วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนที่ 1


เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2558 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)

บทที่ 5  ภาษีมูลค่าเพิ่ม      
Value Added Tax หรือ VAT

ขอบเขตของเนื้อหา
-  ความเป็นมาของภาษีมูลค่าเพิ่ม
  - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  - ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  -ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแต่สามารถขอจดทะเบียน
  
-ภาษีมูลค่าเพิ่มได้
  -วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  -กำหนดเวลาการจดทะเบียน
  -สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
 -ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  -ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  -หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  -การเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
 -  กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
- การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
  -การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
 - กำหนดเวลา สถานที่ยื่นแบบและการชำระภาษี
 -ใบกำกับภาษี
  -การออกใบกำกับภาษี
 - ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
 - ประเภทของใบกำกับภาษี
  -การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
  -การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกฉบับใหม่
  -การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้
 - ใบกำกับภาษีปลอมคืออะไร





วัตถุประสงค์ของบทเรียน
-         เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงหลักการและวิธีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
-         เพื่อให้นักศึกษาสามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างถูกต้อง
-         เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษี และการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย  
-         เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความหมายของใบกำกับภาษีปลอม และ โทษของการทำหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอม

                                        ภาษีมูลค่าเพิ่ม    ตอนที่ 1 
ความเป็นมาของภาษีมูลค่าเพิ่ม
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
               
                         ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่มการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย                                  
             
  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (อังกฤษ: Value Added Tax หรือ VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน.
              ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรกโดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ   ปัจจุบันได้มีการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มโดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ 
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  แบ่งเป็น
·        อัตราร้อยละ  7  สำหรับผู้ประกอบการทั่วไปและผู้นำเข้า
อัตราร้อยละ 0 ( สำหรับผู้ประกอบการส่งออก ซึ่งเป็นผู้ที่ควรได้รับยกเว้นภาษี แต่เพื่อให้อยู่ในวงจร Vat เพื่อจะได้ขอคืนภาษีซื้อได้ จึงไม่ยกเว้น แต่กำหนดอัตราภาษีเป็น 0 แทน )

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอัตราร้อยละ 7 
            ทำไมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ในเมื่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 507) พ.ศ.2553 กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.  ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.  ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕         
             เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 6.3 ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 ประกอบกับพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตรา 1 ใน 9  ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีที่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอีกในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ รวมเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 7.0 

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศต่างๆ ประเทศนอกสหภาพยุโรป
ประเทศ
อัตรา
มาตรฐาน
ลดอัตรา      Reduced
21%
10.5% หรือ 0%
10%

17%

20%
9%
7% หรือ 15%
4.5%
19%

17%
6% หรือ 3%
22%
0%
6%
12% หรือ 0%
11%

24.5%
14%
12.5%
4%, 1%, หรือ 0%
16.5%

5%

5%

15%
0%
12.5%

25%
14% หรือ 8%[1]
10%

24%
9%
18%
10% หรือ 0%
18%
8% หรือ 0%
5%

14%
7% หรือ 4%
10%

15%

8%
3.8% หรือ 2.5%
10%
7%
18%
8% หรือ 1%
20%
0%
16%
8%
  ประเทศในสหภาพยุโรป
ประเทศ
อัตรา
มาตรฐาน
Reduced
20%
12% หรือ 10%
21%
12% หรือ 6%
15%
5%
20%
10%
25%

20%
9%
23%
13% หรือ 9%
19.6%
5.5% หรือ 2.1%
19%
7%
23%
13% หรือ 6.5%
20%
18% หรือ 5%
21%
13.5% หรือ 4.8%
20%
10%, 6%, หรือ 4%
22%
12% หรือ 0%
21%
9% หรือ 5%
15%
12%, 9%, 6%, หรือ 3%
18%
5%
19%
6%
23%
13% หรือ 6%
23%
8% หรือ 5%
20%
10%
20%
8.5%
18%
8% หรือ 4%
25%
12% หรือ 6%
20%
5%
--------------------------------------------------------------------------

การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในไทย

ก.  กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.      การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
2.      การห้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
3.      การนำเข้าโดยผู้นำเข้า
4.      การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
5.      กรณีอื่นๆ

