เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย เนื้อนาจันทร์ นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
บทที่ 8 ภาษีการรับมรดก
รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก
๑. ความหมายของกองมรดก
กองมรดกคือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน เสื้อผ้า
หรือแม้แต่ของใช้ส่วนตัว แม้แต่ทองที่ครอบฟันไว้
ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้ตาย
ซึ่งเมื่อบุคคลใดตายแล้วย่อมอยู่ในความหมายของกองมรดกด้วย
นอกจากทรัพย์สินแล้ว ยังรวมถึงบรรดาสิทธิ หน้าที่
และความรับผิดต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในวันที่ตายหรือที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าภายหลังจากที่ตายแล้ว เว้นแต่บรรดาสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิด
ที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย
ย่อมตายตามตัวผู้ตายไปด้วยไม่ตกทอดไปถึงทายาท
กรณีผู้ตายมีหนี้สิน
ทายาทก็ไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
๒. ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก
คนที่จะมีสิทธิได้รับมรดกแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
2.1 “ทายาทโดยธรรม” อันได้แก่ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย
ทายาทโดยธรรมนั้น กฎหมายแบ่งออกเป็น ๖ ลำดับ
มีสิทธิรับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
(๑) คู่สมรส และ ผู้สืบสันดาน อันได้แก่ ลูก
หลาน เหลน ลื้อ และต่อๆ ไปจนสุดสาย
(๒) บิดามารดา
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(๕) ปู่ ย่า ตา ยาย
(๖) ลุง ป้า น้า อา
3.
ลำดับการรับมรดก
(๑) ถ้ามีทายาทลำดับ (๑) คือผู้สืบสันดานแล้ว
ทายาทในลำดับอื่น ๆ หมดสิทธิที่จะได้รับมรดกโดยสิ้นเชิง ยกเว้นทายาทลำดับ (๒)
และคู่สมรส ซึ่งต่างจะมีสิทธิรับมรดกเสมือนหนึ่งเป็นผู้สืบสันดานคนหนึ่ง เช่น
ผู้ตาย มีภริยา ๑ คน มีลูก ๒ คน มีบิดา และมารดา ในกรณีนี้มรดกจะแบ่งกันระหว่าง
ภริยาลูกและบิดามารดาคนละเท่า ๆ กัน คือแต่ละคนได้รับหนึ่งในห้า แต่ถ้าลูกคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก
และลูกคนนั้นมีลูก หรือมีหลาน (ซึ่งจะเป็นหลานหรือเหลนของเจ้ามรดก)
ลูกหรือหลานเหล่านั้นก็จะรับมรดกแทนที่พ่อของตน
(๒)
ถ้าผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดานและผู้สืบสันดานไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ แต่มีบิดามารดา
มรดกย่อมตกไปยังคู่สมรสกึ่งหนึ่งและตกเป็นของบิดามารดาอีกกึ่งหนึ่ง
โดยทายาทลำดับถัด ๆ ไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย แต่ถ้าบิดามารดาตายไปก่อน
ก็เป็นอันจบกันไป จะมีการรับมรดกแทนที่บิดามารดาไม่ได้
มรดกย่อมตกไปสู่ทายาทลำดับ ๓ ต่อไป
(๓) สำหรับทายาทลำดับ (๓) คือ
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ในกรณีนี้คู่สมรสจะได้รับมรดกไปกึ่งหนึ่ง
ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มีกี่คนก็แบ่งไปเท่า ๆ
กัน ถ้าคนหนึ่งคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก ถ้ามีลูกหลาน
ลูกหลานก็เข้ามารับมรดกแทนที่กันต่อ ๆ ไปจนสุดสาย
(๔) ถ้าไม่มีทายาทลำดับ (๓) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่
มรดกย่อมตกไปสู่ทายาทลำดับ (๔) คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
การแบ่งมรดกจะแบ่งให้คู่สมรสก่อน ๒ ใน ๓ ส่วน ที่เหลือจึงจะตกได้แก่ทายาทลำดับ
(๔) ซึ่งต้องไปแบ่งกันเองคนละเท่า ๆ กัน และก็เช่นเดียวกับทายาทลำดับ (๓) คือ
ถ้าใครตายไปก่อน มรดกของคนนั้นก็จะถูกทายาทของตนรับมรดกแทนที่ต่อ ๆ ไปจนสุดสาย
(๕) ถ้าไม่มีทายาทลำดับ (๔) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่
มรดกจะตกไปสู่ทายาทลำดับ (๕) คือ ปู่ย่าตายาย
ซึ่งคู่สมรสของผู้ตายจะได้รับมรดกก่อน ๒ ใน ๓ ส่วน
ส่วนที่เหลือจึงจะนำไปแบ่งกันในระหว่างปู่ ย่า ตา ยาย
ถ้าใครตายก่อนก็เป็นอันหมดสิทธิไป เพราะจะไม่มีการรับมรดกแทนที่เหมือนทายาทลำดับอื่น
ๆ
(๖) ถ้าไม่มีปู่ย่าตายาย มรดกจะตกไปสู่ทายาทลำดับ (๖) คือ
ลุง ป้า น้า อา ซึ่งคู่สมรสของผู้ตายจะได้รับมรดกก่อน ๒ ใน ๓
ที่เหลือจึงจะนำมาแบ่งปันกันกับลุง ป้า น้า อา
ถ้าใครตายไปก่อนมรดกของคนนั้นก็จะตกทอดไปสู่ทายาทของคนนั้นอันเป็นการรับมรดกแทนที่
(๗) ถ้าไม่มีทายาททั้ง ๖
ลำดับและไม่มีผู้รับมรดกแทนที่เหลืออยู่เลย คงเหลือแต่คู่สมรสคนเดียว
มรดกทั้งหมดจะตกได้แก่คู่สมรส
(๘) ถ้าใครตายไปไม่มีแม้แต่คู่สมรสก็ไม่มี
ทายาทก็ไม่มีสักลำดับเดียว ทั้งยังมิได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วย มรดกย่อมตกได้แก่แผ่นดิน
2.2 “ผู้รับพินัยกรรม” ซึ่งได้แก่ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม
ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร
ผู้รับพินัยกรรมย่อมได้รับมรดกตามนั้น และถ้าทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใครหมดแล้ว
ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย กล่าวโดยสรุปก็คือ
ทายาทโดยธรรมจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีพินัยกรรมระบุไว้เป็นอย่างอื่น
หรือถึงมีพินัยกรรมกำหนดไว้แล้วแต่ยังมีทรัพย์สินหลงเหลืออยู่
ทรัพย์สินที่หลงเหลืออยู่จึงจะตกไปถึงทายาทโดยธรรม
แต่ทายาทโดยธรรมอาจเป็นผู้รับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมด้วยก็ได้ เช่น
พ่อทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ลูก ๆ จนหมด ในกรณีนั้นลูก ๆ
จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรม ส่วนในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม
ถ้าบังเอิญมีทรัพย์สินเหลืออยู่ ทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะตกได้แก่ลูก ๆ
ในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย
ความเป็นมาของการจัดเก็บภาษีการรับมรดก
ในปัจจุบัน มีการจัดเก็บภาษีมรดกอยู่หลายประเทศ
โดยระบบการจัดเก็บภาษีมรดกของประเทศต่างๆมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1.การจัดเก็บภาษีกองมรดก ( Estate
tax) ได้แก่การจัดภาษีจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายที่เป็นกองมรดกโดยไม่ต้องรอให้มีการแบ่งให้แก่ทายาท
เช่นในประเทศอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา
2.การจัดเก็บภาษีการรับมรดก (Inheritance) ได้แก่
ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าทรัพย์สินของทรัพย์มรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับจากกองมรดกโดยผู้รับมรดกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก เช่น ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และในประเทศไทย เป็นต้น
ภาษีมรดกในประเทศไทย
ในอดีต ประเทศไทยเคยมีการจัดเก็บภาษีมรดกมาแล้วในปีพ.ศ.2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พ.ศ.2476
โดยจัดเก็บภาษีจากกองมรดกที่มีจำนวนสุทธิเกิน 10,000 บาท
และเก็บภาษีการรับมรดกจากทายาทที่ได้รับมรดกที่มีจำนวนเกิน 10,000
บาท แต่ได้ถูกยกเลิกไปในปี
พ.ศ.2487 ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บได้เป็นจำนวนไม่แน่นอนและจัดเก็บได้น้อยแต่มีภาระที่ต้องปฺฎิบัติมาก รวมใช้บังคับประมาณ 10 ปี จึงยกเลิก
มรดกกับการจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน
ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 สิงหาคม 2558 ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
เป็นต้นไป)
การจัดเก็บภาษีการรับมรดกเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศไทย
จึงต้องมีการจัดเก็บภาษีจากการรับมรดกที่มีมูลค่าจำนวนมากเพื่อนำเงินภาษีไปใช้พัฒนาประเทศและยกระดับการดำรงชีวิตของประชาชนที่ยากไร้ให้ดีขึ้น
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก
พ.ศ. 2558
|
หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีการรับมรดก คือ กรมสรรพากร สังกัด กระทรวงการคลัง
|
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
:
(๑) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(๒) บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย
แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(๓) บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย
แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ในกรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นนิติบุคคล ให้ถือว่า
นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายไทย หรือมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก
หรือมีผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีอานาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอานาจบริหารกิจการทั้งหมด
เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษี
:
(1) ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
(2) คู่สมรสของเจ้ามรดก
(3) บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา
กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
(4) หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา
กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
(5) บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ
3. ฐานภาษี :
มรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว
ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย
ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว
ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท
(1) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย
หรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย
(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย
ได้แก่ ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
4. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี
:
มรดกซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑) อสังหาริมทรัพย์
(๒) หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(๓) เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
(๔) ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
(๕) ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
5. การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน
:
ให้ใช้ราคาหรือมูลค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับมรดก
ดังนี้
(1) กรณีอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่
กำหนดในกฎกระทรวง
(2) กรณีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้ถือเอาราคาของ หลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันได้รับมรดก
(3) กรณีอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. อัตราภาษี :
อัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท
แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือ ผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ
5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี
7. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี
:
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นแบบตามที่อธิบดีกำหนดภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่ง มีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท หรือภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีขยายให้ โดยจะยื่นและชำระ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
ในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นผู้เยาว์
คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการแทน
8. การผ่อนชำระ :
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะผ่อนชำระภาษีภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีก็ได้
กรณีผ่อนชำระครบถ้วนภายใน 2 ปี ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม
กรณีผ่อนชำระครบถ้วนเกิน
2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้เสียเงินเพิ่มบางส่วน
(ตามที่กำหนดในพระ ราชกฤษฎีกาฯ)
9. การประเมินภาษี :
กรณียื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนดเวลา (150 วัน)
เจ้าพนักงานประเมินต้องประเมิน ภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นแบบ (ขยายได้ไม่เกิน 3 ปี) โดยไม่ให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มหากมี ภาษีที่ต้องเสียเพิ่มและได้ชำระภายใน
30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจประเมินภาษีภายใน
10 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
10. เบี้ยปรับ :
ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้อง ชำระ
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงต่อความเป็นจริง
อันเป็นเหตุให้จานวนภาษี ที่ต้องเสียขาดไป เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบ
ของรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
11. เงินเพิ่ม :
ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ
1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่รวมเบี้ยปรับ
กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนกำหนดเวลาการชำระภาษี
และได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่เลื่อนให้นั้น เงินเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ
0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนการคำนวณเงินเพิ่ม ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบจนถึงวันที่ชำระภาษี
แต่เงินเพิ่มที่
คำนวณได้มิให้เกินจานวนภาษีที่ต้องชำระ
12. การขอคืนภาษี :
ยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ชำระภาษีทั้งหมด
ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
เจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง และมีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำร้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ
กรณีที่ต้องคืนภาษี ให้คืนเงินภาษีให้เสร็จภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ
ผู้ขอคืนไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่คืน
13. การอุทธรณ์ :
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินภาษี
คณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ (ขยายได้ไม่เกิน
90 วัน) และให้แจ้งคาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือภายใน
15 วัน นับแต่วันมีคาวินิจฉัย
ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคาวินิจฉัย
หรือพ้นกำหนดเวลาหากคณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน หรือ 90 วันที่ได้ขยาย โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์
คณะกรรมการอุทธรณ์ประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนเป็นประธาน
ผู้แทนสานักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง เป็นกรรมการ
14. บทกำหนดโทษ :
ไม่ยื่นแบบโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคาสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคาถามของเจ้าพนักงานประเมิน
หรือของประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไปให้แก่บุคคลอื่น
ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน
400,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีผู้กระทาความผิดเป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้จัดการ
ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล ผู้มีส่วนในการกระทาความผิดของนิติบุคคล รับโทษ
จงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคาเท็จ
หรือตอบคาถามด้วยถ้อยคาอันเป็นเท็จ หรือนาพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
หรือโดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบายโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือแนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นใดกระทำการดังกล่าว
ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน
200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานรู้ข้อมูลของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วนำออกแจ้งแก่บุคคลใดหรือทำให้รู้โดยวิธีใด หรือปล่อยปละละเลยให้ข้อมูลดังกล่าวรู้ถึงบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ต้องรู้
โดยไม่มีอานากระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
15. วันบังคับใช้ :
พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด
180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นุเบกษา (มีผลบังคับใช้วันที่
1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป)
-----------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น