เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน
: นายวินัย
เนื้อนาจันทร์
นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนที่ 3
Value Added
Tax หรือ VAT
ใบกำกับภาษีปลอม
คือ
ใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่
1.ออกใบกำกับภาษีโดยผู้ไม่มีสิทธิออก เช่น
ผู้ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือถูกเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
2.ออกใบกำกับภาษีโดยผู้อื่นที่การแอบอ้าง(ปลอม)
ใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.ออกใบกำกับภาษีโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่ไม่ได้มีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการกันจริง(ซื้อ- ขาย
ใบกำกับภาษี)
4.ผู้ประกอบการมีการขายสินค้าจริง แต่ไม่ได้ออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อทุกราย แล้วนำใบกำกับภาษีส่วนที่เหลือไปขายให้ผู้อื่นที่มิได้ซื้อสินค้ากัน
หรือเกินกว่ามูลค่าสินค้าที่ซื้อขายกัน
5.ใบกำกับภาษีที่ผู้ได้รับประโยชน์ไม่สามารถนำพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี
การสอบยันผู้ออกใบกำกับภาษี
1.
ดูสถานประกอบการ ว่าผู้ออกใบกำกับภาษีมีสถานประกอบการจริงหรือไม่
2.
ดูการยื่นแบบ ภ.พ. 30 ว่ามีการยื่นแบบ
ภ.พ.30 เป็นปกติหรือไม่
3.
ดูรายงานภาษีขาย ว่ามีการลงรายงานภาษีขายถูกต้องหรือไม่
4.
ดูรายงานสินค้า และวัตถุดิบ ว่ามีสินค้าและวัตถุดิบคงเหลือถูกต้องหรือไม่
5.
วิธีการส่งมอบสินค้า, การขนส่ง
ว่ามีการส่งมอบสินค้ากันจริงหรือไม่ โดยวิธีใด
6.
หลักฐานการรับชำระค่าสินค้า ว่ามีการชำระค่าสินค้ากันจริงหรือไม่
โทษของการออกใบกำกับภาษีปลอมและการใช้ใบกำกับภาษีปลอม
โทษทางอาญา
บุคคลดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13
(4) ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13
(4) ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
โทษทางแพ่ง
1. ออกใบกำกับภาษี
ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายตามมาตรา 86/13
ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้
หรือใบลดหนี้นั้น
2. นำใบกำกับภาษีปลอม
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษี ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น ในกรณีใบกำกับภาษีที่ผู้ได้รับประโยชน์ไม่สามารถนำพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี
ให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่ต้องยื่นแบบ
ภ.พ.36
เกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนอกจากจะเสียโดยคำนวณจากภาษีขาย
หัก ภาษีซื้อ ซึ่งต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีแล้ว ยังมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีอื่นๆ
ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการยื่นแบบ ภ.พ.36 ซึ่งคำนวณภาษีจากมูลค่าสินค้าหรือบริการทั้งหมด
คูณ ด้วยอัตราภาษีร้อยละ 7 โดยผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีดังต่อไปนี้
(ก) ผู้จ่ายเงินที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่
(1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วยการยื่นแบบ ภ.พ.36 คำนวณภาษีจากมูลค่าสินค้าหรือบริการทั้งหมด
คูณ ด้วยอัตราภาษีร้อยละ 7 ภายใน 7 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ
(2) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
การนำเข้าบริการ กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อได้มีการชำระราคาค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยคำนวณจากมูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ คูณด้วย อัตราภาษีร้อยละ 7 ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ
การนำเข้าบริการ กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อได้มีการชำระราคาค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยคำนวณจากมูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ คูณด้วย อัตราภาษีร้อยละ 7 ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ
กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรจ่ายเงินค่าบริการให้กับผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษี โดยผู้จ่ายเงินต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.36)
ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักร
เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้รับบริการในราชอาณาจักรมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งตามแบบ
ภ.พ.36 ไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้
โดยมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีที่มีการยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.36) และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร
การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ
และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร หมายความว่า
การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้าตาม ที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศได้กระทำขึ้นในต่างประเทศ
และผู้รับบริการในราชอาณาจักรได้นำผลของการกระทำนั้นมาใช้ในราชอาณาจักร
กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ไม่มีรูปร่างให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในราชอาณาจักรไม่ถือเป็น
การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร แต่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างโดยผู้ประกอบการในต่างประเทศ
ให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในราชอาณาจักร (นำเข้าสินค้าไม่มีรูปร่าง) เช่น
การโอนกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร การโอนกรรมสิทธิ์ในกู๊ดวิลล์
การโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า การโอนกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิ์ในสัมปทาน การโอนกรรมสิทธิ์ในค่าสิทธิ
หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7
กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้ให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดใน
ราชอาณาจักรได้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร ได้ใช้กู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า
ได้ใช้ลิขสิทธิ์ ได้ใช้สัมปทาน ได้ใช้ค่าสิทธิ
หรือได้ใช้สินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการใน ต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร
กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ
หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง
แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในราชอาณาจักร
โดยผู้ว่าจ้างในราชอาณาจักรยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดำเนินการ
ให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการบริหาร การจัดการ การวางแผน กฎหมาย การเงิน
การตลาดและบุคคล ซึ่งการให้บริการทั้งหมดได้กระทำในต่างประเทศและบริษัทในต่างประเทศได้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านทางโทรศัพท์
โทรสาร E – MAIL (ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
และจดหมายให้กับบริษัท ก จำกัด กรณีดังกล่าว
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท ก จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(2) บริษัท ข จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าเครื่องจักรจากบริษัทในต่างประเทศเพื่อ
นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท ข จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(3) บริษัท ค จำกัด
ได้ทำสัญญารับจ้างออกแบบคำนวณโครงสร้างทางยกระดับโครงการแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัท ค
จำกัด
ได้ทำสัญญาจ้างช่วงงานคำนวณโครงสร้างบางส่วนกับบริษัทในต่างประเทศโดยบริษัทในต่างประเทศจะดำเนินการออกแบบและ
คำนวณโครงสร้างในต่างประเทศ และส่งผลของงานให้กับบริษัท ค จำกัด กรณีดังกล่าว
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท ค จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(4) บริษัท ง จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ซ่อมแซมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าโดยส่งเครื่องจักรไปซ่อมแซมในต่างประเทศ
เมื่อบริษัทในต่างประเทศดำเนินการเรียบร้อยแล้วได้ส่งกลับมาให้บริษัท ง จำกัด
ใช้ในประเทศไทย กรณีดังกล่าว
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท ง จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(5) บริษัท จ จำกัด
ประกอบกิจการเกี่ยวกับสนามกอล์ฟได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดำเนินการออกแบบสนามกอล์ฟโดยมีการจัดทำแผนผัง
รายละเอียดและงานเขียนแบบสำหรับใช้ในการก่อสร้างสนามกอล์ฟ
ซึ่งบริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในงานเขียนแบบและแผนผังอื่น ๆ
เงินค่าจ้างออกแบบดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่า ตอบแทนเพื่อค่าสิทธิ กรณีดังกล่าว
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท จ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(6) บริษัท ช จำกัด ประกอบธุรกิจถลุงโลหะ
ได้ซื้อลิขสิทธิ์กรรมวิธีการผลิตจากบริษัทในต่างประเทศโดยบริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์กรรมวิธีการผลิต
กรณีดังกล่าว
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท ช จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(7) ส่วนราชการแห่งหนึ่งทำสัญญาจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากบริษัทในต่างประเทศ
โดยบริษัทในต่างประเทศเสนอราคาค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยค่าลิขสิทธิ์ที่บริษัทในต่างประเทศยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์
ค่าติดตั้ง ค่าบำรุงรักษา ค่าฝึกอบรม ค่าให้คำปรึกษา ค่าเดินทาง
และค่าที่พักของพนักงาน กรณีดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ
และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(8) บริษัท ซ จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศผลิต BROCHURE เป็นรูปภาพของโรงแรมและเย็บเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ
โดยบางส่วนแจกให้ลูกค้าในประเทศไทย และบางส่วนแจกให้ลูกค้าในต่างประเทศ
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
บริษัท ซ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36) โดยคำนวณจากค่าบริการทั้งหมด
การให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการในต่างประเทศ
กรณีผู้ประกอบการซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักร
ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องยื่นแบบ
ภ.พ.36
การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็น
การขายสินค้า ที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศได้กระทำขึ้นในต่างประเทศและผู้รับบริการในราชอาณาจักรได้นำผลของการให้บริการนั้นไปใช้ใน
ต่างประเทศทั้งหมด
ตัวอย่าง
การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
(1) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้า
ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้เป็นนายหน้าติดต่อหาลูกค้าในต่างประเทศ
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
บริษัท ก จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(2) บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการประเภทธุรกิจหลักทรัพย์
ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ โดยบริษัท ข จำกัด ได้ว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศแห่งหนึ่งเป็นตัวแทนในการจัดหาแหล่งเงินกู้
ซึ่งบริษัท ข จำกัดต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ตัวแทน
ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
บริษัท ข จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(3) บริษัท ค จำกัด
ประกอบกิจการผลิตสินค้าได้ทำสัญญาแต่งตั้งบริษัทในต่างประเทศเป็นตัวแทนในการชำระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ
โดยตัวแทนต้องจ่ายเงินทดรองแทนบริษัทฯ ไปก่อนและเรียกเก็บเงินคืนจากบริษัทฯ