1.      การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ

สินค้า
สินค้า     =         ทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ และรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า  ( จะมากกว่าทางบัญชี เพราะรวมถึงทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อการใดๆ ด้วย )
สินค้า เช่น สิทธิการเช่า  สิทธิในเวลาโฆษณา สิทธิการเป็นสมาชิก  ใบสมัครงาน แบบประกวดราคา แบบสอบราคา เครื่องใช้สนง. ซากอะไหล่ เศษวัสดุ ใบอนุญาต สิทธิตามประทานบัตร ลิขสิทธิ์ (เช่นโปรแกรม) โปรแกรมการศึกษาลงซีดี ( ไม่ถือเป็นตำราเรียน หากอยากได้สิทธิยกเว้น vat ต้องแนบซีดีกับหนังสือ  )
ไม่ถือเป็น สินค้า เช่น บัญชีเงินฝาก  เงิน  บัตรภาษี ( เท่ากับตัวเงิน โอนได้ไม่เสีย vat ) บัตรกำนัล ( กิจการจ่ายบัตรกำนัลเป็นค่าตอบแทนวิทยากร ถือว่าจ่ายเป็นเงินสด ) บัตรกำนัล ( ที่กิจการขายให้คนอื่น ซึ่งคนอื่นเอาไปแจกลูกค้า  แล้วลูกค้าเอามาใช้แทนเงินสดในภายหลัง ถือว่ากิจการยังไม่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ )  
ขาย
ขาย       =          จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่  
เช่น ขาย แจก แถม ให้ ให้สินค้าทดลองใช้  ( หากทดลองเป็นสินค้าที่คงรูปและต้องส่งคืนเมื่อทดลองเสร็จ หากลูกค้าจะซื้อต้องซื้อสินค้าใหม่ ถือว่าสินค้าทดลองใช้เป็นการให้บริการไม่ใช่การขาย แต่ไม่มีมูลค่าฐานภาษี )    ให้สินค้าเป็นตัวอย่าง ให้สิ่งของเป็นรางวัลแก่ผู้ชิงโชค  ให้ของชำร่วยสมนาคุณ  แจกขนมให้ลูกค้าทดลองชิม      แลกเปลี่ยนสินค้า  
·        ให้เครื่องมือใช้ฟรีโดยชาร์จราคาไว้ที่สินค้าตัวอื่นแล้ว ก็ต้องเสีย vat ของเครื่องมือ
·        ไฟฟ้าประปา ที่ให้พนักงานใช้ฟรี ก็ต้องเรียกเก็บ vat   
·        โอนรถที่โดนขโมยให้บริษัทประกันภัย ( รถหาย ได้รับค่าสินไหมแล้ว แล้วตามรถได้ภายหลัง )
·        ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ฟรี แก่ลูกค้าที่ใช้บริการตามสัญญา
·        ให้ยืมทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป เช่น ให้ยืมน้ำมัน ถือเป็นการขาย เสีย vat แล้วหากผู้ยืมนำมาคืน ก็ถือว่าขาย เสีย vat ด้วย ( แต่หากเป็นการให้ยืมทรัพย์สินคงรูป ไม่ถือเป็นการขาย แต่ถือว่าให้บริการ )
·        ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ถือว่าจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในกิจการ ถือเป็นการขาย เสีย vat  ( หากเรียกเก็บค่าเสียหายจากพนักงานที่ทำสูญหาย ค่าเสียหายไม่ถือเป็นฐานภาษี ไม่เสีย vat )
·        โอนทรัพย์สินให้หน่วยงานใหม่ ( ที่เป็นอีกนิติบุคคลหนึ่ง )
·        โอนสิทธิเรียกร้องลูกหนี้เช่าซื้อให้ผู้ชนะการประมูล  โอนทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาที่ผู้โอนมีต่อคู่สัญญา  ( หากโอนแค่สิทธิเรียกเก็บเงิน ไม่ต้องเสีย vat  เพราะเป็นแค่ตัวกลางเรียกเก็บหนี้ให้ ) ( หากโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ที่ไม่อยู่ในระบบ vat เช่นสัญญากู้ยืมเงิน ก็ไม่เสีย vat )

ไม่ถือเป็นการขาย เช่น
·        โอนขายบัญชีลูกหนี้การค้า ( ลูกหนี้ที่เกิดจากขายสินค้าที่ออก vat ไปแล้ว ) 
·        โอนสิทธิการเรียกเก็บหนี้ค่าบริการ ( เสมือนรับเงินแทน แต่หน้าที่ยังอยู่กับผู้โอน )
·        โอนสินค้าภายในบริษัทเดียวกันในกิจการที่เสีย vat ด้วยกัน ถือว่าไม่ได้เปลี่ยนมือไปยังบุคคลอื่น ไม่ถือเป็นการขาย
·        ส่งวัตถุดิบให้ผู้รับจ้างทำการผลิตตามสัญญาจ้าง
·        ทำลายสินค้า ทรัพย์สิน ตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด

ขาย       =          สัญญาให้เช่าซื้อสินค้า  สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ ( กำหนดไว้ว่าเป็นการขาย เพื่อจะได้กำหนดจุดรับผิดในการเสีย vat
ขาย       =          การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย  ระบบ vat ถือว่าเป็นการขายแล้ว  ( หากปฏิบัติตามประกาศอธิบดีเกี่ยวกับ vat ฉ.8  คือทำสัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากขายเป็นตัวแทน ความรับผิด vat จะเกิดเมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า )
ขาย       =          การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร รวมถึง การนำสินค้าเข้าเขตปลอดอากร การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ขาย       =          การนำสินค้าไปใช้ ไม่ว่าประการใดๆ  เว้นแต่นำไปผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat ( แต่หากสินค้าที่นำไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงเป็นสินค้าประเภทรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ถือว่าเป็นการขาย เช่น นำรถยนต์นั่งที่มีไว้ขายมาใช้เอง  นำน้ำมันที่มีไว้ขายไปเติมรถยนต์นั่งของกิจการเอง )
เช่น กิจการขายวัสดุก่อสร้าง และปลูกสร้างบ้านขาย  นำวัสดุก่อสร้างไปใช้ในการก่อสร้างบ้านเพื่อขาย ถือว่าขายแล้ว เพราะขายบ้านไม่ได้อยู่ในระบบ vat
สินค้าที่ขายให้ลูกค้าไปแล้วมีปัญหา จึงส่งสินค้าใหม่ให้ ต้องเสีย vat
ขาย       =          สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ  ไม่ว่าจะตรวจพบโดยผู้ประกอบการเอง หรือเจ้าพนักงานประเมิน ( หากแจ้งความว่าถูกขโมย แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่าเกิดโดยเหตุสุดวิสัย ต้องถือว่าเป็นการขาย )
ขาย       =          มีสินค้าคงเหลือ ทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการของกิจการที่อยู่ในระบบ vat   ( แต่ไม่รวมถึง สินค้าและทรัพย์สินของผู้ประกอบการที่ได้ควบเข้ากัน หรือ ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยผู้ประกอบการใหม่หรือผู้รับโอน ต้องอยู่ในระบบ vat ( การโอนกิจการต้องโอนกิจการที่อยู่ในระบบ vat ทั้งหมด  หากโอนแค่บางส่วนจะไม่ได้รับยกเว้น ))
ขาย       =          กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น มีสินค้าคงเหลือ และทรัพย์สินคงเหลือ ณวันที่ขอถอนทะเบียน  หรือ ณวันที่ถูกเพิกถอนทะเบียน
ในราชอาณาจักร 
ประเทศไทย " หรือ " ราชอาณาจักร " หมายความรวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทย ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป และตามความตกลงกับต่างประเทศด้วย
    
