วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 7 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย (WITHOLDING TAX)


เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2558 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
---------------------------------------------------------
บทที่ 7 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย (WITHOLDING TAX)
                           ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีของรัฐวิธีหนึ่งที่กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีก่อนที่จะถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ตามประเภทเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด ภาษีเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด ภาษีเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้น กฎหมายให้ถือเป็นเครดิตภาษีของผู้มีเงินได้ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ก็มีสิทธินำเอาภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้นไปหักออกจากจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย และเสียภาษีเพิ่มเฉพาะส่วนที่เหลือหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ หากปรากฏว่าเมื่อคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีกลับมีภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย มากกว่าภาษีที่จะต้องเสีย ผู้มีเงินได้ก็สมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไว้เกินหรือเสียเกินได้     การจัดเก็บภาษีของรัฐโดยวิธีกำหนดให้มีการหักภาษีไว้เมื่อมีการจ่ายเงินได้ เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า (Pay As You Go) ใน สหราชอาณาจักรอังกฤษเรียกว่า (Pay As You Earn) ซึ่งนอกจากรัฐจะได้เงินภาษีเข้าคลังมาใช้จ่ายก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษีแล้ว ยังเป็นหลักฐานเบื้องต้นแสดงแหล่งที่มาของรายได้ของผู้มีเงินได้ด้วย จึงสะดวกในการติดตามหากผู้มีเงินได้ยื่นรายการเสียภาษีภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
1. วัตถุประสงค์
                 (1)การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในคราวเดียวกันเป็นเงินจำนวนมาก เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี แต่ให้เสียภาษีเป็นคราวๆ ไปทีละน้อยตามจำนวนเงินที่ได้รับแต่ละคราว
                 (2) เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ ทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อย่างราบรื่น อันจะก่อให้เกิดสภาพคล่อง และลดภาวะการเงินตึงตัวในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
                  (3) เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร และลดภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษี หรือการติดตามจัดเก็บภาษีในภายหลัง
2. ใครบ้างมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นรายกรณี โดยอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในรูปใด ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลก็ได้ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ ให้แก่ผู้รับเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล , เงินได้บุคคลธรรมดา (บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) โดยเงินได้ที่จ่ายมิใช่เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้กฎหมายอาจกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้บางประเภท หรือเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้แก่ผู้รับเงินบางประเภทเท่านั้นก็ได้
3. หน้าที่ทั่วไปของผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(1) คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้แล้วหักไว้
(2) นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่คำนวณและหักไว้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าจะได้หักภาษีไว้หรือไม่ เว้นแต่กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ เจ้าพนักงานที่ดินมีการทำนิติกรรมนั้นจะเป็นผู้ดำเนินการส่งแทน อย่างไรก็ดี มีการขยายเวลานำส่งภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้แล้ว
ถ้าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลานำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
(3) พร้อมกับการนำเงินภาษีส่งตาม (2) ต้องยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงการหักภาษีเป็นรายตัวผู้มีเงินได้พึงประเมิน ในกรณีที่รัฐบาลเว้นแต่องค์การของรัฐบาล เป็นผู้จ่ายและคำนวณหักไว้ในฎีกาเบิกเงินแล้วไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามนี้ ส่วนในกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เจ้าพนักงานที่ดินที่มีการทำนิติกรรมนั้น จะเป็นผู้ดำเนินการเอง
(4) ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามแบบที่อธิบดีกำหนดหรือแบบที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน และอย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศ แต่ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรจะยกเว้นให้ไม่ต้องออกหนังสือรับรองดังว่านี้ก็ได้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายข้างต้น ต้องมีข้อความด้านบนแต่ละฉบับด้วย โดยฉบับที่ 1 ต้องมีข้อความว่าสำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการและฉบับที่ 2 ต้องมีข้อความว่าสำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน
ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับออกใบแทนในกรณีที่หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ที่ออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วแต่ชำรุด สูญหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้วิธีการถ่ายเอกสาร และมีข้อความว่าใบแทนไว้ที่ด้านบนของเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำดับของเล่มก็ได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายข้างต้น ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรืออารบิค
นอกจากต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้เครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าผู้มีเงินได้พึงได้ (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2540) ให้ผู้จ่ายเงินได้รับผิดชอบร่วมกับ ผู้มีเงินได้เท่ากับจำนวนที่ได้รับคืนเกินไป หรือที่ชำระไว้ไม่ครบ (ดูตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50,69 ทวิ หรือ www.rd.go.th)
(5) ต้องทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยกรอกรายการการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำวันและแยกเป็นรายการหักจากบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และกรอกรายการนำส่งภาษีประจำวันโดยให้แยกตามใบเสร็จรับชำระภาษีอากรของกรมสรรพากร เป็นรายฉบับเรียงลำดับก่อนหลังตามวันที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือการนำส่งภาษี
เมื่อสิ้นวันสุดท้ายของเดือนให้รวมยอดจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย และจำนวน จำนวนภาษีที่นำส่งแล้วทั้งสิ้นเดือนของเดือนนั้นแต่ละรายการ และต้องเก็บรักษาบัญชีพิเศษดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี
(6) ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว อย่างน้อยต้องมีข้อความแนบท้ายประกาศนี้ สำหรับกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าว สำหรับเงินได้ของเดือนมกราคมของทุกปี
(2) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน
(3) กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งออกจากงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน
แบบแจ้งข้อความและรายละเอียดให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ของเดือนมกราคมของทุกปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวออกจากงานในระหว่างปีภาษี แล้วแต่กรณี (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 123) )
4. ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี
ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอตามบทบัญญัติดังกล่าวอธิบายสรุปได้ดังนี้
(1) ความรับผิดทางแพ่ง
(ก) ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีกรณีผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้
1) กรณีมิได้หักและนำส่งภาษีเลย
2) กรณีหักและนำส่งภาษีไว้ไม่ครบถ้วน
ความรับผิดร่วมกันตามข้อนี้ หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในฐานะลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ ถ้าเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ไม่ได้ก็ให้เรียกเก็บจากผู้จ่ายเงินได้ตามจำนวนภาษีที่มิได้หักและหักแล้วแต่นำส่งไม่ครบถ้วน
(ข) ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีกรณีผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว
1) กรณีหักภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่ไม่นำส่ง
2) กรณีหักภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่นำส่งไม่ครบถ้วน
ความรับผิดตามข้อนี้ หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้จะต้องรับผิดในจำนวนภาษีที่หักไว้แล้วแต่ไม่นำส่งและหรือนำส่งไม่ครบถ้วน สำหรับผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดในจำนวนเงินภาษีเท่าจำนวนที่ถูกหักไว้
(ค) ความรับผิดเกี่ยวกับเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
เงินภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่าย ถ้าไม่หักหรือหักแล้วไม่นำส่งภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินหรือภายใน 7 วัน นับแต่สิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องนำส่ง แต่เงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่นำส่ง
(กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่มีเบี้ยปรับแต่อย่างใด)
(2) ความรับผิดทางอาญา
ในกรณีผู้จ่ายเงินได้มิได้ยื่นรายการ (ภ.ง.ด.1-2-3) นำเงินภาษีส่งอำเภอภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 52 (กรณีนำภาษีหักไว้ส่งอำเภอ) เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 มีความผิดทางอาญาตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ทั้งนี้ เว้นแต่จะแสดงได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย (ปัจจุบันกรมสรรพากรกำหนดค่าปรับขั้นต่ำสำหรับครั้งแรกไว้ 100 บาท ถ้ายื่นแบบฯ ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดยื่นแบบฯ)
เกี่ยวกับเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542ฯ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2542
ข้อสังเกต
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.91/2542 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 3 เตรส และการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
5. หลักเกณฑ์ วิธีการการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน้าที่ให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่กำหนดไว้ ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้