พร้อมกับเรียกเก็บค่าบริการ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
บริษัท ค จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
(4) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรม
ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในต่างประเทศให้ดำเนินการส่งเสริมการขาย การตลาด โฆษณา
และรับจองห้องพัก ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
บริษัท ง จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36)
การให้บริการในราชอาณาจักรและมีการใช้บริการในต่างประเทศ
การส่งออกบริการ
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษี จากภาษีขาย หัก ภาษีซื้อ และยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่
15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษี
กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
เป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศและได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด
ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีขาย อัตรา
ร้อยละ 0
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในต่างประเทศได้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร
ได้ใช้กู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ได้ใช้ลิขสิทธิ์ ได้ใช้สัมปทาน
ได้ใช้ค่าสิทธิ หรือได้ใช้สินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร
กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ
หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง แต่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีขาย อัตรา ร้อยละ 0
ตัวอย่าง
บริษัท ก.
รับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล
ที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นและมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น
โดยไม่มีข้อตกลงว่างานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้ตกเป็นของบริษัท ก ซึ่งเป็น ผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์ดังกล่าวจึงตกเป็นของบริษัท ฮ.
ผู้ว่าจ้าง ฉะนั้น เงินค่าตอบแทนที่บริษัท
ก ได้รับจากบริษัท ฮ. จึงเป็นเงินค่าจ้างทำของ ไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ บริษัท ก จึงได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ
0 เพราะถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
การขายสินค้าไม่มีรูปร่างให้ผู้ซื้อต่างประเทศ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ไม่มีรูปร่างให้กับผู้ประกอบการหรือบุคคลใดในต่างประเทศ
ไม่ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ แต่ถือเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง ให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ(ส่งออกสินค้าไม่มีรูปร่าง)
เช่น การโอนกรรมสิทธิ์สิทธิในสิทธิบัตร การโอนกรรมสิทธิ์ในกู๊ดวิลล์
การโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า การโอนกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิ์ในสัมปทาน การโอนกรรมสิทธิ์ในค่าสิทธิ
หรือการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยคำนวณภาษีขาย อัตรา ร้อยละ 0
ข้อสังเกต
ในกรณีของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual
Property ) หากเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาได้โอนขายทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้แก่บุคคลอื่นย่อมถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่าง
เช่น การโอนขายลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นย่อมถือเป็นการขายสินค้าไม่มี รูปร่าง ไม่ใช่การให้บริการ
หากเป็นการโอนขายให้บุคคลอื่นในต่างประเทศ ย่อมถือเป็นการ ส่งออกสินค้า
ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0
แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นได้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตน
เช่น อนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ (Copyright Licensing Agreement) ไม่ถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่าง
แต่ถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยอนุญาต
ให้บุคคลอื่นในต่างประเทศได้ใช้ทรัพย์สิน- ทางปัญญาของตนจึงเป็นการส่งออกบริการ ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 0 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ในปัจจุบันไม่ว่า จะเป็นการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่
ผู้ซื้อในต่างประเทศ การอนุญาตให้บุคคลอื่น ในต่างประเทศได้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการรับจ้างบุคคลอื่นในต่างประเทศสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา
เช่น การรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปให้บุคคลนั้นในต่างประเทศ ย่อมถือเป็นการส่งออกอันจะได้
รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0
(ข) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วในอัตราร้อยละ
0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการ
ที่ได้มีการขายหรือให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ
ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่
สถานกงสุล มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ. 36) โดยคำนวณจากค่ามูลค่าสินค้าหรือ บริการที่รับโอน ในอัตราร้อยละ 7 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน
ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
การขายสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว
อันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(Tax Point)เกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(ค)
ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือส่วนราชการซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดตามกฏหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ. 36)
โดยคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินที่ได้ขายทอดตลาดในอัตราร้อยละ 7 ภายใน 7
วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น