หากเป็นนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat เช่น
·        ซื้อสินค้าที่ตปท. และส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าที่ตปท.เลย ไม่ได้นำสินค้าเข้าราชอาณาจักรแต่อย่างใด  ( ไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat ซึ่งไม่ใช่กรณีได้รับสิทธิ 0% ทำให้ภาษีซื้อเนื่องจากขายสินค้านอกราชอาณาจักรขอคืนไม่ได้ และต้องเฉลี่ยภาษีซื้อด้วย )
·        A สั่งซื้อสินค้าจาก ก.  โดย ก. ได้สั่งซื้อสินค้าจาก ข.  แต่ ข. ก็สั่งซื้อสินค้าจาก B. อีกที  โดยให้ B ส่งสินค้าไปให้ A โดยตรง ไม่ได้นำสินค้าเข้าราชอาณาจักรแต่อย่างใด  ( ทั้ง ก. และ ข. ถือว่าขายสินค้านอกราชอาณาจักร ไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat ซึ่งไม่ใช่กรณีได้รับสิทธิ 0%  ทำให้ภาษีซื้อเนื่องจากขายสินค้านอกราชอาณาจักรขอคืนไม่ได้ และต้องเฉลี่ยภาษีซื้อด้วย )
·        ขายเรือเดินทะเลสัญชาติไทย ซึ่งเรือนี้ยังอยู่ตปท. และมีการขายพร้อมส่งมอบเรือที่ตปท.
·        กิจการขายหรือให้เช่ายางเครื่องบิน โดยส่งยางไปเก็บไว้โกดังตปท. ถือว่าเป็นการส่งออก เสีย vat 0% แล้วพอขายหรือให้เช่ายางนอกราชอาณาจักร ไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat

2.      การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ
บริการ
            บริการ   =          การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า   เช่น
การให้เช่ารถ ให้เช่าเรือ บริการทางด่วน การให้ใช้สิทธิ์ การให้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียม การให้สัมปทาน การรับจ้างทำของ การเป็นนายหน้า การรับจ้างพิมพ์ การรับจ้างพิมพ์เอกสาร การรับจ้างผลิตสินค้า การรับโฆษณา การรับฝากสินค้า การให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า การเป็นตัวแทนเก็บหนี้ การให้เช่าบูธ การจัดหาสนามกอล์ฟให้ลูกค้า การเป็นนายหน้า กิจการโรงแรม ภัตตาคาร บังกะโล การให้บริการที่จอดรถ ห้องสุขา ให้บริการอินเทอร์เน็ต สปา การให้บริการโทรศัพท์ การรับจ้างทำฟันปลอม การรับจ้างจัดการกองทุนรวม การขายบัตรแสดงละคร การขายบัตรภาพยนตร์ การเป็นตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต การให้บริการพื้นที่จัดงาน  การให้ใช้ซอฟแวร์  การให้เช่ารถยนต์ การให้บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ  การให้เช่าแท็งค์(ไม่ใช่อสังหา )  
·        ให้ยืมป้ายทะเบียนแดง ถือเป็นการให้บริการต้องเสีย vat จากเงินมัดจำ แล้วเมื่อคืน ค่อยออกใบลดหนี้
·        ประกันวินาศภัย เสีย vat ( แต่ประกันชีวิตเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หากเป็นกรมธรรม์เดียวกัน ให้ดูว่าเนื้อหามุ่งไปทางใด )  ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเสีย SBT ประกันสุขภาพ เสีย vat
·        บริษัทส่งเสริมการขายโดยมีการให้ตัวแทนจำหน่ายสะสมคะแนนเพื่อแลกรางวัลเป็นสินค้าหรือโปรแกรมทัวร์ โดยถือเป็นการขายสินค้า(กรณีมอบสินค้า)  หรือให้บริการ(กรณีมอบโปรแกรมทัวร์) ต้องเสีย vat จากฐานภาษีของต้นทุนหรือบริการที่ได้ซื้อมา
·        สำนักงาน จัดให้มีกระบวนการอนุญาโตตุลาการแก่ผู้ร้องเรียนถือเป็นการให้บริการ
·        กิจการเปิดเว็บไซด์เพื่อแนะนำข้อมูลพร้อมแนะนำเว็บของตปท.  หากผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมโดยเปิดข้อมูลจากเว็บตปท. เจ้าของเว็บตปท.จะชำระค่าตอบแทนให้กิจการ ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร
·        กิจการท่าเรือ เสีย vat พวกการยกขน การขนถ่ายสินค้าด้วย ( ไม่ถือเป็นการขนส่ง ) ดูป.106/2544

บริการ   =          การใช้บริการของตนเองไม่ว่าด้วยประการใดๆ เช่น กิจการให้บริการขนส่ง และเปิดอู่ซ่อมรถ เมื่อนำรถที่ใช้ขนส่งมาซ่อมที่อู่ตนเอง ต้องเสีย vat

