี ดังกล่าวจะใช้เฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะให้เปรียบเทียบราคาขายกับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และให้ใช้ราคาที่สูงกว่า
สิทธิครอบครองหมายความถึง สิทธิครอบครองในการถือครองอสังหาริมทรัพย์
เงินได้ที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ เป็นเงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 8 เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ ในบางกรณีก็ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
1.    กรณียกอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้อื่น ผู้ยกให้ต้องเป็นผู้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
4. ถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ขายได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอาจจะเกินกว่าร้อยละ 20 ของราคาขายก็ได้ นอกจากนั้นผู้ขายต้องนำเงินได้ไปรวมคำนวณภาษีสิ้นปีตามหลักทั่วไปด้วย
ตัวอย่าง
นายแก้วขายที่ดินมรดกที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ 1 โดยได้รับที่ดินมรดก 2 , 3 นี้มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2544 และขายไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 โดยขายไปในราคา 1,500,000 บาท แต่ที่ดินแปลงนี้มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน 1,000,000 บาท ดังนั้นนายแก้วจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเงินเท่าใด
วิธีคำนวณ
หน่วย:บาท
เงินได้พึงประเมิน4
=
1,000,000
…………(1)
หัก ค่าใช้จ่าย 50%
=
500,000
…………(2)
(1) – (2) เหลือ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
=
500,000
…………(3)
หาร ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง 5 = 500,000/5
=
100,000
…………(4)
ภาษีเฉลี่ยต่อปี 100,000 x 5% 6
=
5,000
…………(5)
คูณ ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง 5,000 x 5
=
25,000
…………(6)
ดังนั้น นายแก้วจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
=
25,000
หมายเหตุ
1 ถ้าเป็นที่ดินตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ เทศบาล สุขาภิบาล หรือ เมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่น จะได้รับการยกเว้น 200,000 บาท โดยต้องนำมาหักจากราคาขายก่อน จึงเริ่มคำนวณ
2 การคำนวณตามตัวอย่างนี้ ถ้าเป็นการได้รับมาโดยเสน่หา ก็คำนวณในลักษณะเดียวกัน
3 แต่ถ้าไม่ใช่เป็นที่ดินรับมรดกหรือได้รับโดยเสน่หา จะไม่ได้รับการยกเว้น 200,000 บาท ตามข้อสังเกต ข้อ 1 และการหักค่าใช้จ่ายจะต้องดูว่าถือครองมากี่ปี แล้วหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (ดูในหัวข้อ 10 เงินได้ที่สามารถแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้อื่น)
4 ราคาขายที่ดินที่จะนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ
5 วิธีนับจำนวนปีที่ถือครอง มีกฎหมายกำหนดวิธีนับเป็นพิเศษดังกล่าวมาแล้ว
6 การคำนวณภาษีกรณีนี้ไม่ใช่คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามวิธีการทั่วไป คือเงินได้ หักค่าใช้จ่าย หักค่า ลดหย่อน เหลือเงินได้สุทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 48(1) ดังนั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
7. การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีที่ส่วนราชการจ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้มีบทกฎหมายบัญญัติให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้คือ
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้รับเงินได้ไม่ว่าประเภทใดจากผู้จ่ายตามข้อ (1)
(3) อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ส่วนราชการที่จ่ายเงินได้ไม่ว่าประเภทใด จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่าย
โดยที่ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้หักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 โดยไม่คำนึงว่าจะมีการจ่ายเงินจำนวนเท่าใด ซึ่งทำให้เกิดปัญญาว่า แม้จะมีการจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยก็จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้จ่ายเงินมาก กระทรวงการคลังจึงได้ผ่อนผันวางแนวทางปฏิบัติไว้ว่า ถ้าเป็นการจ่ายเงินได้ ตามมาตรา 40 ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ครั้งหนึ่งๆ ต่ำกว่า 500 บาทลงมาไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คงหักตาม มาตรา 69 ทวิ เฉพาะคราวที่จ่ายถึง 500 บาทขึ้นไปเท่านั้น
(4) การนำส่งภาษี
ภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ จะต้องนำส่งอำเภอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายแต่กระทรวงการคลังได้ผ่อนผันขยายเวลานำส่งและยื่นแบบแสดงรายการภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นได้แก่ ภ.ง.ด. 53
ตัวอย่าง อบต. ศิลา จ่ายค่าขนส่งคอมพิวเตอร์ให้กับ บริษัท aaa จำกัด จำนวน 300,000 บาท กรณีนี้ อบต. จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินที่จ่ายเป็นเงินภาษี 3,000 บาท แล้วนำเงินภาษีที่หักไว้ส่งสรรพากร ส่วนบริษัทก็นำไปเป็นเครดิตภาษีต่อไป ดูตัวอย่างการกรอกแบบเอกสารที่.....................
นอกจากนั้น ยังมีการจ่ายค่าโทรศัพท์ให้กับ tot จำนวน 5,000 บาท
8. ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคลซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้เป็นใครก็จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีนี้
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์
(3) อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ผู้จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษีเงินที่จ่ายร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ทั้งนี้ไม่ว่าจะจ่ายเงินจำนวนเงินเท่าใดก็ตาม การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ทำสัญญาซื้อขายและลงบัญชีเป็นรายการขายแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ ก็ยังไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อสังเกต สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายบัญญัติให้คำว่าขายรวมถึงขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด
(4) การนำส่งภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ ผู้หักต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่มีการหักภาษีนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำ หรือบันทึกการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในอสังหาริมทรัพย์
9. ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีนี้ เป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี มาตรานี้ให้อธิบดีกรม
สรรพากรมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตราอื่นที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
อธิบดีกรมสรรพากรได้มี คำสั่งที่ ท.ป.4/2548 กำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเพิ่มเติมอีกในหลายกรณี จากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ซึ่งมีทั้งกรณีที่เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
ข้อสังเกต
1. การจ่ายเงินได้ที่มีจำนวนตามสัญญาตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปเท่านั้นจึงจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งที่ ท.ป.4/2528 นี้ ถ้าการจ่ายเงินได้มีจำนวนถึง 1,000 บาทแล้ว แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 1,000 บาท ก็ยังคงต้องหักภาษี
2. ภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน โดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 3
ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และใช้แบบ ภ.ง.ด.53 ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ให้ระงับการหักภาษี ณ ที่จ่าย พืชผลทางการเกษตร กรณีจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.56/2538)
1.    การจ่ายเงินได้ในหลายกรณีผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งที่ ท.ป.4/2548 เช่น
(1) การจ่ายค่าซื้อสินค้า เช่น
(ก) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ ขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้าไม่ว่าจะเรียกเก็บค่าขนส่ง รวมกับราคาสินค้าหรือแยกออกจากราคาสินค้า ค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่งถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(ข) บริษัท ข จำกัด ขายสินค้าพร้อมให้บริการติดตั้งสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยรวมราคาสินค้าและค่าติดตั้งเข้าด้วยกัน ถือเป็นการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(2) การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ เช่น ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าโดยสารรถยนต์โดยสารวิ่งประจำเส้นทาง
(3) การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต เช่น การจ่ายค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ
(4) ค่าลดหย่อนหรือส่วนลดที่ลดให้ทันที่ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ และรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายที่ผู้รับเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น