5.1 การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
กรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้โดยเฉพาะโดยไม่ต้องออกกฎหรือคำสั่ง เพื่อกำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายต่างหาก ผู้จ่ายเงินย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ดังนี้
5.1.1 มาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.1.2 มาตรา 69 ทวิ, 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
5.2 การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงประกอบกับคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร
กรณีผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเงินได้ที่ไม่อยู่ในข่ายต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักไว้โดยเฉพาะตามข้อ 1 ผู้มีเงินได้อาจถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงประกอบกับคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดประเภทเงินได้ที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้รายละเอียดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ กฎหมายและคำสั่งต่างๆ สามารถค้นคว้าและ UPDATES ได้จาก www.rd.go.th โดยคลิกไปที่ www.rd.go.th > อ้างอิง > ประมวลรัษฎากร > กฎกระทรวง (ประกาศ คำสั่ง)
6. การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่ง ประมวลรัษฎากร
ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ ฯลฯ ตามมาตรา 40 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
(1) บุคคล หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
นิติบุคคลได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม องค์การของรัฐบาล มูลนิธิ สมาคม วัดวาอารามและนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นๆ เช่น สหกรณ์
องค์การของรัฐบาลหมายความถึง
องค์การของรัฐบาล ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล
กิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และ
หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
(2) ห้างหุ้นส่วน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
(3) บริษัท ได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหมายความรวมถึง
กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า/คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองมรดก
คณะนิติบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหมายความถึง
- กองทุน
- มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล
- หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และตัวอย่างการคำนวณ
6.1 กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ไม่ว่าเงินได้ที่จ่ายจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่อาจคำนวณได้เป็นเงิน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม เงินที่ออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ การให้อาหารรับประทานโดยไม่คิดมูลค่า หรือการได้อยู่บ้านของนายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินได้โดยไม่เสียค่าเช่า เป็นต้น
การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีแล้วคำนวณภาษี ในทำนองเดียวกับการคำนวณภาษีสิ้นปี โดยหัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ออกก่อน เหลือเงินได้สุทธิเท่าใดจึงนำไปคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ได้เงินภาษีจากเงินได้สุทธิทั้งสิ้นเท่าใด ให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักภาษีไว้จำนวนเท่านั้น
ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ได้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
หมายเหตุ การคำนวณหักค่าลดหย่อนให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ ได้แจ้งไว้พร้อมกับสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย. 01 (แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ตามเอกสารที่.....
ตัวอย่างที่ 1
กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือนเดือนละเท่าๆ กันตลอดปีภาษี ตามข้อสังเกต 1 (1) (2) (3) ปีภาษีนี้ นาย ก. ได้รับเงินเดือนๆ ละ 40,000 บาท จากบริษัท aaa จำกัด นาย ก. ได้แจ้งสถานการณ์หักลดหย่อนไว้ว่า มีภริยาชอบด้วยกฎหมายในระหว่างปีภาษีและภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรผู้เยาว์กำลังศึกษา 2 คน มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของนาย ก. จำนวน 71,000 บาท และจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของภริยา จำนวน 20,000 บาท มารดาของนาย ก. อายุ 58 ปี และมารดาของภริยาอายุ 62 ปี ต่างไม่มีรายได้นอกจากนี้มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้มารดานาย ก. 18,000 บาทด้วย ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือน ดังนี้
                                                วิธีการคำนวณ
หน่วย : บาท
เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 40,000 x 12 = 480,000
หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000) = 60,000
คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 420,000
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000
ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเบี้ยประกันชีวิต 71,000(1)
ค่าลดหย่อนมารดาของภริยา 30,000(2)
ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพมารดาของนาย ก. 15,000(3) = 210,000
คงเหลือเงินได้สุทธิ = 210,000
ภาษีเงินได้ทั้งปี = (150,000 ได้รับยกเว้น) + (60,000 x 5 %) = 3,000
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 3,000/12 = 250
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย นาย ก. ในกรณีดังนี้
เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม เดือนละ = 250 บาท
ข้อสังเกต
1.    หักลดหย่อนประกันชีวิตของภริยาไม่ได้ เพราะความเป็นสามีภริยาไม่ได้มีอยู่ตลอดปีภาษี
2.    หักลดหย่อนมารดาภริยาได้ ส่วนมารดาของ นาย ก. หักไม่ได้เพราะอายุไม่ถึง 60 ปี
3.    หักประกันสุขภาพมารดานาย ก ได้ แม้อายุไม่ถึง 60 ปี
6.2 กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดในประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 45) ให้คำนวณตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) เป็นเงินทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านั้น
6.3 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธ์ หรือสิทธิอย่างอื่นๆ และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรฯ ให้คำนวณหักตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากกรณีดังต่อไปนี้
กรณีที่หนึ่ง ให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15.0 ได้แก่
1) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
2) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
3) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าวให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้ผู้จ่ายเรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้รับในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้
ในกรณี 1) 2) หรือ 3) ข้างต้น ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้
กรณีที่สอง ให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 .0 ได้แก่ เงินได้พึงประเมินประเภท 4 (ข)
ข้อสังเกต
1. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4(ข) ที่ผู้รับ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (ถึง 180 วัน)
ได้รับจาก
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ข) กองทุนรวม
(ค) สถาบันการเงินที่กฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ และผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าว ในอัตราดังกล่าว โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้
อนึ่งเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (ข) ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีโดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ ทั้งนี้ เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เท่านั้น เครดิตภาษีนี้จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีภาษีเท่านั้น แต่ไม่เกี่ยวกับการคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย
2. มีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามาตรา 50(2) (ก) และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลข้างต้น และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้
รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
กรณีที่สาม ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้รับเงินมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้เอง
6.4 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินฯ และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
6.5 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 แต่ไม่รวมถึงการจ่ายชื้อพืชผลทางการเกษตร และนอกจากกรณีตาม
6.6 ที่ผู้จ่ายเป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การการจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขัน ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
ตัวอย่างที่ 1 สมมุติว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นหน่วยงานราชการจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ นาย ก. ผู้รับเหมา 500,000 บาท ในกรณีนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 ของเงินที่จ่ายเป็นเงินภาษี 5,000 บาท (500,000 x 1/100)
ตัวอย่างที่ 2 สมมุติว่า เทศบาลจัดให้มีการแข่งขันชกมวย และได้จ่ายรางวัลในการชกมวยให้แก่ นาย ก. นักมวยอาชีพเป็นเงิน 45,000 บาท ในกรณีเช่นนี้เทศบาลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า) โดยไม่ต้องหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนใดๆ ดังนี้
เงินได้ 45,000 บาท เสียภาษี 5% = 2,250 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 2,250 บาท
6.6 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 เฉพาะที่จ่าย ให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้คำนวณหักภาษีและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะที่มีการจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่
กรณีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(ก) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องหักและนำส่ง
(ข) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครองได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครองผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องหักและนำส่ง
ค่าใช้จ่ายเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ คือ
จำนวนปีที่ถือครอง
1
2
3
4
5
6
7
8 ปีขึ้นไป
หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ
92
84
77
71
65
60
55
50
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีตามวิธีการคำนวณข้างต้น (ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย) แทนการนำไปรวมคำนวณภาษีตามปกติก็ได้ ภาษีที่คำนวณได้นี้ถ้าเกินร้อยละ 20 ของราคาขาย ก็ให้เสียเพียง ร้อยละ 20 ของราคาขายเท่านั้น
ในกรณีที่เลือกเสียภาษีโดยนำไปรวมคำนวณภาษีตามปกติ ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ตาม (ก) หรือตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตาม (ข) แล้วแต่กรณี เหลือเท่าใดนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น คำว่าจำนวนปีที่ถือครอง ใน (ก) หรือ (ข) หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
ข้อสังเกต
1. คำว่าขายในที่นี้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง
(ก) ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคา หรือมูลค่าตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา
(ข) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาทซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
2. “ราคาขายหมายความถึง ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดโดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอน กรณี ดังกล่าวจะใช้เฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะให้เปรียบเทียบราคาขายกับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และให้ใช้ราคาที่สูงกว่า
สิทธิครอบครองหมายความถึง สิทธิครอบครองในการถือครองอสังหาริมทรัพย์
เงินได้ที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ เป็นเงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 8 เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ ในบางกรณีก็ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
1.    กรณียกอสังหาริมทรัพย์ให้ผู้อื่น ผู้ยกให้ต้องเป็นผู้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
4. ถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ขายได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอาจจะเกินกว่าร้อยละ 20 ของราคาขายก็ได้ นอกจากนั้นผู้ขายต้องนำเงินได้ไปรวมคำนวณภาษีสิ้นปีตามหลักทั่วไปด้วย
ตัวอย่าง
นายแก้วขายที่ดินมรดกที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ 1 โดยได้รับที่ดินมรดก 2 , 3 นี้มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2544 และขายไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 โดยขายไปในราคา 1,500,000 บาท แต่ที่ดินแปลงนี้มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน 1,000,000 บาท ดังนั้นนายแก้วจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเงินเท่าใด
วิธีคำนวณ
หน่วย:บาท
เงินได้พึงประเมิน4
=
1,000,000
…………(1)
หัก ค่าใช้จ่าย 50%
=
500,000
…………(2)
(1) – (2) เหลือ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
=
500,000
…………(3)
หาร ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง 5 = 500,000/5
=
100,000
…………(4)
ภาษีเฉลี่ยต่อปี 100,000 x 5% 6
=
5,000
…………(5)
คูณ ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง 5,000 x 5
=
25,000
…………(6)
ดังนั้น นายแก้วจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
=
25,000
หมายเหตุ
1 ถ้าเป็นที่ดินตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ เทศบาล สุขาภิบาล หรือ เมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่น จะได้รับการยกเว้น 200,000 บาท โดยต้องนำมาหักจากราคาขายก่อน จึงเริ่มคำนวณ
2 การคำนวณตามตัวอย่างนี้ ถ้าเป็นการได้รับมาโดยเสน่หา ก็คำนวณในลักษณะเดียวกัน
3 แต่ถ้าไม่ใช่เป็นที่ดินรับมรดกหรือได้รับโดยเสน่หา จะไม่ได้รับการยกเว้น 200,000 บาท ตามข้อสังเกต ข้อ 1 และการหักค่าใช้จ่ายจะต้องดูว่าถือครองมากี่ปี แล้วหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (ดูในหัวข้อ 10 เงินได้ที่สามารถแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้อื่น)
4 ราคาขายที่ดินที่จะนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ
5 วิธีนับจำนวนปีที่ถือครอง มีกฎหมายกำหนดวิธีนับเป็นพิเศษดังกล่าวมาแล้ว
6 การคำนวณภาษีกรณีนี้ไม่ใช่คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามวิธีการทั่วไป คือเงินได้ หักค่าใช้จ่าย หักค่า ลดหย่อน เหลือเงินได้สุทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 48(1) ดังนั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
7. การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีที่ส่วนราชการจ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้มีบทกฎหมายบัญญัติให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้คือ
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้รับเงินได้ไม่ว่าประเภทใดจากผู้จ่ายตามข้อ (1)
(3) อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ส่วนราชการที่จ่ายเงินได้ไม่ว่าประเภทใด จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่าย
โดยที่ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้หักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 โดยไม่คำนึงว่าจะมีการจ่ายเงินจำนวนเท่าใด ซึ่งทำให้เกิดปัญญาว่า แม้จะมีการจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยก็จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้จ่ายเงินมาก กระทรวงการคลังจึงได้ผ่อนผันวางแนวทางปฏิบัติไว้ว่า ถ้าเป็นการจ่ายเงินได้ ตามมาตรา 40 ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ครั้งหนึ่งๆ ต่ำกว่า 500 บาทลงมาไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คงหักตาม มาตรา 69 ทวิ เฉพาะคราวที่จ่ายถึง 500 บาทขึ้นไปเท่านั้น
(4) การนำส่งภาษี
ภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ จะต้องนำส่งอำเภอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายแต่กระทรวงการคลังได้ผ่อนผันขยายเวลานำส่งและยื่นแบบแสดงรายการภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นได้แก่ ภ.ง.ด. 53
ตัวอย่าง อบต. ศิลา จ่ายค่าขนส่งคอมพิวเตอร์ให้กับ บริษัท aaa จำกัด จำนวน 300,000 บาท กรณีนี้ อบต. จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินที่จ่ายเป็นเงินภาษี 3,000 บาท แล้วนำเงินภาษีที่หักไว้ส่งสรรพากร ส่วนบริษัทก็นำไปเป็นเครดิตภาษีต่อไป ดูตัวอย่างการกรอกแบบเอกสารที่.....................
นอกจากนั้น ยังมีการจ่ายค่าโทรศัพท์ให้กับ tot จำนวน 5,000 บาท
8. ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคลซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้เป็นใครก็จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีนี้
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์
(3) อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ผู้จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษีเงินที่จ่ายร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ทั้งนี้ไม่ว่าจะจ่ายเงินจำนวนเงินเท่าใดก็ตาม การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ทำสัญญาซื้อขายและลงบัญชีเป็นรายการขายแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ ก็ยังไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อสังเกต สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายบัญญัติให้คำว่าขายรวมถึงขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด
(4) การนำส่งภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ ผู้หักต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่มีการหักภาษีนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำ หรือบันทึกการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในอสังหาริมทรัพย์
9. ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีนี้ เป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี มาตรานี้ให้อธิบดีกรม
สรรพากรมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตราอื่นที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
อธิบดีกรมสรรพากรได้มี คำสั่งที่ ท.ป.4/2548 กำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเพิ่มเติมอีกในหลายกรณี จากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ซึ่งมีทั้งกรณีที่เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
ข้อสังเกต
1. การจ่ายเงินได้ที่มีจำนวนตามสัญญาตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปเท่านั้นจึงจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งที่ ท.ป.4/2528 นี้ ถ้าการจ่ายเงินได้มีจำนวนถึง 1,000 บาทแล้ว แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 1,000 บาท ก็ยังคงต้องหักภาษี
2. ภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน โดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 3
ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และใช้แบบ ภ.ง.ด.53 ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ให้ระงับการหักภาษี ณ ที่จ่าย พืชผลทางการเกษตร กรณีจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2538 (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.56/2538)
1.    การจ่ายเงินได้ในหลายกรณีผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งที่ ท.ป.4/2548 เช่น
(1) การจ่ายค่าซื้อสินค้า เช่น
(ก) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ ขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้าไม่ว่าจะเรียกเก็บค่าขนส่ง รวมกับราคาสินค้าหรือแยกออกจากราคาสินค้า ค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่งถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(ข) บริษัท ข จำกัด ขายสินค้าพร้อมให้บริการติดตั้งสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยรวมราคาสินค้าและค่าติดตั้งเข้าด้วยกัน ถือเป็นการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(2) การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ เช่น ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าโดยสารรถยนต์โดยสารวิ่งประจำเส้นทาง
(3) การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต เช่น การจ่ายค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ
(4) ค่าลดหย่อนหรือส่วนลดที่ลดให้ทันที่ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ และรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายที่ผู้รับเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น
(ก) บริษัท ก จำกัด ขายรถยนต์กระบะราคาคันละ 300,000 บาท ได้ให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 30 สิงหาคม ปีภาษีนี้ คันละ 5,000 บาท ส่วนลดดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
(ข) บริษัท ข จำกัด ขายสินค้าให้ตัวแทนจำหน่ายสินค้า โดยให้ส่วนลดในขณะที่ขายสินค้าทันทีร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่ขาย ส่วนลดดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
10. สถานที่ยื่นแบบฯ และกำหนดเวลาในการนำส่งเงินภาษี
ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 , 3 , 53 แสดงรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายพร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
10.1 สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สำนักงานสรรพากรเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอเดิม) ในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน
10.2 ธนาคารพาณิชย์ไทย
10.2.1 ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาในเขตกรุงเทพมหานครที่กรมสรรพากรกำหนดให้เป็นสถานที่ยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี
10.2.2 ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสาขาทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยตาม (1) โดยผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีผ่านธนาคารในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายได้มีการจ่ายเงิน
การยื่นแบบฯ และชำระภาษีที่ธนาคารจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- ใช้แบบ ภ.ง.ด. 1 ที่พิมพ์ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นและจัดส่งให้
- ยื่นแบบฯ และนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้น
- นำส่งภาษีทั้งจำนวนที่ต้องนำส่ง
11. แบบแสดงรายการที่ใช้
ผู้มีหน้าที่หักภาษี มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
(1) แบบแสดงรายการที่ยื่นพร้อมกับการนำส่งเงินภาษีทุกครั้ง (มาตรา 59)
(2) แบบแสดงรายการที่ยื่นแสดงยอดสรุป หรือรายการเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปทั้งปี และเงินภาษีที่นำส่งโดยไม่มีการนำส่งภาษี (มาตรา 58)
แบบแสดงรายการและกำหนดเวลาการยื่นแบบ เป็นไปตามตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการ
แบบแสดงรายการยื่น พร้อมกับชำระเงินภาษี
แบบแสดงรายการยื่นแสดงยอดสรุปเมื่อสิ้นปีภาษี
หมายเหตุ
แบบฯที่ใช้
กำหนดเวลา
แบบฯที่ใช้
กำหนดเวลา
1.
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ได้แก่เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำเหน็จ บำนาญ ค่านายหน้า ฯลฯ
-บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล
- รัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ภ.ง.ด.1
-
ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
-
ภ.ง.ด.1 ก.
ภ.ง.ด.1
(พิเศษ)
ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
กรณีการตั้งฎีกาเบิกเงิน ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1
2.
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 และ 4 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ
-บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล
- รัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การ บริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ภ.ง.ด.2
ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ภ.ง.ด. 2
ภายในเดือน มกราคม ของปีถัดไป
ยื่น ภ.ง.ด. 2 ก เฉพาะกรณีหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมิน
ประเภทที่ 4 กรณีการตั้งฎีกาเบิกเงินไม่ต้องยืนแบบ ภ.ง.ด.2
3
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6 , 7 และ 8 ได้แก่ การให้เช่าทรัพย์สินฯ วิชาชีพอิสระ การรับเหมา ธุรกิจ การพาณิชย์ ฯลฯ
- บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล (เฉพาะกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ที่จ่ายให้แก่ผู้รับที่ไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย)
- รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ภ.ง.ด. 3
ภ.ง.ด. 3
ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
-
-
ภ.ง.ด. 3
-
ภายในเดือน มกราคม ของปีถัดไป
กรณีมีการตั้งฎีกาเบิกเงินไม่ต้องยื่น
ภ.ง.ด. 3
4
ตามมาตรา 3 เตรส และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2548 (รายละเอียดปรากฏในตารางสรุปหน้าถัดไป)
ภ.ง.ด.3
(ถ้าผู้รับเงินมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.53)
ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
-
-




ตารางสรุปการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส (ปรับปรุงใหม่)
ตารางสรุปการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป.4/2548 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ล่าสุด
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 แก้ไขโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 111/2545
ข้อความที่แรเงาคือส่วนที่แก้ไขใหม่ ตามมติ ครม. วันที่ 12 มิถุนายน 2544
การจ่ายเงินต้องมีจำนวนตามสัญญา ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 1,000 บาท
ลำดับ
ที่
ประเภทเงินได้
พึงประเมิน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
ผู้ถูกหักภาษี
อัตราภาษี
ร้อยละ
แบบยื่น
รายการฯ
กำหนดเวลานำส่ง
1.
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ค่านายหน้า และค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ใน ประเทศไทย
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวล รัษฎากร)
3.0

10.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
2.
มาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่
- ดอกเบี้ยเงินฝาก
- ดอกเบี้ยตั๋วเงิน
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้
- ดอกเบี้ยพันธบัตร
ฯลฯ
- ธนาคารพาณิชย์
- บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจ
หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต
ฟองซิเอร์
- บริษัทบริหารสินทรัพย์
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน ประเทศไทย (ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ บริษัทบริหารสินทรัพย์)
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
1.0




10.0
ภ.ง.ด.53




ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
3.
มาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ
- ดอกเบี้ยพันธบัตร
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลัก ทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ บริษัทบริหารสิน
ทรัพย์)
ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ บริษัทบริหารสินทรัพย์)
1.0
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
4.
มาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ
- ดอกเบี้ยพันธบัตร
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้
- ดอกเบี้ยตั๋วเงิน
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมาย ดังกล่าว
- ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้าหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่าย ครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย (ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ )
(4) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
1.0




10.0
ภ.ง.ด.53




ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของ
เดือน ที่จ่ายเงิน
5.
เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใด ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- กองทุนรวม (เดิม)
- สถาบันการเงินที่มีกฎหมาโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม (ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า)
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของ ต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ไม่รวมถึงบริษัทจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม)
10.0

10.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
6.
ค่าเช่า หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ค่าเช่าอาคาร บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ฯลฯ (แต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือ โรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิและค่าเช่าตามสัญญา ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามคำสั่ง ท.ป.34/2534)
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.0

10.0

5.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
ค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์
นาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.0

1.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
7.
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
- กฎหมาย
- การประกอบโรศิลป
- สถาปัตยกรรม
- วิศวกรรม
- การบัญชี
- ประณีตศิลปกรรม
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย
(2) มูลนิธิหรือสมาคม (ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ)
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนา หรืออยู่ในประเทศไทย
3.0

10.0

3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
8.
ค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม
- มาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากร (การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ)
- มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร การรับจ้างทำของ
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี
สำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.0

3.0


3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53


ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
9.
ค่าจ้างทำของ
- บุคคล
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมิได้มี
สำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย
5.0
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
10.
รางวัลในการประกวด
การแข่งขัน การชิงโชค
การอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.0
5.0
ภ.ง.ด.53
ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
11.
ค่าแสดงให้แก่นักแสดงสาธารณะได้แก่
นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์
นักร้อง นักดนตรี
นักกีฬา อาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
(1) ผู้มีเงินได้ มีภูมิลำเนาอยู่ใน ต่างประเทศ


(2) ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
อัตราภาษี
เงินได้
หรือ 10.0 ตามกฎ
กระทรวง ฉบับที่ 238
5.0
ภ.ง.ด.3






ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
12.
ค่าโฆษณา
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.0
2.0
ภ.ง.ด.53
ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
13.
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการ แต่ไม่รวมถึง
(1) การจ่ายเงินได้ตาม 8. 9. 11. 12. 15. ซึ่งกำหนดให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้โดย เฉพาะแล้ว
(2) การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ
(3) การจ่ายค่าบริการโรงแรมและภัตตาคาร
(4) การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.0

3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
14.
รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(ไม่รวมผู้รับที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะนำไปขายต่อไป)
3.0

3.0
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
15.
ค่าเบี้ยประกันวินาศ ภัย
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการ วินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
ในประเทศไทย
1.0
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
16.
ค่าขนส่งแต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการ
ขนส่งสาธารณะ
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล
- นิติบุคคลอื่น
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้
(แต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตาม กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์)
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทย (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม)
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
1.0

1.0
0.75
ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3
ภ.ง.ด.53
นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงิน
17.
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการซื้อขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เว้นแต่ การซื้อสินค้าประเภทยางแผ่นหรือยางชนิดอื่นจากต้นยางพารา มันสำปะหลัง ปอ ข้าว ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต
หมายเหตุ มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ ที่ไม่อยู่ในข่ายต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถาน สาธารณกุศล ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร



5 ความคิดเห็น:


  1. รับเงินกู้วันนี้ที่อัตราต่ำนำไปใช้ในขณะนี้เงินให้กู้ยืมจะได้รับในอัตรา 2% ใช้ตอนนี้สามารถเพิ่มธุรกิจของคุณให้มากขึ้น เราจะนำเสนอสินเชื่อเพื่อธุรกิจและบุคคลถ้าคุณต้องการสินเชื่อเพื่อเริ่มต้นธุรกิจหรือเงินกู้เพื่อชำระค่าใช้จ่ายจะติดต่อเราผ่านทาง (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com) และได้รับเงินกู้จาก บริษัท ของเรา ... ฉันให้บริการสินเชื่อที่ดีที่สุด

    ข้อเสนอเงินกู้.

    ตอบลบ
  2. คุณต้องการเงินกู้เร่งด่วนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจที่ดีหรือเพื่อชำระหนี้ของคุณหรือไม่? ผู้สนใจสามารถติดต่อเราได้ที่ (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    ข้อเสนอเงินกู้.

    ตอบลบ
  3. รับเงินกู้วันนี้ที่อัตราต่ำนำไปใช้ในขณะนี้เงินให้กู้ยืมจะได้รับในอัตรา 2% ใช้ตอนนี้สามารถเพิ่มธุรกิจของคุณให้มากขึ้น เราจะนำเสนอสินเชื่อเพื่อธุรกิจและบุคคลถ้าคุณต้องการสินเชื่อเพื่อเริ่มต้นธุรกิจหรือเงินกู้เพื่อชำระค่าใช้จ่ายจะติดต่อเราผ่านทาง (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com) และได้รับเงินกู้จาก บริษัท ของเรา ... ฉันให้บริการสินเชื่อที่ดีที่สุด

    ข้อเสนอเงินกู้.

    ตอบลบ
  4. สวัสดี !

    คุณต้องการบริการสินเชื่อที่ถูกกฎหมายและรวดเร็วหรือไม่?

    สมัครตอนนี้และรับเงินของคุณโดยด่วน!

    * ตำแหน่งระหว่าง 5,000 ถึง 50 ล้าน
    * เลือกระหว่าง 1 ถึง 30 ปีเพื่อชำระคืน
    * เงื่อนไขเงินกู้ที่ยืดหยุ่น
    ติดต่อเราทางอีเมล: thompson.loanservice@gmail.com

    ทั้งหมดนี้และอื่น ๆ โปรดติดต่อเรา
    ชื่อเต็ม: ..........
    หมายเลขโทรศัพท์:.......
    รายได้ต่อเดือน: .............
    ประเทศ ...............................
    วัตถุประสงค์ในการกู้ ...........
    จำนวนที่ต้องการ .................
    สถานะสินเชื่อ ............
    ระยะเวลา: ...........................
    ติดต่อเราทางอีเมล: thompson.loanservice@gmail.com
    การจัดการ
    ติดต่อเครดิตรวดเร็วตอนนี้ !!!

    ตอบลบ
  5. นี่คือประกาศสาธารณะสำหรับทุกคนที่ต้องการขายไตเรามีผู้ป่วยที่ต้องการการปลูกถ่ายไตดังนั้นหากคุณสนใจที่จะขายไตโปรดติดต่อเราทางอีเมลของเราที่ iowalutheranhospital@gmail.com
    นอกจากนี้คุณยังสามารถโทรหรือเขียนถึงเราได้ที่ whatsapp ที่ +1 515 882 1607

    หมายเหตุ: รับประกันความปลอดภัยของคุณและผู้ป่วยของเราได้ตกลงที่จะจ่ายเงินจำนวนมากให้กับทุกคนที่ตกลงที่จะบริจาคไตเพื่อช่วยพวกเขา เราหวังว่าจะได้ยินจากคุณเพื่อให้คุณสามารถช่วยชีวิต

    ตอบลบ