การยกเว้นที่ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการ  มี
ก. การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง  โดยเป็นการนำบริการหรือนำสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat         อย่างไรก็ตาม ถ้านำไปใช้เพื่อการดังต่อไปนี้ ต้องเสีย vat  คือ
1.       บริการที่นำไปใช้เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น ผลิตอาหารขาย แล้วนำอาหารไปเลี้ยงรับรองลูกค้า ถือเป็นการให้บริการ เสีย vat เมื่อนำบริการไปใช้
2.       บริการที่นำไปใช้กับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เช่น เป็นอู่ซ่อมรถ ซ่อมรถยนต์นั่งของตนเอง ถือว่าให้บริการแล้ว ต้องเสีย vat เมื่อนำบริการไปใช้
ข. การนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตร หรือหลักทรัพย์ ไม่ถือเป็นบริการ เช่นเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้น  ดอกเบี้ยธนาคาร การขายหุ้น
ค. การจ่ายเงินชดเชย  ค่าชดใช้ค่าเสียหาย ไม่เสีย vat เพราะไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการให้บริการต่อกัน


ในราชอาณาจักร    
การให้บริการในราชอาณาจักร    คือ บริการที่ทำในราชอาณาจักร โดยไม่คำนึงว่า การใช้บริการนั้นจะอยู่ในตปท.หรือในราชอาณาจักร   เช่น
·        ตปท.ให้กิจการเก็บข้อมูลทางการตลาด ผลวิจัยทดลอง ถือเป็นการให้บริการในประเทศ    
·        กิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของผู้ขายตปท. โดยได้ค่านายหน้า  ถือเป็นการให้บริการในประเทศ    
อย่างไรก็ดี สำหรับการให้บริการที่มีการส่งผลของการบริการไปใช้ที่ตปท.นั้น ก็อาจได้รับสิทธิเสีย vat 0% ได้ หากปฏิบัติให้เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตาม ม.80/1(2) และประกาศอธิบดี ฉ.105 ( คือ ก.ได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในตปท.ทั้งหมด
ข. การให้บริการต่อเรือเดินทะเล การให้บริการซ่อมแซมอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่ผู้รับบริการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ  ค.ให้บริการประกันวินาศภัยสำหรับทรัพย์สินในตปท.หรือสินค้าที่ได้ส่งออกนอกราชอาณาจักร  ง.ให้บริการเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อส่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน )

การให้บริการที่ทำในตปท.และใช้บริการในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการใช้บริการในราชอาณาจักร ต้องเสีย vat    ( ให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการเป็นผู้นำส่ง vat ) เช่น
·        กิจการจ้างตปท.ทำโฆษณาลงนิตยสารที่ให้ผู้โดยสารบนเครื่องบินในประเทศอ่านเท่านั้น  
·        บริษัทตปท.ออกบัตรเครดิตให้ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการในประเทศไทย และบริษัทบัตรเครดิตในไทยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่บริษัทผู้ออกบัตรในตปท. เพื่อตอบแทนการให้บริการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ถือบัตร   เสีย vat
·        บริษัทตปท.มิได้ประกอบกิจการในไทย ให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรมและการออกแบบอาคารโรงงานให้แก่ผู้ว่าจ้างในไทย
·        บริษัทไทยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าให้บริษัทตปท.



ไม่เสีย vat   กรณีให้บริการในตปท.แต่ไม่มีการนำบริการนั้นมาใช้ในราชอาณาจักร เช่น
·        กิจการจ่ายค่าโฆษณาแก่สำนักพิมพ์ตปท. เพื่อโฆษณามุ่งหมายตลาดตปท.เป็นหลัก จึงไม่มีการใช้บริการในประเทศ
·        กิจการจ่ายค่านายหน้า โดยให้ตัวแทนตปท.หาลูกค้าตปท.  ( หากหาลูกค้าในประเทศ จะถือเป็นให้บริการในราชอาณาจักร )
·        กิจการรับเหมาก่อสร้างให้ผู้ว่าจ้างตปท. โดยก่อสร้างในตปท.
·        กิจการจัดหาคนงานไปทำงานชั่วคราวที่ตปท. โดยกิจการจะจ่ายเงินเดือนให้พนักงานโดยเข้าบัญชีของพนักงานในไทยตามบัตรเวลาทำงานที่ตปท.แจ้งมา และทำเบิกไปทางตปท.เป็นเดือนๆ ในอัตราที่ได้ตกลงกันตามสัญญาจัดหางาน  ค่าจ้างดังกล่าวไม่เสีย vat เนื่องจากไม่ใช่ให้บริการในราชอาณาจักร
·        ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างอยู่ในราชอาณาจักร แต่การให้บริการของผู้รับจ้างเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักร ไม่เสีย vat  เช่นจ้างให้ไปทำงานที่อยู่ตปท.

3.    การนำเข้าโดยผู้นำเข้า
                  นำเข้า  ความหมาย :  นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งการนำสินค้าที่ต้องเสียหรือได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EXPORT  PROCESSING  ZONE) EPZ. โดยมิใช่เพื่อส่งออกด้วย  
·        การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ทำได้หลายทาง เช่น บก เรือ อากาศ ไปรษณีย์
·        กิจการส่งสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ต่อมาลูกค้าตรวจพบว่าสินค้ามีปัญหา จะต้องถูกส่งกลับคืน กรณีนำสินค้าส่งกลับคืนออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกเป็นการนำเข้าสินค้า  ทั้งนี้ ถ้าสินค้าที่ส่งกลับคืนไม่เข้าลักษณะเป็นสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าก็จะไม่เข้าลักษณะเป็นการนำเข้า

4.การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ

ส่งออก    ความหมาย : ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง
              ()    การนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขต EPZ  เฉพาะสินค้าที่ต้องเสีย หรือได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
             ()    การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ที่ขาย  ให้แก่ผู้ที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ร้านDUTY FREE ในสนามบินดอนเมือง
ตัวอย่างที่  1.บริษัท B อยู่เวียตนาม  สั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ก. ในไทย  บริษัท ก.ไปสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ข.ซึ่งเป็นโรงงานผลิตสินค้าอยู่ในไทย และให้บริษัท ข.ส่งสินค้าไปให้บริษัท B ในประเทศเวียตนามโดยตรง โดยดำเนินพิธีการทางศุลการกรในนามบริษัท ข. ถือว่า
- บริษัท ก.เป็นผู้ส่งออก  เสียVAT อัตรา 0 %
- บริษัท ข.เป็นผู้ขายสินค้าในราชอาณาจักร เสียVAT อัตรา 7 %

ตัวอย่างที่ 2. บริษัท B อยู่ลาว  สั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ก. ในไทย  บริษัท ก.ไปสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ข. อยู่ในไทย แต่บริษัท ข. ไม่มีสินค้าจึงไปสั่งซื้สินค้ากับบริษัท  JJ ในประเทศญี่ปุ่น โดยให้บริษัท JJ.ส่งสินค้าไปให้บริษัท B ในประเทศลาวโดยตรง
- บริษัท ก.และบริษัท ข.ไม่เป็นผู้ส่งออก  ไม่เสียVAT  เพราะเป็นการขายสินค้านอกราชอาณาจักรของผู้ประกอบการในราชอาณาจักร
- บริษัท ก.และบริษัท ข. ต้องนำรายได้จากการขายสินค้าดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

การส่งออกบริการ             การให้บริการในราชอาณาจักร และใช้บริการนั้นในตปท.   รวมถึงการให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อใช้ผลิตสค.ในเขตปลอดอากรเพื่อส่งออก / เขตอุตสาหกรรมส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตดังกล่าวเพื่อใช้ผลิตสค.เพื่อส่งออกด้วย
·        ประกาศอธิบดี เกี่ยวกับ Vat ฉ.105
·        ป. 104/2544
·        การจะพิสูจน์ว่ามีการใช้บริการในตปท.จริงนั้น  กม.ไม่ได้ระบุว่าต้องมีหลักฐานการให้บริการเป็นนส.ในการพิจารณา เพียงแต่มีหลักฐานแสดงการชำระราคาค่าบริการตามใบแจ้งหนี้ในนามผู้ประกอบการจดทะเบียน  ก็ครบเงื่อนไขตามกม.ที่จะได้สิทธิ 0% แล้ว  แต่ต้องเป็นกรณีที่ได้ส่งผลของบริการไปใช้ในตปท.ทั้งหมด
·        ตย. ไม่ได้สิทธิ 0%
o   บจ.ญี่ปุ่น ได้จ้างบจ.ข.  ผลิตถุงพลาสติกส่งออกไปยังบจ.ญี่ปุ่น  และบจ.ญี่ปุ่นได้ว่าจ้าง บจ.ฝ.  ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพสค.ตามมตฐ.ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด  และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพสค.ส่งไปให้ผู้ว่าจ้างในญี่ปุ่น  ถือว่าผลการให้บริการอยู่ในราชอาณาจักร จึงไม่ได้รับสิทธิ 0%  ( หลักการสังเกตเบื้องต้น ผู้ตรวจสอบในไทยไม่ต้องไปแข่งขันการให้บริการกับผู้ตรวจสอบที่เป็นของตปท. จึงไม่จำเป็นต้องได้รับสิทธิ 0% – ณุ )
o   บจ.รับจ้างติดตั้งระบบเน็ตเวิร์คในไทย ให้เชื่อมกับระบบของผู้ว่าจ้างที่มีอยู่แล้วในตปท. ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร
o   บจ.ให้บริการให้คำปรึกษากับบุคคลที่ต้องการศึกษาต่อ ตปท  พร้อมจัดหาที่เรียน ที่พัก แก้ปัญหาต่างๆ ในตปท. บจ.จะได้รับค่าตอบแทนจากมหาลัยที่บจ.จัดส่งคนไปเรียน  ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร  เพราะมิได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในตปท.ทั้งหมด
o   บจ.ไทยมีเว็บไซด์ และมีการโชว์แบนเนอร์แนะนำเว็บไซด์อื่นซึ่งเป็นของตปท. โดยหากมีผู้ดูคลิกแบนเนอร์    บจ.จะได้เงินจากเจ้าของแบนเนอร์  ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร  เพราะมิได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในตปท.ทั้งหมด เพราะลค.ในไทยอาจใช้บริการเปิดแบนเนอร์ของตปท.เนื่องจากการโฆษณานั้นได้
o   บจ.ได้รับค่านายหน้าจากการหาลค.ในไทย ให้บจ. A (ตปท)  เสีย vat 7%
o   บจ.นำเข้าเพชรดิบจากผู้ว่าจ้างในตปท. ที่จ้างบจ.ให้เจียระไน  เมื่อเจียระไนเสร็จ บจ.จะส่งมอบสค.ให้แก่บจ.ไทยเพื่อนำไปผลิตเป็นสค.  และบจ.ไทยจะส่งสค.นี้ออกไปนอกราชอาณาจักรไปยังผู้ว่าจ้างในตปท. และบจ.จะเรียกเก็บค่าบริการรับจ้างเจียจากผู้ว่าจ้าง  การกระทำของบจ.ถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร และนำผลไปใช้ในการผลิตสค.ในราชอาณาจักร ( งง..ต่างกับข้อข้างล่างที่ได้สิทธิ 0% ตรงไหน )
·        ตย. ได้สิทธิ 0%
o   บจ.ตปท.ได้จ้างบจ. ส. และ บจ. ท.  ให้ร่วมกันทำ Hot oil โดยให้ ส.เป็นผู้ทำส่วนแรก  เมื่อเสร็จจะส่งต่อให้ ท. ทำส่วนที่สอง  เมื่อเสร็จแล้วก็ส่งสค.ให้บจ.ตปท.  ซึ่งเป็นผลของการให้บริการของบจ.ทั้งสองไปให้ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นผู้รับบริการเพื่อใช้ในตปท.ทั้งหมด   หากบจ.ไทยมีหลักฐานการรับชำระค่าบริการในนามบจ.ไทย ก็ได้สิทธิ 0%
o   บจ.ให้บริการแปลและพากย์เสียงไทยสำหรับรายการสารคดีที่ส่งมาจากตปท. โดยบจ.จะส่งบทแปลและเสียงพากย์กลับไปยังบจ.ผู้ว่าจ้างในตปท.เพื่อนำไปใส่ประกอบลงสารคดีที่ตปท.  ได้รับสิทธิ
o   บจ.รับจ้างทำวิจัยให้ตปท.  โดยได้ส่งผลวิจัยข้อมูลไปใช้ในตปท.  มิได้ใช้ผลวิจัยทั้งหมดหรือบางส่วนในไทย  ได้รับสิทธิ
o   บจ.ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจแก่ลค.ตปท.  หากผลการให้บริการนั้นไปใช้ในตปท.ทั้งหมด ได้รับสิทธิ
                                               
5 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีอื่นๆ ได้แก่
                 (1) ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ใน
           (2) ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (5) ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือ โอนสิทธิในบริการนั้น ไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล  
             (3)ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่า ด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2) (ค)ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตรา
               (4) ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน  
               (5) ในกรณีโอนกิจการ  
1.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและบุคคลดังต่อไปนี้
      1.1 ผู้ประกอบการ  ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
      1.2 ผู้นำเข้า      คือผู้นำสินค้าหรือบริการ ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย
      1.3 ผู้ส่งออก    คือผู้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปต่างประเทศ
       1.4 กรณีอื่นๆ ได้แก่
                 (1) ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ ตัวแทนดังกล่าว
           (2) ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (5) ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือ โอนสิทธิในบริการนั้น ไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว
             (3)ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่า ด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2) (ค)ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่
                      (ก) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
                (ข) ผู้รับโอนสินค้า ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว   
               (4) ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่
               (5) ในกรณีโอนกิจการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ ผู้โอนและผู้รับโอน
                                    ข. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

             การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม( vat )มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน สินค้าบางชนิดเป็นสิ่งจำเป็นต่อคนส่วนใหญ่ หรือบริการบางอย่างมีลักษณะเป็นสวัสดิการทางสังคม  จึงมีการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการบางประเภท
           
การยกเว้นตามประมวลรัษฎากร  

ม. 81  ให้ยกเว้น Vatสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  ( มี 3 กรณี )
ม. 81 ( 1 )  การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ดังต่อไปนี้

**การขาย**
        (ก) การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้ เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง ด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็งหรือด้วยการจัดทำ หรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
          (ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(ค) การขายปุ๋ย
  • สินค้าโกลบอนกรีนซึ่งใช้สำหรับปรับสภาพดิน  ทำให้ดินร่วนซุย  รากพืชแข็งแรง กรมวิชาการเกษตร ระบุว่าคุณสมบัติและองค์ประกอบไม่จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพรบ.ปุ๋ย  จึงไม่ได้รับยกเว้น

(ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์
  • อาหารสัตว์ประเภทน้ำมันตับปลา  เป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ชนิดอาหารเสริมไขมัน  ไม่ถือเป็นอาหารสัตว์ตามม.นี้
  • บจ.นำเข้าน้ำมันปลา เพื่อขายให้แก่รง.อาหารสัตว์ ใช้เป็นวัตถุดิบผสมอาหารสัตว์ ไม่ถือเป็นอาหารสัตว์ตามม.นี้
  • แคลเซียมผงไม่เป็นอาหารสัตว์ตามม.นี้  เป็นเพียงวัตถุดิบที่นำมาผสมในอาหารสัตว์ จึงไม่ได้รับยกเว้น
(จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
  • บจ.นำเข้าน้ำมันปลา เพื่อขายให้แก่รง.อาหารสัตว์ ใช้เป็นวัตถุดิบผสมอาหารสัตว์ ไม่ถือเป็นยาตามม.นี้
  • น้ำกลั่นเพื่อผสมวัคซีนสำหรับสัตว์ เป็นเคมีภัณฑ์อนินทรีย์  ซึ่งเป็นเพียงวัตถุดิบที่นำมาละลายวัคซีนเพื่อให้สำหรับสัตว์เท่านั้น ไม่ได้รับยกเว้น
  • สารควบคุมการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง เหยื่อกำจัดแมลงวัน  เหยื่อกำจัดหนู ไม่ได้รับยกเว้น vat เนื่องจากเคมีภัณฑ์ที่จะได้รับยกเว้น ต้องพิสูจน์ได้ว่า ใช้บำรุง รักษาป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์  แต่หลักฐานใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ออกโดยองค์การอาหารและยาไม่ปรากฎข้อความรับรองว่าวัตถุอันตรายดังกล่าวใช้สำหรับพืชหรือสัตว์เพื่อการดังกล่าว
  • กาวดักแมลงซึ่งมีส่วนผสมเป็นกาวรวมกับสารมี่มีกลิ่นหอมและตัวทำละลายโดยวิธีการใช้ฉีดพ่นกาวดังกล่าวกับขวดพลาสติกหรือแผ่นพลาสติกแล้วแขวนดักแมลงตามสวนผลไม้ ไม่เข้าลักษณะเป็นยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ ไม่ได้รับยกเว้น
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน       
  • ตย.ที่ได้รับยกเว้น
    • แผนที่โลก  ภาพประกอบการเรียน เช่นภาพสัตว์ ภาพประเพณี  
    • นส.ประวัติผู้ก่อตั้งมูลนิธิ  วัตถุโบราณและพิพิธภัณฑ์ของมูลนิธิ
    • นส.การ์ตูน  นิทาน  นิตยสาร  วารสาร  นวนิยายไทย  นวนิยายตปท.  สารคดี  คู่มือการใช้อุปกรณ์  นส.เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ  นส.เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ
    • นส.พร้อมเทปหรือวีดีโอที่มีเนื้อหาเดียวกับนส.  และขายในราคารวมโดยมิได้แบ่งแยกราคา ถือเป็นขายตำราเรียน

**การให้บริการ**
(ช) การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกม.ว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกม.ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ( ดู 4-054 ถึง 055 )
  • การเปิดรร.โดยยังมิได้ขออนุญาตจัดตั้งตามกม.ว่าด้วยรร.เอกชน  จะต้องเสีย vat เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นนี้
  • หากมีการขายสินค้า.หรือให้บริการอื่น จะต้องเสีย vat สำหรับการนั้นด้วย
(ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรมต ( ดูประกาศอธิบดี เกี่ยวกับ Vat ฉ. 11 )
  • สาขานาฏศิลป์หมายความถึง การแสดงศิลปะร่ายรำประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองระบำ ละคร และโขน
  • สาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์หมายความถึงเฉพาะการแสดงดนตรีไทย หรือการขับร้องเพลงไทยประกอบเครื่องดนตรีไทย
  • การให้บริการนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น
(ฌ) การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยอนุมัติรมต ทั้งนี้ เฉพาะวิชาชีพอิสระที่มีกม.ควบคุม การประกอบวิชาชีพอิสระนั้น
  • ตย.ที่ไม่ยกเว้น เช่น การให้บริการปรึกษาทางวิศวกรรมและสถาปัตย   การให้บริการเป็นที่ปรึกษากม.  การรับจ้างทำบช.  รับจดทะเบียนนิติบุคคล    นายหน้า  ตัวแทน
  • บจ.รับจ้างว่าความให้แก่ธนาคาร โดยมีขั้นตอนตั้งแต่ติดตาม ทวงถาม เร่งรัดหนี้ ฟ้องคดี และบังคับคดี  เฉพาะรายได้จากค่าว่าความ ได้รับยกเว้น vat  ส่วนค่าบริการอื่นๆ ไม่ได้รับยกเว้น vat
(ญ) การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกม.ว่าด้วยสถานพยาบาล
  • หากมิได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสถานพยาบาลตามกม.ว่าด้วยสถานพยาบาล  จะไม่ได้รับยกเว้น vat
  • การจำหน่ายอุปกรณ์ จะไม่ได้รับยกเว้น vat
  • การขายนมผงในรพ.ให้บุคคลทั่วไป เสีย vat  แต่หากให้บริการนมผงแก่เด็กแรกเกิดขณะเข้าพักหลังมารดาคลอด ถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาล ได้รับยกเว้น
  • รายได้จากการบริการด้านอาหาร น้ำดื่มแก่ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในรพ. ถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาล ได้รับยกเว้น
(ฎ) การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรมต.
  • ต้องเป็นการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์   ซึ่งต้องมิใช่ การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในทางธุรกิจ และ ผู้ประกอบการให้บริการ ต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือเป็นมูลนิธิ ( ดูประกาศอธิบดี เกี่ยวกับ Vat ฉ. 12 )
(ฏ) การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
·         การขายของที่ระลึก  รูปโปสการ์ด  ขนม เสีย vat
(ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
() การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
(ฒ) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้ เฉพาะบริการในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรมต.
  • การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่ หรือคณะ เช่น คณะลิเก คณะดนตรี คณะตลก  ( ดูประกาศอธิบดี เกี่ยวกับ Vat ฉ. 13 )
(ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
  • การขนส่ง เป็นการขนคนหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยไม่มีการให้บริการอื่นใดอีก แม้ว่าผู้ขนส่งจะไม่มีใบอนุญาตขนส่งใดๆ  ( ใช้แรงคน เช่นขนข้าว ก็เป็นการขนส่งด้วย )

·        ตย.ที่ไม่ถือเป็นการขนส่ง
o   ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จ โดยนำรถ mixer ซึ่งมีโม่หมุนคอยกวนคอนกรีตผสมเสร็จตลอดเวลาขนส่งเพื่อมิให้คอนกรีตแข็งตัว ด้วยการนำรถไปรับ ณ สถานที่ผลิต เป็นการให้บริการ
o   ประกอบกิจการรับขุดลอกนากุ้ง แล้วนำดินใส่รถบรรทุกไปทิ้งยังที่อื่น ถือเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน ต้องเสีย vat จากยอดรวม  จะแยกเป็นค่าขุดลอก และค่าขนส่งมิได้
o   สัญญารับจ้างขนส่งดิน โดยผู้รับจ้างต้องจัดทำถนนที่ใช้ขนส่งดังกล่าวเอง ต้องดูแลรักษาให้ใช้งานได้ตลอดทั้งปี ต้องสร้างตามหลักวิชาการ และต้องมีการเกลี่ยปรับให้เรียบร้อยตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด สัญญาดังกล่าวมุ่งถึงผลสำเร็จของงาน มากกว่าที่จะขนสค. จึงถือเป็นบริการ
o   การรับขนส่งในบริเวณท่าเรือ เช่น ใช้รถเครนขนยก ให้แรงงานกรรมกร  ตามป.106 ถือเป็นการให้บริการ
(ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล  ซึ่งได้แก่การขนส่งทางบกระหว่างปท.  การขนส่งโดยเรือข้ามฝาก
(ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
·        การให้เช่าอสังหา เช่น ที่ดิน บ้าน อาคาร ห้องพัก พื้นที่อาคาร อาคารสนง. คอนโด  การใช้เช่าสถานที่ เช่น ร้านค้า ห้องสุขา  ซึ่งสาระสำคัญของการให้เช่าจะต้องมีการส่งมอบการครอบครองทส.ที่เช่า ถ้าไม่มีการส่งมอบการครอบครองไม่ถือว่าเป็นการให้เช่าอสังหา แต่ถือเป็นการให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้น vat  เช่น การให้บริการพท.จอดรถ  การใช้บริการห้องจัดเลี้ยงของรร.  การให้เช่าห้องพักรร. การฝากสค.ในคลังสค.
·        บจ.เช่าที่ดิน แล้วก่อสร้างอาคารเพื่อให้เช่า  โดยผู้เช่าทำสัญญาเช่ากับบจ.  โดยบจ.ไม่เก็บค่าเช่า แต่ผู้เช่าต้องจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างให้แก่บจ.  เมื่อสัญญาเช่าที่ดินครบกำหนด  กรรมสิทธิ์ในอาคารจะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน  เงินช่วยค่าก่อสร้างที่บจ.ได้รับ ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าอาคาร  ได้รับยกเว้น vat
·        ดูป.90/2542  , หน้า 4-062 ถึง 066  
(ถ) การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น กิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม

**การขายหรือให้บริการ**
(ท) การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
(ธ) การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
(น) การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพรฎ.
การนำเข้า   การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม  ( การนำเข้าโดยทั่วไป จะต้องเสีย vat )
(ก) สินค้าตาม ม. 81 ( 1 )  (ก) ถึง (ฉ)
(ข) สินค้าจากตปท.ที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกม.ว่าด้วยการนั้น
(ค) สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกม.ว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
(ง) สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปตปท. โดยได้คืนอากรขาเข้า ตามกม.ว่าด้วยศุลกากร
ยกเว้นVat กรณีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

         ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสีย vat  และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) ไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม คือ ต้องไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี  ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสีย vat   แต่ถ้าหากมีรายรับเกิน ต้องเข้าสู่ระบบ vat
·        ปี ในการกำหนดมูลค่าฐานภาษี  มีนิยามดังนี้
o   หากผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา  ให้นับตามปีประดิทิน
o   หากผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล  ให้นับตามรอบระยะเวลาบัญชี.
·        หากผู้ประกอบการ ขายสินค้าหรือให้บริการประเภทที่ได้รับยกเว้น vat    แม้ยอดรายรับเกิน 1.8 ล้าน  ก็ไม่โดนบังคับให้เข้าระบบ  vat
การยกเว้นตามพรฎ.  
·        ฉ.254 การบริจาคสินค้าให้แก่
ก.       สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการ
ข.       องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นนอกจาก (ก)  ทั้งนี้ตามที่รมต.คลังประกาศ
·        ฉ.239 ให้บริการสีข้าว
·        ฉ.378  นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือ นิติบุคคลตามกม.อื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้น  สำหรับการให้บริการในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกของนิติบุคคลนั้น
·        นิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งกระทำกิจการเฉพาะต่อไปนี้ ไม่อยู่ในบังคับเสีย vat  จึงไม่ต้องนำเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดมารวมคำนวณ vat    



   ผู้ประกอบการที่กฏหมายบังคับต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
             ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งประกอบกิจการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
         ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
      1.  ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
      2.  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
      3.   ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร            
      4.  ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536
      5.  ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
               ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
      1.  ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ
      2.  ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
      3.   การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน
      4.   การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
      5.  การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
        วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 
      1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
            แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง
      2.   เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
          (1)   คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
          (2)   สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
          (3)   บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
          (4)   สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          (5)   หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)
          (6)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
          (7)   บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          (8)   แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด
          (9)   กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
5.กำหนดเวลาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 
       1.   ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
       2.   ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
       สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
            การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้       
            1.  กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่
            2.   กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่ที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ที่เคยควบคุมพื้นที่เดิมของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่นั้น
                  กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว
            3.   กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้
                 นอกจากนี้ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ทางอินเตอร์เน็ตที่ www.rd.go.th   โดยต้องยื่นคำขอล่วงหน้าก่อนวันประสงค์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 15  วัน แต่ไม่เกิน 30  วัน

   ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                   เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป
                   กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการแต่ละแห่งในสถานที่ที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย
                    กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
      
      ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
              กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย
              เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
          1. แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
          2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          3. ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
          4. หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
          5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว  
                        (Vat จบตอนที่ 1 มีต่อตอนที่ 2)
   ----------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น