(ก) บริษัท ก จำกัด ขายรถยนต์กระบะราคาคันละ 300,000 บาท ได้ให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 30 สิงหาคม ปีภาษีนี้ คันละ 5,000 บาท ส่วนลดดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(ข) บริษัท ข จำกัด ขายสินค้าให้ตัวแทนจำหน่ายสินค้า โดยให้ส่วนลดในขณะที่ขายสินค้าทันทีร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่ขาย ส่วนลดดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
10. สถานที่ยื่นแบบฯ และกำหนดเวลาในการนำส่งเงินภาษี
ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 , 3 , 53 แสดงรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายพร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
10.1 สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สำนักงานสรรพากรเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอเดิม) ในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน
10.2 ธนาคารพาณิชย์ไทย
10.2.1 ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาในเขตกรุงเทพมหานครที่กรมสรรพากรกำหนดให้เป็นสถานที่ยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี
10.2.2 ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสาขาทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยตาม (1) โดยผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีผ่านธนาคารในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายได้มีการจ่ายเงิน
การยื่นแบบฯ และชำระภาษีที่ธนาคารจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- ใช้แบบ ภ.ง.ด. 1 ที่พิมพ์ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นและจัดส่งให้
- ยื่นแบบฯ และนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้น
- นำส่งภาษีทั้งจำนวนที่ต้องนำส่ง
11. แบบแสดงรายการที่ใช้
ผู้มีหน้าที่หักภาษี มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
(1) แบบแสดงรายการที่ยื่นพร้อมกับการนำส่งเงินภาษีทุกครั้ง (มาตรา 59)
(2) แบบแสดงรายการที่ยื่นแสดงยอดสรุป หรือรายการเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปทั้งปี และเงินภาษีที่นำส่งโดยไม่มีการนำส่งภาษี (มาตรา 58)
แบบแสดงรายการและกำหนดเวลาการยื่นแบบ เป็นไปตามตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการ
แบบแสดงรายการยื่น พร้อมกับชำระเงินภาษี
แบบแสดงรายการยื่นแสดงยอดสรุปเมื่อสิ้นปีภาษี
หมายเหตุ
แบบฯที่ใช้
กำหนดเวลา
แบบฯที่ใช้
กำหนดเวลา
1.
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ได้แก่เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำเหน็จ บำนาญ ค่านายหน้า ฯลฯ
-บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล
- รัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ภ.ง.ด.1
-
ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
-
ภ.ง.ด.1 ก.
ภ.ง.ด.1
(พิเศษ)
ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
กรณีการตั้งฎีกาเบิกเงิน ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1
2.
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 และ 4 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ
-บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล
- รัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การ บริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ภ.ง.ด.2
ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ภ.ง.ด. 2
ภายในเดือน มกราคม ของปีถัดไป
ยื่น ภ.ง.ด. 2 ก เฉพาะกรณีหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมิน
ประเภทที่ 4 กรณีการตั้งฎีกาเบิกเงินไม่ต้องยืนแบบ ภ.ง.ด.2
3
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6 , 7 และ 8 ได้แก่ การให้เช่าทรัพย์สินฯ วิชาชีพอิสระ การรับเหมา ธุรกิจ การพาณิชย์ ฯลฯ
- บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล (เฉพาะกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ที่จ่ายให้แก่ผู้รับที่ไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย)
- รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ภ.ง.ด. 3
ภ.ง.ด. 3
ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
-
-
ภ.ง.ด. 3
-
ภายในเดือน มกราคม ของปีถัดไป
กรณีมีการตั้งฎีกาเบิกเงินไม่ต้องยื่น
ภ.ง.ด. 3
4
ตามมาตรา 3 เตรส และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2548 (รายละเอียดปรากฏในตารางสรุปหน้าถัดไป)
ภ.ง.ด.3
(ถ้าผู้รับเงินมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.53)
ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
-
-




ตารางสรุปการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส (ปรับปรุงใหม่)
ตารางสรุปการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป.4/2548 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ล่าสุด
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 แก้ไขโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 111/2545
ข้อความที่แรเงาคือส่วนที่แก้ไขใหม่ ตามมติ ครม. วันที่ 12 มิถุนายน 2544
การจ่ายเงินต้องมีจำนวนตามสัญญา ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 1,000 บาท
ลำดับ
ที่
ประเภทเงินได้
พึงประเมิน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
อัตราภาษี
ร้อยละ
แบบยื่น
รายการฯ
กำหนดเวลานำส่ง
1.
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ค่านายหน้า และค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ใน ประเทศไทย
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวล รัษฎากร)
3.0

10.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
2.
มาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่
- ดอกเบี้ยเงินฝาก
- ดอกเบี้ยตั๋วเงิน
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้
- ดอกเบี้ยพันธบัตร
ฯลฯ
- ธนาคารพาณิชย์
- บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจ
หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต
ฟองซิเอร์
- บริษัทบริหารสินทรัพย์
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน ประเทศไทย (ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ บริษัทบริหารสินทรัพย์)
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
1.0




10.0
ภ.ง.ด.53




ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
3.
มาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ
- ดอกเบี้ยพันธบัตร
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลัก ทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ บริษัทบริหารสิน
ทรัพย์)
ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ บริษัทบริหารสินทรัพย์)
1.0
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
4.
มาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ
- ดอกเบี้ยพันธบัตร
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้
- ดอกเบี้ยตั๋วเงิน
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมาย ดังกล่าว
- ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้าหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่าย ครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ )
(4) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
1.0




10.0
ภ.ง.ด.53




ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของ
เดือน ที่จ่ายเงิน
5.
เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใด ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- กองทุนรวม (เดิม)
- สถาบันการเงินที่มีกฎหมาโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม (ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า)
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของ ต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ไม่รวมถึงบริษัทจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม)
10.0

10.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
6.
ค่าเช่า หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ค่าเช่าอาคาร บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ฯลฯ (แต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือ โรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิและค่าเช่าตามสัญญา ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามคำสั่ง ท.ป.34/2534)
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.0

10.0

5.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์
นาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.0

1.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
7.
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
- กฎหมาย
- การประกอบโรศิลป
- สถาปัตยกรรม
- วิศวกรรม
- การบัญชี
- ประณีตศิลปกรรม
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนา หรืออยู่ในประเทศไทย
3.0

10.0

3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
8.
ค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม
- มาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากร (การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ)
- มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร การรับจ้างทำของ
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี
สำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.0

3.0


3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53


ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
9.
ค่าจ้างทำของ
- บุคคล
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมิได้มี
สำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย
5.0
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
10.
รางวัลในการประกวด
การแข่งขัน การชิงโชค
การอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.0
5.0
ภ.ง.ด.53
ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
11.
ค่าแสดงให้แก่นักแสดงสาธารณะได้แก่
นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์
นักร้อง นักดนตรี
นักกีฬา อาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
(1) ผู้มีเงินได้ มีภูมิลำเนาอยู่ใน ต่างประเทศ


(2) ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
อัตราภาษี
เงินได้
หรือ 10.0 ตามกฎ
กระทรวง ฉบับที่ 238
5.0
ภ.ง.ด.3






ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
12.
ค่าโฆษณา
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.0
2.0
ภ.ง.ด.53
ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
13.
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการ แต่ไม่รวมถึง
(1) การจ่ายเงินได้ตาม 8. 9. 11. 12. 15. ซึ่งกำหนดให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้โดย เฉพาะแล้ว
(2) การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ
(3) การจ่ายค่าบริการโรงแรมและภัตตาคาร
(4) การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.0

3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
14.
รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(ไม่รวมผู้รับที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะนำไปขายต่อไป)
3.0

3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
15.
ค่าเบี้ยประกันวินาศ ภัย
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการ วินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
ในประเทศไทย
1.0
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
16.
ค่าขนส่งแต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการ
ขนส่งสาธารณะ
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้
(แต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตาม กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์)
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
1.0

1.0
0.75
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
17.
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการซื้อขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เว้นแต่ การซื้อสินค้าประเภทยางแผ่นหรือยางชนิดอื่นจากต้นยางพารา มันสำปะหลัง ปอ ข้าว ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต
หมายเหตุ มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ ที่ไม่อยู่ในข่ายต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถาน สาธารณกุศล ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร