เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย
เนื้อนาจันทร์
นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
บทที่ 4 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Corporate Income Tax (CIT)
ขอบเขตเนื้อหา
|
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
1.
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษีเงินได้นิติบุคคลตลอดจนหลักการและ
วิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.
เพื่อให้นักศึกษาสามารถคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้อย่างถูกต้อง
3.
เพื่อให้นักศึกษาสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลได้อย่างถูกต้อง
|
ภาษีเงินได้นิติบุคคล Corporate Income Tax (CIT)
เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากรและเป็นภาษีทางตรง และเป็นภาษีอากรประเมิน
จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ
ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
นิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
นิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1.
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
2.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3.
บริษัทจำกัด
4.
บริษัท(มหาชน) จำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล คือ
ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว
โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น
2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน
ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย(เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้
1.
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2.
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปประสงค์จะประกอบกิจการในรูปของ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
ผู้เป็นห้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจะต้องตกลงแต่งตั้งผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด
กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มีหน้าที่ ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี
ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี
แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคลต่อกรมสรรพากร
บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วย การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2538
บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วย การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2538
โครงสร้างของ
"บริษัทจำกัด"
1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน
อย่างน้อย 3 คน
2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น
และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า
5 บาท
4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด
(เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
จะต้องดำเนินการจดทะเบียน
2 ขั้นตอน ดังนี้คือ
1.
การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
2.
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ในการดำเนินการขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก็เช่นเดียวกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
โดยผู้เริ่มก่อการทั้งหมดซึ่งต้องมีอย่างน้อย 3 คน ต้องให้ผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการขอจดทะเบียน ทำหน้าที่ดำเนินการขอทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่บริษัทนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัททั้งหมดมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจนครบ เมื่อมีผู้เข้าจองซื้อหุ้นจนครบแล้ว ผู้เริ่มก่อการจะออกหนังสือนัดประชุมส่งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนเพื่อเรียกประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมเช่นนี้เรียกว่า การประชุมตั้งบริษัท หนังสือนัดประชุมนี้จะต้องออกก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัททั้งหมดมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจนครบ เมื่อมีผู้เข้าจองซื้อหุ้นจนครบแล้ว ผู้เริ่มก่อการจะออกหนังสือนัดประชุมส่งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนเพื่อเรียกประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมเช่นนี้เรียกว่า การประชุมตั้งบริษัท หนังสือนัดประชุมนี้จะต้องออกก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
บริษัทมหาชนจำกัด ถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
สามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้
และประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่. และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวันผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด
(มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์
กฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นต่อประชาชนจะถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ.2535 โดยมีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คอยกำกับดูแล
โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น
Plc หรือ PLC (Public Limited Company) เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภท private
หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Private
Company Limited) บริษัทมหาชนถูกกำหนดให้ต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1. มีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15 คน
2. มีกรรมการบริษัทขั้นต่ำ 5 คน
3. ไม่ได้จำกัดทุนจดทะเบียนว่าจะเป็น 1.0 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท ฯลฯ ก็เป็นบริษัทมหาชนได้ทั้งนั้น
4. บริษัทจำกัดในประเทศไทยสามารถที่จะแปรสภาพบริษัทของตัวเองให้เป็นบริษัทมหาชนได้ด้วยมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
5. บริษัทมหาชน สามารถจะออกขายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หุ้นกู้ ฯลฯให้กับนักลงทุนได้
6. การขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
1. มีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15 คน
2. มีกรรมการบริษัทขั้นต่ำ 5 คน
3. ไม่ได้จำกัดทุนจดทะเบียนว่าจะเป็น 1.0 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท ฯลฯ ก็เป็นบริษัทมหาชนได้ทั้งนั้น
4. บริษัทจำกัดในประเทศไทยสามารถที่จะแปรสภาพบริษัทของตัวเองให้เป็นบริษัทมหาชนได้ด้วยมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
5. บริษัทมหาชน สามารถจะออกขายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หุ้นกู้ ฯลฯให้กับนักลงทุนได้
6. การขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
จ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
ฉ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
(3)
กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
ก. รัฐบาลต่างประเทศ
ข. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
ค. นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
ก. รัฐบาลต่างประเทศ
ข. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
ค. นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) คือ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร
การร่วมธุรกิจของธุรกิจหรือบุคคล ตั้งแต่ 2
ฝ่ายขึ้นไปที่มีผู้ร่วมค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ทำสัญญาที่จะร่วมทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน
ทรัพย์สิน ที่ดิน อาคาร การผลิต เทคโนโลยี บุคลากร
หรืออื่นๆภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้า โดยมีการกำหนดวัตุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน
เช่น การผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือดำเนินโครงการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน
โดยมีการกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้น สิทธิความเป็นเจ้าของ หน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ
รวมถึงการแบ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน
ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
หรือหากเกิดผลกำไรก็จะจัดสรรผลโยชน์ตามสัดส่วนของการลงทุน
โดยในการร่วมค้านั้นจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล เช่น
ก. บริษัทกับบริษัท
ข. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ค. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ง. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
จ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ฉ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
ช. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
ก. บริษัทกับบริษัท
ข. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ค. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ง. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
จ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ฉ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
ช. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
สาเหตุที่ทำให้เกิดการร่วมค้านั้น
มักจะเกิดจากความต้องการเงินลงทุนหรือทรัพยากรในการลงทุนเพิ่มขึ้น
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจ
โดยอาจเป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
หรือเป็นธุรกิจที่แสวงหาเทคโนโลยีวิทยาการใหม่ๆที่ทันสมัย
ทั้งนี้เพื่อยกระดับหรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานหรือมีความต้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่โดยการไปร่วมทุน
โดยทั่วไปธุรกิจที่จะเข้ามาร่วมค้านั้นจะเป็นธุรกิจที่มีสถานะแตกต่าง
เพราะหากอยู่ในสถานะเดียวกันหรือเท่าเทียมกันมักจะเป็นคู่แข่งกันมากกว่า
โดยธุรกิจที่จะทำการร่วมค้าอาจจะอยู่ในประเทศเดียวกันหรือต่างประเทศก็ได้
คำว่า” กิจการร่วมค้า”นั้นไม่มีการบัญญัติไว้ในประมาวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จึงไม่ใช่นิติบุคคลตามประมาวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และไม่ต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่” กิจการร่วมค้า” เป็นหน่วยภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
จึงต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในนามกิจการร่วมค้า
แยกต่างหากจากผู้ร่วมค้าทั้งสองฝ่าย
กิจการร่วมค้าตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ได้ตกลงเข้าร่วมทุนกันไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงานหรือเทคโนโลยี หรือร่วมกันในผลกำไรหรือขาดทุนอันจะพึงได้ตามสัญญาที่กระทำร่วมกันกับบุคคลภายนอก หรือ
(2) ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยระบุไว้ในสัญญาว่า เป็นกิจการร่วมค้า
(3) ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยสัญญากำหนดให้ต้องรับผิดร่วมกันในงานที่ทำไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องรับค่าตอบแทนตามสัญญาร่วมกันโดยสัญญาไม่ได้แบ่งแยกงานและ ค่าตอบแทนระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน
กิจการร่วมค้าตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ได้ตกลงเข้าร่วมทุนกันไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงานหรือเทคโนโลยี หรือร่วมกันในผลกำไรหรือขาดทุนอันจะพึงได้ตามสัญญาที่กระทำร่วมกันกับบุคคลภายนอก หรือ
(2) ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยระบุไว้ในสัญญาว่า เป็นกิจการร่วมค้า
(3) ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยสัญญากำหนดให้ต้องรับผิดร่วมกันในงานที่ทำไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องรับค่าตอบแทนตามสัญญาร่วมกันโดยสัญญาไม่ได้แบ่งแยกงานและ ค่าตอบแทนระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน
กิจการค้าร่วมหรือ กิจการร่วมทำ (Consortium)
คือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป
เพื่อดำเนินกิจการหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์
คือการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจ
แต่ละฝ่ายจะใช้ความสามารถและความชำนาญในการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จตามโครงการและมีการแบ่งแยกการทำงานและแบ่งแยกค่าตอบแทนระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน
โดยต่างฝ่ายต่างออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะบริษัทของตน
สัญญากิจการค้าร่วมเป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น
เพราะแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบเฉพาะในส่วนของตน
ไม่มีการร่วมทุนหรือแบ่งผลกำไรหรือขาดทุนระหว่างกัน
เมื่องานเสร็จสิ้นแล้วก็จะยุติลงเหมืนอกับกิจการร่วมค้า
กิจการร่วมค้าไม่มีชื่อเรียกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายรัษฎากร
จึงไม่ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
แต่มีการเสียภาษีจากกำไรของแต่ละบริษัทนั่นเอง
Consortium จะมีลักษณะแตกต่างจาก Joint Venture กล่าวคือ
สมาชิกของ Consortium
นั้นจะมีการแบ่งแยกงานและเงินที่สมาชิกแต่ละคนจะได้รับจากเจ้าของโครงการ
จะมีการร่วมกันก็เพียงแต่มาลงนามในสัญญาฉบับเดียวกันที่ทำกับเจ้าของโครงการเท่านั้นเอง
โดย Consortium
นั้นไม่ได้เป็นหน่วยภาษีแยกต่างหากจากผู้เป็นสมาชิกของ Consortium
จึงกล่าวได้ว่า
Consortium นั้นสมาชิกแต่ละคนจะได้รับเงินในส่วนของงานที่ตนทำ
จะกำไรหรือขาดทุนก็เป็นเรื่องของตน ไม่มีการไปรวมกับกำไรหรือขาดทุนของสมาชิก Consortium รายอื่นและสมาชิก Consortium
แต่ละรายก็จะเสียภาษีโดยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีของตนแยกแต่ละรายไป
ส่วนในแง่ความรับผิดนั้น
สมาชิกของกิจการร่วมค้าจะรับผิดร่วมกันต่อเจ้าของโครงการ แต่ Consortium นั้น
โดยปกติต่างคนต่างรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่เป็นงานของตน
แต่หากเจ้าของโครงการต้องการให้สมาชิกของ Consortium
รับผิดชอบร่วมกันทั้งหมดก็ตกลงกันได้
คำว่า Consortium
นั้นไม่มีการบัญญัติไว้ทั้งในประมาวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลรัษฎากร
จึงไม่ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากไม่ใช่หน่วยภาษีที่แยกต่างหากจากสมาชิก Consortium
(5)
มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
(6) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(6) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1.2.
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
1. นิติบุคคลอื่นๆ
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ
ของรัฐบาลหรือนิติบุคคลอาคารชุด สหกรณ์ สหภาพแรงงาน สภาองค์นายจ้าง/ลูกจ้าง
มหาวิทยาลัยเอกชน โรงเรียนเอกชนในระบบ รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟท.)
รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น
สถาบันการบินพลเรือนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยระเบียบข้อบังคับ เช่น โรงงานยาสูบ โรงพิมพ์ตำรวจ
รัฐวิสาหกิจที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่
รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นในรูปบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด เช่น
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแปลงสภาพตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แปลงสภาพมาจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) แปลงสภาพมาจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
2. มูลนิธิ หรือสมาคม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกำหนดให้เป็นองค์การสาธารณกุศล
3. นิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ เช่น ได้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(3) บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา เช่น
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 300) พ.ศ. 2539 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เป็นจำนวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่เสียไปในต่างประเทศ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทย ส่วนที่คำนวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแต่ละประเทศ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ต้องเสียภาษีเงินได้ในต่างประเทศ เนื่องจากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแล้ว
(2) ต้องไม่นำภาษีเงินได้ที่ได้เสียไปในต่างประเทศ ซึ่งไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทย ส่วนที่คำนวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแต่ละประเทศ ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
(3) ต้องมีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีในต่างประเทศที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีเงินได้ของต่างประเทศรับรองเก็บไว้เพื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ
(4) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแปลงสภาพตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แปลงสภาพมาจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) แปลงสภาพมาจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
2. มูลนิธิ หรือสมาคม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกำหนดให้เป็นองค์การสาธารณกุศล
3. นิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ เช่น ได้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(3) บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา เช่น
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 300) พ.ศ. 2539 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เป็นจำนวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่เสียไปในต่างประเทศ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทย ส่วนที่คำนวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแต่ละประเทศ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ต้องเสียภาษีเงินได้ในต่างประเทศ เนื่องจากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแล้ว
(2) ต้องไม่นำภาษีเงินได้ที่ได้เสียไปในต่างประเทศ ซึ่งไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทย ส่วนที่คำนวณจากเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศแต่ละประเทศ หรือจากเงินได้ที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศแต่ละประเทศ ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
(3) ต้องมีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีในต่างประเทศที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีเงินได้ของต่างประเทศรับรองเก็บไว้เพื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ
(4) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(5) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด
3 ในลักษณะ 2
แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้จากการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
ให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่ประเทศนั้นได้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกรณีดังกล่าว ให้แก่รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยที่ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
ไว้ก่อน พ.ศ. 2527
ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน”
“พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500”
2. รอบระยะเวลาบัญชี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ (โดยปกติมักกำหนด 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ) กรณีจดทะเบียนใหม่ถือการยื่นแบบของรอบบัญชีแรกเป็นเกณฑ์ เช่น จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 รอบระยเวลาบัญชีแรก 12 เดือน คือ 1 กุมภาพันธ์ 2559 สิ้นสุด 31 มกราคม 2560 ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีต่อๆไป คือ 1 กุมภาพันธ์ สิ้นสุด 31 มกราคม ของทุกๆปี
2. รอบระยะเวลาบัญชี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ (โดยปกติมักกำหนด 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ) กรณีจดทะเบียนใหม่ถือการยื่นแบบของรอบบัญชีแรกเป็นเกณฑ์ เช่น จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 รอบระยเวลาบัญชีแรก 12 เดือน คือ 1 กุมภาพันธ์ 2559 สิ้นสุด 31 มกราคม 2560 ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีต่อๆไป คือ 1 กุมภาพันธ์ สิ้นสุด 31 มกราคม ของทุกๆปี
(2) รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า
12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้
มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน เช่น จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
หากต้องการให้รอบระยเวลาบัญชีแรกน้อยกว่า 12 เดือน ก็สามารถกำหนดได้ เช่น
1 กุมภาพันธ์ 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 เป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก(11เดือน)
ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีต่อๆไป คือ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกๆปี (12เดือน)
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตาม (ค) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
(3) รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถชำระบัญชีและยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว สามารถยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก กรณีนี้อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน เช่น จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
หากต้องการให้รอบระยเวลาบัญชีแรกน้อยกว่า 12 เดือน ก็สามารถกำหนดได้ เช่น
1 กุมภาพันธ์ 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 เป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก(11เดือน)
ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีต่อๆไป คือ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกๆปี (12เดือน)
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตาม (ค) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
(3) รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถชำระบัญชีและยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว สามารถยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก กรณีนี้อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)
อย่างไรก็ตาม บริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถยื่นคำร้องต่ออธิบดักรมสรรพากรเพื่อขอเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชีได้โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
การขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
(1.)
ให้ผู้ขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
โดยให้ชี้แจงเหตุผล ข้อเท็จจริง
พร้อมกับแนบหลักฐานความเห็นชอบให้เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจากที่ประชุมกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
(2.) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงมีดังนี้
(2.) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงมีดังนี้
(ก) ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50
และงบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนปีที่ขอเปลี่ยน 1 รอบระยะเวลาบัญชี
(ข) เคยได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีมาแล้วหรือไม่ ถ้าเคยได้รับอนุมัติมาแล้ว ได้รับอนุมัติครั้งสุดท้ายเมื่อใด เพื่อป้องกันมิให้เป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
(ค) วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ขอเปลี่ยน ควรเป็นวันสุดท้ายของปีประดิทิน
(ง) กรณีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีอาจจะไม่เป็นวันสุดท้ายของปีประดิทินได้ เช่น เป็นไปตามฤดูกาลของผลิตผล หรือให้สอดคล้องกับวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ หรือให้สอดคล้องกับวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน หรือตามความจำเป็นอื่น ๆ เฉพาะราย
(จ) ไม่อนุมัติให้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนอัตราภาษีซึ่งมีผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลชำระภาษีน้อยลง เว้นแต่จะมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ
(ข) เคยได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีมาแล้วหรือไม่ ถ้าเคยได้รับอนุมัติมาแล้ว ได้รับอนุมัติครั้งสุดท้ายเมื่อใด เพื่อป้องกันมิให้เป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
(ค) วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ขอเปลี่ยน ควรเป็นวันสุดท้ายของปีประดิทิน
(ง) กรณีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีอาจจะไม่เป็นวันสุดท้ายของปีประดิทินได้ เช่น เป็นไปตามฤดูกาลของผลิตผล หรือให้สอดคล้องกับวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ หรือให้สอดคล้องกับวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน หรือตามความจำเป็นอื่น ๆ เฉพาะราย
(จ) ไม่อนุมัติให้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนอัตราภาษีซึ่งมีผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลชำระภาษีน้อยลง เว้นแต่จะมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ
3. ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1) จากฐานกำไรสุทธิ (มาตรา 65)
(2) จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย (มาตรา 67 )
(3) จากเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
(4) จากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ)
ข้อสังเกต
(1)
กำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้แล้ว หากมีการจำหน่ายกำไรที่เหลืออยู่ออกไปนอกประเทศ
ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานการจำหน่ายกำไรอีกครั้งหนึ่ง เช่น สาขาส่งกำไรไปให้สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ
เป็นต้น แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายหรือฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
ไม่ต้องเสียภาษีจากฐานการจำหน่ายกำไรอีกครั้งแม้จะส่งเงินที่เหลือไปต่างประเทศ
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ (มาตรา 65 )
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ
ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก
กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ
และมาตรา 65 ตรี
เหลือกำไรสุทธิเท่าใด คูณ ด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะได้เท่ากับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ สำหรับรอบบัญชีนั้น กรณีรายจ่ายมากกว่ารายได้ จะได้ผลขาดทุนสุทธิซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เหลือกำไรสุทธิเท่าใด คูณ ด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะได้เท่ากับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ สำหรับรอบบัญชีนั้น กรณีรายจ่ายมากกว่ารายได้ จะได้ผลขาดทุนสุทธิซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
กำไรสุทธิ = รายได้ – รายจ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรสุทธิ x อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
การบันทึกรายได้, รายจ่ายเพื่อการเสียภาษี
ให้ใช้เกณฑ์สิทธิและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี
มีรายจ่ายบางประเภทเป็นรายจ่ายต้องห้าม ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิทางภาษี
เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น
รายได้บางอย่างยกเว้นภาษี เช่น เงินปันผล (บจ.ไทย ได้รับจาก บจ.ไทย) ทางภาษียกเว้น กึ่งหนึ่ง แต่ทางบัญชีต้องรับรู้เป็นรายได้ทั้งหมด
บางอย่างทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่ทางภาษีถือเป็นรายได้ เช่น บ.ให้ผู้อื่นกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย ทางภาษีต้องคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายได้ แต่ทางบัญชีไม่เป็นรายได้
รายจ่ายบางอย่างทางบัญชีลงจ่ายทั้งหมด แต่ทางภาษีไม่ถือเป็นรายจ่าย หรือ หักได้บางส่วน รายจ่ายบางอย่างทางภาษี หัก ได้มากกว่าที่จ่าย เช่น เงินบริจาค ถือเป็นรายจ่าย ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ แต่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน ผลขาดทุนจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อน 5 รอบ นำมาหักจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันได้ แต่ทางบัญชีไม่ได้นำมาหัก เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา หัก ได้ 2 เท่า ของที่จ่ายจริง แต่ทางบัญชีหักได้เท่าเดียว
รายได้บางอย่างยกเว้นภาษี เช่น เงินปันผล (บจ.ไทย ได้รับจาก บจ.ไทย) ทางภาษียกเว้น กึ่งหนึ่ง แต่ทางบัญชีต้องรับรู้เป็นรายได้ทั้งหมด
บางอย่างทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่ทางภาษีถือเป็นรายได้ เช่น บ.ให้ผู้อื่นกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย ทางภาษีต้องคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายได้ แต่ทางบัญชีไม่เป็นรายได้
รายจ่ายบางอย่างทางบัญชีลงจ่ายทั้งหมด แต่ทางภาษีไม่ถือเป็นรายจ่าย หรือ หักได้บางส่วน รายจ่ายบางอย่างทางภาษี หัก ได้มากกว่าที่จ่าย เช่น เงินบริจาค ถือเป็นรายจ่าย ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ แต่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน ผลขาดทุนจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อน 5 รอบ นำมาหักจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันได้ แต่ทางบัญชีไม่ได้นำมาหัก เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา หัก ได้ 2 เท่า ของที่จ่ายจริง แต่ทางบัญชีหักได้เท่าเดียว
4.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
ได้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วน จำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผู้จ้างเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าว
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วน จำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผู้จ้างเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าว
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
4.2
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก
กำไรสุทธิ โดยคำนวณจากรายได้ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ดังนี้
กำไรสุทธิ โดยคำนวณจากรายได้ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ดังนี้
กำไรสุทธิ = รายได้ หัก
รายจ่าย(ตามเงื่อนไข ม. 65 ทวิ,
65 ตรี)
การคำนวณรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้นและ ให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลา บัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของ รอบระยะ เวลาบัญชีนั้น
ในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดี เพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ์ และวิธีการทางบัญชี เพื่อคำนวณราย ได้และรายจ่ายตามเกณฑ์อื่นก็ได้และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้วให้ถือ ปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดี กำหนดเป็นต้นไป
การคำนวณรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้นและ ให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลา บัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของ รอบระยะ เวลาบัญชีนั้น
ในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดี เพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ์ และวิธีการทางบัญชี เพื่อคำนวณราย ได้และรายจ่ายตามเกณฑ์อื่นก็ได้และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้วให้ถือ ปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดี กำหนดเป็นต้นไป
4.3
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ (ด้านรายได้)
รายได้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึง "
เงินได้พึงประเมิน " ตาม มาตรา 39 ได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ แยกเป็น 2 ส่วนคือ
รายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการ ได้แก่ รายได้จากการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ เช่น รายได้จากธุรกิจทั่วไปเช่น (รายได้จากการขายและหรือรายได้จากการให้บริการ) รายได้ของธุรกิจธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน รายได้ของธุรกิจประกันชีวิตและหรือธุรกิจประกันวินาศภัย รายได้ของธุรกิจคลังสินค้า ฯลฯ
รายได้อื่น ได้แก่ รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ แต่เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการดำเนินงานของกิจการ เช่น ขายสินทรัพย์. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินที่ได้รับจากการช่วยเหลือจากบริษัทแม่ ภาษีที่ผู้อื่นออกแทน ส่วนลดจากการปลดหนี้ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร เงินชดเชยค่าภาษีอากร เป็นต้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย จะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ มาเสียภาษีในประเทศไทย ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ให้นำรายได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น มาเสียภาษีในประเทศไทย ส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นนอกประเทศ ไม่ต้องนำมาเสียภาษีในประเทศไทย
รายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการ ได้แก่ รายได้จากการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ เช่น รายได้จากธุรกิจทั่วไปเช่น (รายได้จากการขายและหรือรายได้จากการให้บริการ) รายได้ของธุรกิจธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน รายได้ของธุรกิจประกันชีวิตและหรือธุรกิจประกันวินาศภัย รายได้ของธุรกิจคลังสินค้า ฯลฯ
รายได้อื่น ได้แก่ รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ แต่เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการดำเนินงานของกิจการ เช่น ขายสินทรัพย์. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินที่ได้รับจากการช่วยเหลือจากบริษัทแม่ ภาษีที่ผู้อื่นออกแทน ส่วนลดจากการปลดหนี้ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร เงินชดเชยค่าภาษีอากร เป็นต้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย จะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ มาเสียภาษีในประเทศไทย ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ให้นำรายได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น มาเสียภาษีในประเทศไทย ส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นนอกประเทศ ไม่ต้องนำมาเสียภาษีในประเทศไทย
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติตามมาตรา 65 ทวิ ซึ่งมีราย ละเอียดดังนี้
65 ทวิ (1) รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย(รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี ดูรายละเอียดในลำดับถัดไป)
65 ทวิ (2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145 ) ดูรายละเอียดในลำดับถัดไป)
65 ทวิ (3) การตีราคาทรัพย์สิน
ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจากราคาสินค้าคงเหลือ ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ และในกรณีที่มีการ ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิส่วนทรัพย์สินรายการใด มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลัก เกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นโดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุน ที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น
65 ทวิ (1) รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย(รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี ดูรายละเอียดในลำดับถัดไป)
65 ทวิ (2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145 ) ดูรายละเอียดในลำดับถัดไป)
65 ทวิ (3) การตีราคาทรัพย์สิน
ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจากราคาสินค้าคงเหลือ ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ และในกรณีที่มีการ ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิส่วนทรัพย์สินรายการใด มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลัก เกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นโดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุน ที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น
ตัวอย่าง เครื่องจักรราคาทุน
2,000,000 ราคาตลาดเท่ากับ 3,000,000
ในทางบัญชีกิจการสามารถเลือกปฏิบัติว่าจะตีราคาด้วยราคาทุนเดิมหรือราคาตลาดคือหากมีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มเป็น3,000,000
การตีราคาเพิ่ม 1,000,000 ไม่ถือเป็นกำไรทั้งทางบัญชีและทางภาษีอากร
กรณีการตีราคาต่ำลงก็ไม่ถือเป็นผลขาดทุน การคิดค่าเสื่อมราคาก็จะคิดจาก 2,000,000
เท่านั้น
จากบทบัญญัติข้างต้น
สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
(1.)
หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินอื่นที่มิใช่สินค้าคงเหลือการวัดมูลค่าของทรัพย์สินต่างๆ
ซึ่งประกอบด้วย สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ในทางบัญชีจะใช้ราคาทุนเดิม(Historical
Cost) ซึ่งเป็นราคาที่มีความชัดเจนแน่นอน มีหลักฐานการซื้อ
ขายสามารถพิสูจน์ได้ และราคาทุนนี้จะพิจารณาจากรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เพื่อให้ได้สินทรัพย์นั้น พร้อมที่จะใช้งานได้
ในทางกฎหมายภาษีก็ใช้ราคาทุนเดิมเช่นกัน
(2.) หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นมิได้ห้ามการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น แต่ห้ามนำส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้น ไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และห้ามนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่เกิดจากการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ฉะนั้น การคิดค่าเสื่อมราคาให้คิดค่าเสื่อมราคาจากราคาทุนเดิม โดยไม่รวมมูลค่าที่ตีเพิ่มขึ้น และการคิดค่าเสื่อมราคาให้คิดตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
(3) การตีราคาลดของสินทรัพย์อื่นนอกจากสินค้าคงเหลือตามมาตรา65 ตรี (17)แห่งประมวลรัษฎากรมีสาระสำคัญคือเป็นข้อห้ามมิให้ตีราคาทรัพย์สินลดลง เพื่อนำมูลค่าที่ลดลงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีจากข้อความข้างต้นเป็นการห้ามนำส่วนที่ตีราคาลดลงของสินทรัพย์อื่นนอกจากสินค้าคงเหลือมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี เพราะการที่กิจการจะตีราคาทรัพย์สินลดลง โดยยังมิได้มีการขายทรัพย์สินจริง รายการผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินลดลงจึงเป็รายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น จริง (Unrealized Loss) อีกทั้ง เป็นการตีราคาโดยผู้ประกอบการแต่ฝ่ายเดียว จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ภายหลังการรับรู้มูลค่าเริ่มแรก ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานการบัญชีและประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องโดยจะแบ่งกล่าวเป็นกรณีดังนี้กรณีที่ 1การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัด
กรณีที่ 2การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานจำกัด
กรณีที่ 1การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัด
ตัวอย่างที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 บริษัท ขอนแก่น จำกัด ซื้อ ที่ดินมูลค่า1,000,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลค่ายุติธรรมที่ได้จากการประเมินราคาที่ดิน 1,500,000 บาท กิจการมีนโยบายบัญชีเกี่ยวกับที่ดินคือแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กิจการจึงต้องปรับปรุงรายการที่ดิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ดังนี้ (รอบระยะเวลารายงาน คือ1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
เดบิต ที่ดิน 500,000
เครดิต ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 500,000
(2.) หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นมิได้ห้ามการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น แต่ห้ามนำส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้น ไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และห้ามนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่เกิดจากการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ฉะนั้น การคิดค่าเสื่อมราคาให้คิดค่าเสื่อมราคาจากราคาทุนเดิม โดยไม่รวมมูลค่าที่ตีเพิ่มขึ้น และการคิดค่าเสื่อมราคาให้คิดตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
(3) การตีราคาลดของสินทรัพย์อื่นนอกจากสินค้าคงเหลือตามมาตรา65 ตรี (17)แห่งประมวลรัษฎากรมีสาระสำคัญคือเป็นข้อห้ามมิให้ตีราคาทรัพย์สินลดลง เพื่อนำมูลค่าที่ลดลงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีจากข้อความข้างต้นเป็นการห้ามนำส่วนที่ตีราคาลดลงของสินทรัพย์อื่นนอกจากสินค้าคงเหลือมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี เพราะการที่กิจการจะตีราคาทรัพย์สินลดลง โดยยังมิได้มีการขายทรัพย์สินจริง รายการผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินลดลงจึงเป็รายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น จริง (Unrealized Loss) อีกทั้ง เป็นการตีราคาโดยผู้ประกอบการแต่ฝ่ายเดียว จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ภายหลังการรับรู้มูลค่าเริ่มแรก ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานการบัญชีและประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องโดยจะแบ่งกล่าวเป็นกรณีดังนี้กรณีที่ 1การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัด
กรณีที่ 2การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานจำกัด
กรณีที่ 1การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัด
ตัวอย่างที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 บริษัท ขอนแก่น จำกัด ซื้อ ที่ดินมูลค่า1,000,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลค่ายุติธรรมที่ได้จากการประเมินราคาที่ดิน 1,500,000 บาท กิจการมีนโยบายบัญชีเกี่ยวกับที่ดินคือแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กิจการจึงต้องปรับปรุงรายการที่ดิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ดังนี้ (รอบระยะเวลารายงาน คือ1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
เดบิต ที่ดิน 500,000
เครดิต ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 500,000
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้นไม่มีผลกระทบต่อการเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เนื่องจากตามหลักการบัญชีแล้วบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็น
รายการหนึ่งในส่วนของเจ้าของ
จึงมิใช่บัญชีรายได้ซึ่งเป็นไปในแนวเดียวกับตามมาตรา 65 ทวิ(3) แห่ง
ประมวลรัษฎากรที่กำหนดว่าในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
ห้ามมิให้นำราคาที่ตีเพิ่มขึ้น มารวมคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคล
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ราคายุติธรรมจากการประเมินราคาที่ดินมูลค่า
900,000 บาท กิจการจึงต้องปรับปรุงรายการที่ดินดังนี้
เดบิต ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
500,000
ขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 100,000
เครดิต ที่ดิน 600,000
การบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้นมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิทางบัญชี
จึงต้องบวกกลับด้วยรายการขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 100,000 บาท ในงบกำไรขาดทุนทางบัญชีเนื่องจากรายการขาดทุนจากการตีราคาที่ดินจำนวน 100,000 บาท ในทางหลักการบัญชีถือเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทางบัญชี
แต่ในทางภาษีอากรในมาตรา
65 ตรี (17) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่าเป็นการห้ามนำส่วนที่ตีราคาลดลงของสินทรัพย์อื่นนอกจากสินค้าคงเหลือมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี
เพราะการที่กิจการจะตีราคาทรัพย์สินลดลง โดยยังมิได้มีการขายทรัพย์สินจริง รายการผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินลดลงจึงเป็นรายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น
จริง(Unrealized Loss) อีกทั้ง เป็นการตีราคาโดยผู้ประกอบการแต่ฝ่ายเดียว
จึงถือเป็นรายจ่ายมิได้
ตัวอย่างที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 บริษัท
ขอนแก่น จำกัด ซื้อ ที่ดินมูลค่า1,000,000 บาท
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลค่ายุติธรรมที่ได้จากการประเมินราคาที่ดิน 900,000 บาท กิจการมีนโยบายบัญชีเกี่ยวกับที่ดินคือแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กิจการจึงต้องปรับปรุง
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลค่ายุติธรรมที่ได้จากการประเมินราคาที่ดิน 900,000 บาท กิจการมีนโยบายบัญชีเกี่ยวกับที่ดินคือแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กิจการจึงต้องปรับปรุง
รายการที่ดิน ณ
วันที่
31 ธันวาคม 2558 ดังนี้ (รอบระยะเวลารายงานคือ1
มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
เดบิต ขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
100,000
เครดิต ที่ดิน 100,000
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มูลค่ายุติธรรมที่ได้จากการประเมินราคาที่ดิน1,500,000
บาท การบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต ที่ดิน 600,000
เครดิต กำไรจากการตีราคาสินทรัพย์
100,000
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 500,000
การบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้นมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิ จึงต้องหักออกด้วยรายการกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์ 100,000 บาทในงบกำไรขาดทุนทางบัญชีเนื่องจากรายการกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์จำนวน
100,000บาท ในทางหลักการบัญชีถือเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนทางบัญชี แต่ในทางภาษีอากรในมาตรา 65 ทวิ (3)แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดว่าในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
ห้ามมิให้นำราคาที่ตีเพิ่มขึ้น มารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
กรณีที่ 2 การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ลด) ที่มีอายุการใช้งานจำกัด
ตัวอย่างที่ 3 วันที่ 1 มกราคม 2557 บริษัท ขอนแก่น จำกัด ซื้อเครื่องจักร
150,000 บาท บริษัทคาดว่าเครื่องจักรไม่มีมูลค่าคงเหลือ อายุการใช้งาน
6 ปี การคิดค่าเสื่อมราคาใช้วิธีเส้นตรง บริษัทใช้นโยบายบัญชีคือใช้วิธีแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติโดยให้ผู้ประเมินราคาอิสระประเมินราคาเครื่องจักรใหม่ทุกปี
ณวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ราคาประเมินเครื่องจักรเป็น
120,000 บาท เครื่องจักรนี้ป็นเครื่องจักรที่ใช้เฉพาะบริษัทนี้แห่งเดียวจึงไม่มีราคาตลาด
การคำนวณราคาตามบัญชีของเครื่องจักรณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (หน่วย:บาท)
ราคาทุน (1 ม.ค.57) 150,000
หักค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักรราคาตามบัญชี ณ 31 ธ.ค.58 50,000
ราคาตามบัญชี
ณ 31 ธ.ค.58
100,000
ราคาประเมินเครื่องจักร 31 ธ.ค.58 120,000
จะเห็นได้ว่าจากการประเมินราคาเครื่องจักรเป็นการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น
เป็นการตี
ราคาสินทรัพย์ใหม่
ตามวิธีการปรับค่าเสื่อมราคาสะสมตามสัดส่วนของราคาตามบัญชี (ก่อนหักค่า
เสื่อมราคาสะสม)
ที่เปลี่ยนไปเพื่อให้ราคาตามบัญชีที่ปรับแล้วเท่ากับราคาที่ตีใหม่ของสินทรัพย์นั้น
การ
ใช้วิธีนี้เนื่องจากเครื่องจักรนี้เป็นเครื่องจักรที่ใช้เฉพาะบริษัทนี้แห่งเดียว
วิธีการปรับค่าเสื่อมราคาสะสมตามสัดส่วนของราคาตามบัญชี
(ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม)
ที่เปลี่ยนไปการปรับปรุงบัญชีการตีราคาใหม่ของเครื่องจักร ณ.วันที่ 31ธันวาคม2558 เป็นดังนี้
เดบิต เครื่องจักร 30,000
เครดิต
ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักร 10,000
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
20,000
คำอธิบาย
ตามวิธีนี้จะต้องคำนวณหาสัดส่วนของราคาตามบัญชีที่เปลี่ยนไป
ราคาตามบัญชี
ณ 31 ธันวาคม 2558 100,000 บาท
ราคาประเมินณ 31 ธันวาคม 2558 120,000 บาท
ดังนั้น สัดส่วนของราคาตามบัญชีที่เปลี่ยนไปเพิ่มขึน้ =
(20,000
x 100) / 100,000 = 20%
ดังนั้น
ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักรเพิ่มขึ้น
= 50,000 x 20% = 10,000 บาท
จากการบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สามารถพิสูจน์ได้ว่าราคาเครื่องจักร ณ วันประเมินมีมูลค่า เท่ากับ 120,000 บาท ดังนี้
ก่อนปรับปรุง 31 ธันวาคม 2558 รายการปรับปรุง หลังปรับปรุง 31 ธ.ค.58
ราคาทุน 150,000 + 30,000 180,000
หักค่าเสื่อมราคาสะสม 50,000 + 10,000 60,000
ราคาตามบัญชี 100,000
120,000
การบันทึกบัญชีดังกล่าวข้างต้นไม่มีผลกระทบต่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากตามหลักการบัญชีแล้วบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นรายการหนึ่งในส่วนของเจ้าของ
จึงมิใช่บัญชีรายได้ซึ่งเป็นไปในแนวเดียวกับตามมาตรา 65 ทวิ(3) แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดว่าในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึน้
ห้ามมิให้นำราคาที่ตีเพิ่มขึ้น มารวมคำนวณกำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคล
อย่างไรก็ตามตามมาตรฐานการบัญชีที่ 16 (ปรับปรุง2552) เรื่อง ที่ดิน อาคาร และ
อุปกรณ์ ได้กำหนดว่าบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์จะทำการปรับปรุงโดยการโอนบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
เข้าสู่บัญชีกำไรสะสมในวันสิ้น รอบระยะเวลารายงาน
หรือจะไม่ทำการปรับปรุงโดยการโอนบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
เข้าสู่บัญชีกำไรสะสมในวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานก็ย่อมได้ ทั้งนี้
ไม่ว่ากิจการจะเลือกวิธีใดก็ตามบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์จะต้องหมดไปเมื่อกิจการขายหรือหมดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ดังกล่าว
65 ทวิ (4) การโอนทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทน
ในกรณีโอนทรัพย์สินให้บริการหรือให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การกำหนดราคาตลาด โดยทั่วไปมีดังนี้
1.โดยทั่วไป ราคาตลาด หมายถึง ราคาซื้อขายสินค้า หรือค่าบริการ หรืออัตราดอกเบี้ย ที่คู่สัญญาได้ตกลงกันโดยสุจริต เปิดเผย และเป็นอิสระ ภายใต้เงื่อนไขความมีเหตุผลอันสมควร
2.รายได้จากการประกอบกิจการโดยปกติทั่วไป ต้องมีจำนวนที่คุ้มกับต้นทุนและรายจ่ายของกิจการ เนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น วัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการมุ่งหมาย คือ กำไรสูงสุด โดยมีรายจ่ายต่ำสุด ดังนั้น ในกรณีที่มีรายการพิเศษอันจะทำให้รายได้จากการประกอบกิจการต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ประกอบการต้องสามารถแสดงเหตุผลและหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น การให้ส่วนลดการค้า หรือส่วนลดเงินสด ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนกำหนดไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีหลักฐานอนุมัติของกรรมการประกอบ
3.กรณีให้กู้ยืมเงิน อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น ได้แก่ อัตราที่กิจการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอื่น หรือกู้ยืมมาจากบุคคลภายนอก แต่ถ้ากิจการนำเงินสดในมือของตนออกให้กู้ยืม โดยมิได้มีแหล่งเงินกู้ยืมเลย ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสำหรับระยะเวลา 1 ปี เป็นเกณฑ์
ในกรณีโอนทรัพย์สินให้บริการหรือให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การกำหนดราคาตลาด โดยทั่วไปมีดังนี้
1.โดยทั่วไป ราคาตลาด หมายถึง ราคาซื้อขายสินค้า หรือค่าบริการ หรืออัตราดอกเบี้ย ที่คู่สัญญาได้ตกลงกันโดยสุจริต เปิดเผย และเป็นอิสระ ภายใต้เงื่อนไขความมีเหตุผลอันสมควร
2.รายได้จากการประกอบกิจการโดยปกติทั่วไป ต้องมีจำนวนที่คุ้มกับต้นทุนและรายจ่ายของกิจการ เนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น วัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการมุ่งหมาย คือ กำไรสูงสุด โดยมีรายจ่ายต่ำสุด ดังนั้น ในกรณีที่มีรายการพิเศษอันจะทำให้รายได้จากการประกอบกิจการต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ประกอบการต้องสามารถแสดงเหตุผลและหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น การให้ส่วนลดการค้า หรือส่วนลดเงินสด ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนกำหนดไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีหลักฐานอนุมัติของกรรมการประกอบ
3.กรณีให้กู้ยืมเงิน อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น ได้แก่ อัตราที่กิจการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอื่น หรือกู้ยืมมาจากบุคคลภายนอก แต่ถ้ากิจการนำเงินสดในมือของตนออกให้กู้ยืม โดยมิได้มีแหล่งเงินกู้ยืมเลย ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสำหรับระยะเวลา 1 ปี เป็นเกณฑ์
หลักการ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรการปราบปรามผู้ประกอบการ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน
ค่าบริการหรือดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่โอนให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อกำหนดเงินได้พึงประเมินขึ้น
เมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้ คือ
1. มีการโอนทรัพย์สิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทน แต่ค่าตอบแทนนั้นต่ำกว่าราคาตลาด
2. มีการให้บริการ โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทน แต่ค่าตอบแทนนั้นต่ำกว่าราคาตลาด
3. มีการให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยนั้นต่ำกว่าราคาตลาด
แต่การให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินนั้น มีข้อจำกัดการใช้อำนาจ คือ ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นกระทำไปโดยมีเหตุอันสมควรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจดังกล่าวนั้นไม่ได้
จากถ้อยคำตามบทบัญญัติดังกล่าว มีถ้อยคำซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันที่ควรจะต้องพิจารณาคือคำว่า “ราคาตลาด” และคำว่า “เหตุอันสมควร” ซึ่งในทางปฏิบัติมักเกิดปัญหาระหว่างผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรอยู่เสมอ เนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้นิยามถ้อยคำดังกล่าวไว้ อีกทั้งในการตีความประกอบกับในการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมินในหลักเกณฑ์ดังกล่าวที่ยังไม่แน่ชัด จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ผู้เสียภาษีต้องพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินเห็นโดยชัดแจ้งว่าธุรกรรมใดมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือให้กู้ยืมในราคาตลาด หรือหากต่ำกว่าราคาตลาดแล้วมีเหตุอันสมควรหรือไม่อย่างไร ซึ่งในเรื่องดังกล่าว กรมสรรพากรได้ตอบหนังสือข้อหารือภาษีอากรเป็นเรื่องๆ และมีแนววินิจฉัยไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาศาลฎีกา แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ดังกล่าวหลายกรณี เช่น
1. มีการโอนทรัพย์สิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทน แต่ค่าตอบแทนนั้นต่ำกว่าราคาตลาด
2. มีการให้บริการ โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทน แต่ค่าตอบแทนนั้นต่ำกว่าราคาตลาด
3. มีการให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยนั้นต่ำกว่าราคาตลาด
แต่การให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินนั้น มีข้อจำกัดการใช้อำนาจ คือ ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นกระทำไปโดยมีเหตุอันสมควรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจดังกล่าวนั้นไม่ได้
จากถ้อยคำตามบทบัญญัติดังกล่าว มีถ้อยคำซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันที่ควรจะต้องพิจารณาคือคำว่า “ราคาตลาด” และคำว่า “เหตุอันสมควร” ซึ่งในทางปฏิบัติมักเกิดปัญหาระหว่างผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรอยู่เสมอ เนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้นิยามถ้อยคำดังกล่าวไว้ อีกทั้งในการตีความประกอบกับในการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมินในหลักเกณฑ์ดังกล่าวที่ยังไม่แน่ชัด จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ผู้เสียภาษีต้องพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินเห็นโดยชัดแจ้งว่าธุรกรรมใดมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือให้กู้ยืมในราคาตลาด หรือหากต่ำกว่าราคาตลาดแล้วมีเหตุอันสมควรหรือไม่อย่างไร ซึ่งในเรื่องดังกล่าว กรมสรรพากรได้ตอบหนังสือข้อหารือภาษีอากรเป็นเรื่องๆ และมีแนววินิจฉัยไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาศาลฎีกา แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ดังกล่าวหลายกรณี เช่น
บริษัท ก. ปรับโครงสร้างของบริษัทใหม่และได้ขายที่ดินให้บริษัท
ข. ในราคา 100 ล้านบาททั้ง ๆ ที่ราคาตลาดในขณะซื้อขายกันนั้น มีราคาถึง 150 ล้านบาทเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นอีก50 ล้านบาทได้ แม้ความจริงบริษัท ก. จะได้รับเงินเพียง100 ล้านบาทก็ตาม
ความยากในการนำสืบ ของเจ้าพนักงานฯ ให้เป็นที่ยุติ ก็คือต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า กรณีมีราคาตลาดเป็นเท่าใด เพื่อนำมาเปรียบเทียบ กับราคาตามบัญชี ของผู้เสียภาษี จากนั้นจึงต้องไต่สวน เพื่อหาเหตุผลของผู้เสียภาษี ว่ามีเหตุผลอันใด ที่ท่านไม่คิดราคา หรือคิดราคาไว้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเช่นนั้น
สำหรับในกรณีของราคาตลาดเป็นเท่าใดนั้น ในทางปฏิบัติไม่ง่ายเลย เพราะมีหลายปัจจัย เช่น
- สินค้ามิได้เหมือนกันทุกประการ เช่น โทรทัศน์สี SONY 34” ทำไมจึงแพงกว่า SAMSUNG 34” เป็นต้น เพราะเป็นเหตุผล เชิงการตลาด การตั้งระดับราคา เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน คุณภาพสินค้าต่างกัน ความแข็งแกร่ง ของยี่ห้อก็ต่างกัน เป็นต้น
- สินค้ามือสอง (use products) ก็หาราคาตลาดได้ยาก เพราะสภาพการสึกหรอไม่เท่ากัน
- กรณีซื้อขาย / ให้บริการระหว่างประเทศ ความยากก็ยิ่งเป็นทวีคูณ เพราะต้องหาราคาตั้ง จากจุดฐาน ที่คิดจากประเทศอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับ shipment / invoice ที่คิดจากประเทศไทย เป็นต้น
ส่วนในประเด็น เหตุผลอันสมควร ก็ต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป ว่าผู้ขาย / ผู้ให้บริการได้ประโยชน์อะไร จากการขายราคาต่ำ อาทิ เป็นตาม promotion campaign เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น
ความยากในการนำสืบ ของเจ้าพนักงานฯ ให้เป็นที่ยุติ ก็คือต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า กรณีมีราคาตลาดเป็นเท่าใด เพื่อนำมาเปรียบเทียบ กับราคาตามบัญชี ของผู้เสียภาษี จากนั้นจึงต้องไต่สวน เพื่อหาเหตุผลของผู้เสียภาษี ว่ามีเหตุผลอันใด ที่ท่านไม่คิดราคา หรือคิดราคาไว้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเช่นนั้น
สำหรับในกรณีของราคาตลาดเป็นเท่าใดนั้น ในทางปฏิบัติไม่ง่ายเลย เพราะมีหลายปัจจัย เช่น
- สินค้ามิได้เหมือนกันทุกประการ เช่น โทรทัศน์สี SONY 34” ทำไมจึงแพงกว่า SAMSUNG 34” เป็นต้น เพราะเป็นเหตุผล เชิงการตลาด การตั้งระดับราคา เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน คุณภาพสินค้าต่างกัน ความแข็งแกร่ง ของยี่ห้อก็ต่างกัน เป็นต้น
- สินค้ามือสอง (use products) ก็หาราคาตลาดได้ยาก เพราะสภาพการสึกหรอไม่เท่ากัน
- กรณีซื้อขาย / ให้บริการระหว่างประเทศ ความยากก็ยิ่งเป็นทวีคูณ เพราะต้องหาราคาตั้ง จากจุดฐาน ที่คิดจากประเทศอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับ shipment / invoice ที่คิดจากประเทศไทย เป็นต้น
ส่วนในประเด็น เหตุผลอันสมควร ก็ต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป ว่าผู้ขาย / ผู้ให้บริการได้ประโยชน์อะไร จากการขายราคาต่ำ อาทิ เป็นตาม promotion campaign เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น
ตัวอย่าง - กรณีที่บริษัทซึ่งรับเหมาก่อสร้าง
ทำการขยายโรงกลั่นน้ำมัน ให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้าง ได้ตกลงเรียกเก็บ
ค่าดูแลรักษาดูแลเครื่องจักร และวัสดุสำหรับใช้ในการก่อสร้างดังกล่าว
แทนกลุ่มผู้ให้กู้ในต่างประเทศ โดยมิได้คิดค่าตอบแทนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณี
ที่มีเหตุอันสมควร เพราะบริษัทผู้รับจ้างได้รับประโยชน์
ตามสัญญารับเหมาก่อสร้างอยู่แล้ว เจ้าพนักงานประเมิน จึงมิอาจใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4)
(กค 0802/1193 ลว. 26
ม.ค. 2530)
-สำนักงานภูมิภาคของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งกระทำกิจการในประเทศไทย โดยการให้บริการต่างๆ แก่ผู้อื่นหรือบริษัทในเครือ โดยไม่มีค่าตอบแทน นั้น ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินค่าบริการนั้น ตามราคาตลาด ในวันที่ให้บริการได้ ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (4) (กค 0802/พ.1496 ลว. 25 ม.ค. 2537)
อย่างไรก็ดี หากการขายทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาดนั้นมีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานก็ไม่มีอำนาจประเมินราคาซื้อขายทรัพย์สินนั้นตามราคาตลาด ซึ่งกรณีอย่างไรจึงจะถือว่ามีเหตุอันสมควรนั้นย่อมจะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น
-สำนักงานภูมิภาคของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งกระทำกิจการในประเทศไทย โดยการให้บริการต่างๆ แก่ผู้อื่นหรือบริษัทในเครือ โดยไม่มีค่าตอบแทน นั้น ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินค่าบริการนั้น ตามราคาตลาด ในวันที่ให้บริการได้ ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (4) (กค 0802/พ.1496 ลว. 25 ม.ค. 2537)
อย่างไรก็ดี หากการขายทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาดนั้นมีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานก็ไม่มีอำนาจประเมินราคาซื้อขายทรัพย์สินนั้นตามราคาตลาด ซึ่งกรณีอย่างไรจึงจะถือว่ามีเหตุอันสมควรนั้นย่อมจะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796-3797/2525(บริษัทเอ.ที.อี.มัสกาตี จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร
จำเลย)โจทก์ได้โอนขายหุ้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัด
และหุ้นบริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด ให้แก่บริษัทเทวรายา
จำกัดในราคาหุ้นละ 125 บาท และ 120 บาท
ตามลำดับ ทั้ง ๆ ที่หุ้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัด
มีราคาซื้อขายในท้องตลาดหุ้นละ138 บาท
และหุ้นบริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด มีราคาซื้อขายในท้องตลาดหุ้นละ 132 บาท แต่เมื่อเป็นการขายจำนวนมากถึง 12,000 หุ้น
ทั้งผู้ซื้อก็เป็นบริษัทที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายถือหุ้นอยู่ด้วยและการซื้อขายก็ไม่ต้องเสียค่านายหน้า
จึงเป็นการขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้ซื้อคนอื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินตามราคาตลาดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ไม่ได้
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2532(บริษัทโรงงานสุราบางกอกจำกัด
โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย)
ตามพฤติการณ์เชื่อไม่ได้ว่าโจทก์ขายสุราในราคาเท่าทุน
เมื่อโจทก์แสดงเอกสารและบัญชีว่าโจทก์ขายสุราในราคาเท่าทุน
จึงมิใช่เป็นการขายในราคาตลาด และเป็นการขายไปในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีหรือชำระค่าภาษีให้น้อยลง
เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ
(4) ประเมินตามราคาตลาดได้
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2537(บริษัททักษิณมหาราษฎร
จำกัดโจทก์ กรมสรรพากร จำเลย) การที่โจทก์ขายกากน้ำตาลให้แก่บริษัทสุรามหาราษฎรจำกัด(มหาชน)ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่บริษัทดังกล่าวให้สิทธิโจทก์เป็นผู้ขายส่งสุราปรุงพิเศษแม่โขงและกวางทองในเขต
22 จังหวัดของภาคใต้ ถือว่ามีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินราคากากน้ำตาลตามราคาตลาดในวันที่ขายเพื่อให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรได้กำหนดให้การโอนทรัพย์สินให้บริการหรือให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน
ค่าบริการหรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด
บางกรณีถือว่ามีเหตุอันสมควร( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.57/2538
)( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.64/2539 )( ดูคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.95/2543 ) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.111/2545
)( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.123/2546 )( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่
ป.127/2546 ) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.129/2547 )( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.131/2548
65 ทวิ (5) การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สิน
เมื่อมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณหรือราคาเป็น เงินตราไทย ดังนี้
(ก.) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ข.) ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือ ทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
(ข.)กรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คำนวณไว้
เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณหรือราคาเป็น เงินตราไทย ดังนี้
(ก.) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ข.) ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือ ทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
(ข.)กรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คำนวณไว้
ทรัพย์สิน
หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยดังกล่าวข้างต้น
หมายถึง เงินตรา ทรัพย์สิน
หรือหนี้สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับหรือมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้แน่นอน
เช่น เงินฝากธนาคาร (Cash) ลูกหนี้การค้า (Account
Receivable) ลูกหนี้และตั๋วเงินรับจากการขายสินค้า (Accounts
and Notes Receivable) หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable
Securities) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีที่ต้องการ
แต่ไม่รวมถึงตราสารทุนซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือเดียวกัน (Loan to Subsidiaries) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
(Prepaid Expense) เจ้าหนี้จากการซื้อสินค้า (Accounts
Payable) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expense) เป็นต้น
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับมาหรือจ่ายไปซึ่งเงินตรา
ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน
ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน
หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น ทั้งนี้
ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง
แห่งประมวล รัษฎากร
ราคาตลาด
กรณีการบันทึกบัญชี ณ
วันที่เกิดรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สิน หมายถึง
(1)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน
(อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ
(2)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน
(อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย)
ราคาตลาด
กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ
หมายถึง
อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริงในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลบาทไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ
หรือเกิดจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จำกัด
ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก
ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทในต่างประเทศ
โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด
ดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 3
มีนาคม 2558 บริษัท ก จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนี้
(1/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
(อัตราซื้อ)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่
3 มีนาคม 2558 หรือ
(1/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้)
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3
มีนาคม 2558
ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2558
ตัวอย่าง (2) บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า
ได้ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศ
โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ข
จำกัดดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันจันทร์ที่ 14
มีนาคม 2558 บริษัท ข จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
(2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2558 หรือ
(2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2558 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2558 เป็นวันหยุดราชการ
(2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2558 หรือ
(2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2558 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2558 เป็นวันหยุดราชการ
(ตัวอย่าง 3 ) บริษัท ค จำกัด
ประกอบกิจการเป็นนายหน้าตัวแทน ได้ให้บริการแก่บริษัทในต่างประเทศ
โดยตกลงราคาค่าบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ค
จำกัดดำเนินการออกใบแจ้งหนี้และบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 บริษัท ค จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
(3/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่
7 เมษายน 2548 หรือ
(3/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548
ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 6 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร
(ตัวอย่าง 4) บริษัท ง จำกัด
ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ บริษัท ง จำกัด
บันทึกบัญชีเจ้าหนี้เงินกู้ยืมในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 หรือวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 บริษัท ง จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
(4/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่
22 เมษายน 2548
กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 หรือในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548
(4/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548
ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548
ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ
การหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ
และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร การหักภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร การหักภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน การจำหน่ายเงินกำไรหรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ
ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไร
หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต้องคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้
เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9
แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยใน
แต่ละวัน (อัตราขาย) หรือ
(2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคาร
แห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน
(อัตราขายถัวเฉลี่ย)
การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังกล่าว
เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้ว
ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้
ทั้งนี้ ตามข้อ 2 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา9
แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรตามวรรคหนึ่งด้วยเช็ค
ให้คำนวณจำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งตามวันที่ที่ลงในเช็ค
และให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยดังกล่าว
ตัวอย่าง
(1)
บริษัท ก จำกัด
จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้
(1/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่
3 มีนาคม 2548 หรือ
(1/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548
ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548
(2)
บริษัท ข จำกัด
จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันจันทร์ที่ 18
เมษายน 2548 บริษัท ข จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้
(2/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่
18 เมษายน 2548 หรือ
(2/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย)
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 12 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 14 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2548
เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร และ วันเสาร์ที่ 16 วันอาทิตย์ที่
17 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ
(3)
บริษัท ค จำกัด
จ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 บริษัท ค จำกัด
มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้
(3/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่
25 เมษายน 2548 หรือ
(3/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย)
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 23 และวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ
(4)
บริษัท ง จำกัด จ่ายเงินค่าบริการเช่าพื้นที่บนเว็บไซต์ (Web
Site) ให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 13.00
น. บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.พ.36 ดังนี้
(4/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่
29 เมษายน 2548 หรือ
(4/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548
ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2548
(5)
บริษัท จ จำกัด
จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศทุกวันที่ 30 ของเดือน โดยการโอนเงินเดือนของพนักงานเข้าบัญชีธนาคารของพนักงาน
ซึ่งในวันที่ 30 เมษายน 2548
ตรงกับวันเสาร์ บริษัท จ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ดังนี้
(5/1)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย)
ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่
29 เมษายน 2548 หรือ
5/2)
ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน
(อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง
ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ
สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่กรมสรรพากรจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในกรณีดังกล่าวให้ทราบทั่วกัน ส่วนผู้มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดลงในวันอื่นกรมสรรพากรไม่อาจประกาศให้ทราบได้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการต้อง สอบถามจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสำนักงานสาขาส่วนภูมิภาคของ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตรง
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีค่าหรือ ราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องคำนวณค่า หรือราคาเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผล ของการคำนวณถ้ามีผลกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินดังกล่าว ให้นำมา รวมคำนวณเป็นรายได้(กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน) หรือรายจ่าย(ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน) แล้วแต่กรณี ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ทั้งจำนวน
65 ทวิ (6) การตีราคาสินค้าคงเหลือ
ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะ น้อยกว่า และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย ในปัจจุบันมาตรฐานการบัญชียอมรับวิธีการคำนวณบัญชีสินค้าคงเหลือ 4 วิธี ได้แก่
1. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification) เหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่สามารถสับเปลี่ยนได้ เช่น เครื่องเพชรหรือชุดเฟอร์นิเจอร์สั่งทำ เป็นต้น
ยกตัวอย่าง หากซื้อสินค้า Z ซึ่งมีมูลค่า 1,000 บาท ก็ต้องบันทึกบัญชีว่ามีสินค้าคงเหลืออยู่ 1,000 บาท ต่อมาเมื่อซื้อสินค้า X ซึ่งมีมูลค่า 1,200 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 2,200 บาท (1,000+1,200) เมื่อซื้อสินค้า Y ที่มีมูลค่า 1,500 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือรวมก็จะเท่ากับ 3,700 บาท (1,000+1,200+1,500) ต่อมาเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าเกิดขึ้น ก่อนจะบันทึกบัญชีก็ต้องกลับไปดูให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าชิ้นไหน หากเป็นสินค้า X มูลค่าของสินค้าคงเหลือในโกดังก็จะเหลือ 2,500 บาท (1,000+1,500)
2.วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in First-out; FIFO) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายและบันทึกได้ไม่ยุ่งยาก ซึ่งจากชื่อก็ได้บอกอยู่แล้วว่า "เข้าก่อน ออกก่อน" หรือหากจะขยายความก็คือ หากสินค้า A, B, C เข้ามาในโกดังตามลำดับ เมื่อขายออกไป สินค้า A ย่อมต้องออกก่อนสินค้า B และ C
วิธีเข้าก่อน ออกก่อน มีข้อดีในการแสดงราคาสินค้าคงเหลือ เพราะเมื่อถึงสิ้นปี สินค้าคงเหลือนั้นจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าในตลาดมากที่สุด
ตัวอย่าง บริษัท W ใช้ระบบสินค้าแบบต่อเนื่อง สินค้า A มีมูลค่า 110 บาท สินค้า B มีมูลค่า 120 บาท สินค้า C มีมูลค่า 100 บาท เมื่อได้รับสินค้า A, B และ C เข้ามาตามลำดับ มูลค่าของสินค้าคงเหลือในโกดังจะเท่ากับ 330 บาท (110+120+100) ต่อมาเมื่อมีรายการขายเกิดขึ้น ให้ถือว่าสินค้า A ออกไปชิ้นแรก เพราะฉะนั้นเมื่อมีการบันทึกบัญชีให้ถือว่ามีต้นทุนสินค้า 110 บาท และมูลค่าสินค้าคงเหลือเท่ากับ 220 บาท (120+100) และเมื่อได้รับออเดอร์จากลูกค้าอีกก็ให้ถือว่าขายสินค้า B ออกไป จะทำให้ต้นทุนสินค้ามีมูลค่า 230 บาท (120+110) และสินค้าคงเหลือมีมูลค่าทั้งสิ้น 100 บาท หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เหลือเพียงแค่สินค้า C เท่านั้นในโกดัง
3. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted-average method)
สำหรับวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
ต้นทุนต่อหน่วยก็คือต้นทุนสินค้าสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย
หารด้วยจำนวนหน่วยที่มีไว้เพื่อขาย ซึ่งจะคำนวณเมื่อสิ้นงวด
ตัวอย่าง บริษัทมีสินค้าคงเหลือต้นงวด 200 ชิ้น มูลค่า
400 บาท ซึ่งต่อมาในงวดดังกล่าวบริษัทได้ซื้อสินค้าเพิ่ม 400 ชิ้น มูลค่า 1,700
บาท และได้รับออเดอร์ขายออกไปให้ลูกค้า 500 หน่วย
ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะเหลือสินค้า อยู่ 100 หน่วย การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost
of goods sold) และมูลค่าของสินค้าคงเหลือจะทำเมื่อสิ้นงวดแล้ว
แต่ก่อนที่จะคำนวณมูลค่าของจำนวนทั้งสองต้องนำมูลค่าของสินค้าทั้งหมดมาถัวเฉลี่ยก่อน นั่นหมายความว่าต้องนำสินค้าคงเหลือต้นงวดถัวเฉลี่ยกับสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อน
ดังนั้นสินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าต่อหน่วยเท่ากับ 3.5 บาท (400+1,700)/(200+400)
แล้วจึงนำไปคำนวณสินค้าคงเหลือซึ่งมีอยู่ 100 ชิ้น
จึงมีมูลค่า 350 บาท
ส่วนต้นทุนสินค้าที่ขายออกไปจะมีมูลค่าเท่ากับ 1,750 บาท
4.วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว (Moving-average method)
การคิดคำนวณจะทำตลอดเวลาและทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามา มูลค่าของสินค้าคงเหลือก็จะเปลี่ยนไป จะมีการนำสินค้าที่ซื้อเข้ามาใหม่ไปถัวเฉลี่ยกับสินค้าคงเหลือ จึงทำให้วิธีนี้ยุ่งยากมากกว่าวิธีอื่นๆ
ตัวอย่าง ต้นงวดมีสินค้าคงเหลือ 300 ชิ้น มูลค่า 6,000 บาท จึงถือว่าสินค้ามีมูลค่าชิ้นละ 20 บาท ต่อมาขายออกไป 100 ชิ้น ให้ถือว่ามีต้นทุนสินค้าที่ขายออกไป 2,000 บาท สินค้าคงเหลือในสต็อกจะเหลือ 200 ชิ้น และก็จะถือว่ามีมูลค่าเท่ากับ 4,000 บาทหรือชิ้นละ 20 บาท เมื่อซื้อสินค้าเข้ามาเพิ่ม 200 ชิ้น ซึ่งมูลค่ารวม 6,000 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วมูลค่าของสินค้าต่อชิ้นที่เข้ามาใหม่จะเท่ากับ 30 บาท สำหรับวิธีนี้สินค้าคงเหลือในสต็อกจะไม่แยกกัน ให้ถือว่ามีมูลค่าเท่ากัน ต้องนำสินค้าทั้งที่มีอยู่แล้วและส่วนที่ซื้อเข้ามาใหม่ทั้งสองส่วนมาถัวเฉลี่ยกัน ทำให้สินค้าคงเหลือมีจำนวน 400 ชิ้น มูลค่า 10,000 บาท หรือชิ้นละ 25 บาท เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา 300 ชิ้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะเท่ากับ 7,500 บาท และทำให้สินค้าคงเหลือในสต็อกมี 100 ชิ้น มูลค่ารวม 2,500 บาท เมื่อมีการซื้อสินค้าเข้าใหม่ก็ต้องนำมาเฉลี่ยใหม่ทุกครั้ง
วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว เหมาะกับบริษัทที่ซื้อวัตถุดิบมาเพื่อผลิต เพราะต้นทุนสินค้าจะถูกนำมาเฉลี่ยซึ่ง จะแสดงต้นทุนโดยรวมของสินค้าที่ผลิตขึ้นได้ดีกว่าวิธีอื่น
4.วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว (Moving-average method)
การคิดคำนวณจะทำตลอดเวลาและทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามา มูลค่าของสินค้าคงเหลือก็จะเปลี่ยนไป จะมีการนำสินค้าที่ซื้อเข้ามาใหม่ไปถัวเฉลี่ยกับสินค้าคงเหลือ จึงทำให้วิธีนี้ยุ่งยากมากกว่าวิธีอื่นๆ
ตัวอย่าง ต้นงวดมีสินค้าคงเหลือ 300 ชิ้น มูลค่า 6,000 บาท จึงถือว่าสินค้ามีมูลค่าชิ้นละ 20 บาท ต่อมาขายออกไป 100 ชิ้น ให้ถือว่ามีต้นทุนสินค้าที่ขายออกไป 2,000 บาท สินค้าคงเหลือในสต็อกจะเหลือ 200 ชิ้น และก็จะถือว่ามีมูลค่าเท่ากับ 4,000 บาทหรือชิ้นละ 20 บาท เมื่อซื้อสินค้าเข้ามาเพิ่ม 200 ชิ้น ซึ่งมูลค่ารวม 6,000 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วมูลค่าของสินค้าต่อชิ้นที่เข้ามาใหม่จะเท่ากับ 30 บาท สำหรับวิธีนี้สินค้าคงเหลือในสต็อกจะไม่แยกกัน ให้ถือว่ามีมูลค่าเท่ากัน ต้องนำสินค้าทั้งที่มีอยู่แล้วและส่วนที่ซื้อเข้ามาใหม่ทั้งสองส่วนมาถัวเฉลี่ยกัน ทำให้สินค้าคงเหลือมีจำนวน 400 ชิ้น มูลค่า 10,000 บาท หรือชิ้นละ 25 บาท เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา 300 ชิ้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะเท่ากับ 7,500 บาท และทำให้สินค้าคงเหลือในสต็อกมี 100 ชิ้น มูลค่ารวม 2,500 บาท เมื่อมีการซื้อสินค้าเข้าใหม่ก็ต้องนำมาเฉลี่ยใหม่ทุกครั้ง
วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว เหมาะกับบริษัทที่ซื้อวัตถุดิบมาเพื่อผลิต เพราะต้นทุนสินค้าจะถูกนำมาเฉลี่ยซึ่ง จะแสดงต้นทุนโดยรวมของสินค้าที่ผลิตขึ้นได้ดีกว่าวิธีอื่น
อย่างไรก็ตาม
ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะ น้อยกว่า ดังนั้น
ผู้ประกอบการจึงต้องเปรียบเทียบราคาตลาดของสินค้าคงเหลือ กับ
ราคาทุนที่ซื้อสินค้ามาว่าอย่างไหนจะมีราคาน้อยกว่า ให้ถือเป็นราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย
65 ทวิ (7) การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ
ราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยเทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับที่ส่งเข้าไป ในประเทศอื่นได้
65 ทวิ (7) การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ
ราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยเทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับที่ส่งเข้าไป ในประเทศอื่นได้
การบัญญัติกฎหมายไว้อย่างนี้
เป็นเรื่องของ transfer pricing(การตั้งราคาโอน)
โดยตรง เพราะให้อำนาจ เจ้าพนักงานปรับปรุง (adjust) ราคานำเข้าสินค้า
ให้เป็นตามราคา ซื้อขายที่แท้จริง ณ จุดขายในต่างประเทศ
ที่ส่งสินค้าเข้ามาขายแก่ไทย โดยเปรียบเทียบกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับที่ส่งเข้าไป
ในประเทศอื่นได้
ตัวอย่าง 1 บริษัท
USA
(ประเทศอเมริกา) จำกัด ส่งออกสินค้าชนิดหนึ่ง ไปขายยังประเทศต่างๆ
โดยตั้งราคา US$ 100 ต่อหีบ แต่สินค้าประเภทและชนิดเดียวกัน ที่ส่งมาขายให้บริษัทไทย
ในประเทศไทย ได้ตั้งราคา ณ จุดฐาน (Cost value โดยยังไม่รวมค่า
freight และ insurance) ในราคา US$
120 ต่อหีบ
กรณีเช่นนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรของไทย สามารถปรับลด ต้นทุนซื้อ ของบริษัทไทย (ผู้นำเข้า) จากราคาซื้อ US$ 120 ต่อหีบ ลงมาเหลือ US$ 100 ต่อหีบ โดยเปรียบเทียบกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับที่ส่งเข้าไป ในประเทศอื่นได้ ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (7) ดังกล่าว
กรณีเช่นนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรของไทย สามารถปรับลด ต้นทุนซื้อ ของบริษัทไทย (ผู้นำเข้า) จากราคาซื้อ US$ 120 ต่อหีบ ลงมาเหลือ US$ 100 ต่อหีบ โดยเปรียบเทียบกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับที่ส่งเข้าไป ในประเทศอื่นได้ ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (7) ดังกล่าว
เหตุผลที่มีการตั้งราคาโอน ที่สูงกว่าปกติ เป็นเพราะอัตรา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่แตกต่างกันของทั้ง 2 ประเทศ เช่น
สมมติ USA มีอัตรา 15%
แต่ของประเทศไทยเป็น 30% การตั้งราคาโอน US$ 120 ดังกล่าว ระหว่างบริษัทในเครือ กับบริษัทแม่
ก็จะสามารถเสียภาษีเงินได้โดยรวม ในยอดเงินที่ต่ำลง กล่าวคือกรณีนี้บริษัท USA
ต้องเสียภาษีเพิ่มจำนวน 15% x 20 = US$ 3
แต่บริษัทในไทย หักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น จึงประหยัดภาษีเงินได้ในไทยลงมา 30%
x 20 = US$ 6 เป็นต้น (เสียภาษีเงินได้โดยรวมทั้งสองประเทศลดลง US$
3)
65 ทวิ (8) การคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ
ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวัน ที่ได้สินค้านั้นมา เว้นแต่เงินตราต่างประเทศนั้นจะแลกได้ในอัตราทางราชการก็ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราทางราชการนั้น
65 ทวิ (8) การคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ
ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวัน ที่ได้สินค้านั้นมา เว้นแต่เงินตราต่างประเทศนั้นจะแลกได้ในอัตราทางราชการก็ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราทางราชการนั้น
อัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาด กรณีการบันทึกบัญชี
ณ วันที่เกิดรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สิน หมายถึง
(1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ
(2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย)
กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริงในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลบาทไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ หรือเกิดจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท
(1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ
(2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย)
กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริงในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลบาทไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ หรือเกิดจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
ให้คำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.
ของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราที่กรมศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร
65 ทวิ (9) การจำหน่ายหนี้สูญ
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้นำมาคำนวณ เป็นรายได้ ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้วหากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมา คำนวณเป็นรายได้อีก
หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘๑ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ข้อ ๒ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้”(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ใช้บังคับ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
(๒) ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้
ข้อ ๔ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า
(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้
(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
(๒) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ หรือ
(๓) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว
ข้อ ๕ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ได้ดำเนินการตามข้อ ๔ (๑) แล้ว
(๒) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว หรือ
(๓) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว
ในกรณีตาม (๒) หรือ (๓) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๖ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าว ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทด้วย
“ข้อ ๖ ทวิ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือ ข้อ ๖
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้นำมาคำนวณ เป็นรายได้ ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้วหากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมา คำนวณเป็นรายได้อีก
หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘๑ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ข้อ ๒ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้”(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ใช้บังคับ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป)
ข้อ ๓ หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
(๒) ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้
ข้อ ๔ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า
(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้
(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
(๒) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ หรือ
(๓) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว
ข้อ ๕ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ได้ดำเนินการตามข้อ ๔ (๑) แล้ว
(๒) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว หรือ
(๓) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว
ในกรณีตาม (๒) หรือ (๓) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ข้อ ๖ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าว ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทด้วย
“ข้อ ๖ ทวิ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือ ข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๒) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“ข้อ ๖ ตรี การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในส่วนที่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖”
(๑) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๒) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“ข้อ ๖ ตรี การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในส่วนที่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖”
“ข้อ ๖ จัตวา
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(๒) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(๔) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(๕) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วยและให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย”
“ข้อ ๖ เบญจ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ ๑๐๐ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ ๑๐๐ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ โดย
(๑) ในส่วนของหนี้ที่ได้กันเงินสำรองไว้และได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลังเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
(๒) ในส่วนของหนี้ที่ได้กันเงินสำรองไว้แต่ไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(๒) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๓) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ การถือหุ้นโดยอ้อมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
“ข้อ ๖ ฉ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(๒) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(๔) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(๕) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วยและให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย”
“ข้อ ๖ เบญจ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ ๑๐๐ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ ๑๐๐ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ โดย
(๑) ในส่วนของหนี้ที่ได้กันเงินสำรองไว้และได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ให้จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลังเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
(๒) ในส่วนของหนี้ที่ได้กันเงินสำรองไว้แต่ไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(๒) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๓) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ การถือหุ้นโดยอ้อมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
“ข้อ ๖ ฉ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑)
ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(๒) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๓)
บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
“ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัย”
หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย
เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง
จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
ที่ได้ลงทะเบียนกับศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยของทางราชการ
และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้นั้นด้วย
ข้อ ๖ สัตต
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น
ซึ่งดำเนินการโดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยและได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัย”
หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย
เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง
จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
ที่ได้ลงทะเบียนกับศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทางราชการ และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้นั้นด้วย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(๒) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(๔) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(๕) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๖) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(๗) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
ข้อ ๖ อัฏฐ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่เกษตรกร ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ ทั้งนี้ สำหรับการปลดหนี้ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
(๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(๒) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(๔) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(๕) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๖) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(๗) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
ข้อ ๖ อัฏฐ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่เกษตรกร ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ ทั้งนี้ สำหรับการปลดหนี้ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
“เกษตรกร” หมายความว่า
เกษตรกรตามที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่เข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำหนด
“คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร”
หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร”
ข้อ ๖ นว การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้
ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้า หรือผู้ฝากขายสินค้ากับลูกหนี้
และสินค้านั้นได้ถูกเพลิงไหม้หรือได้รับความเสียหายจากหรือเนื่องมาจากการเกิดเพลิงไหม้จนไม่สามารถนำไปขายต่อได้
โดยเจ้าหนี้ยังไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า
และเจ้าหนี้ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากสินค้าถูกเพลิงไหม้หรือได้มีการทำลายสินค้านั้น
ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ ทั้งนี้
เจ้าหนี้ดังกล่าวจะต้องนำรายได้ที่ได้จากการขายสินค้าหรือการฝากขายสินค้านั้นไปรวมคำนวณเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับฝากขายสินค้าที่มีสถานประกอบการขายสินค้านั้นตั้งอยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓”
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับฝากขายสินค้าที่มีสถานประกอบการขายสินค้านั้นตั้งอยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓”
“ข้อ ๖ เอกาทศ
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น
ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
และได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ทั้งนี้
เฉพาะการปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น
ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(๑) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(๒) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(๔) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(๕) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๖) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย”
(๑) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(๒) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๓) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(๔) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(๕) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๖) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัย และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
“ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่ประสบอุทกภัยของเจ้าหนี้อื่นด้วย”
“ข้อ ๗
หนี้ของลูกหนี้รายใดที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ครบถ้วนแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด
ให้จำหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
เว้นแต่กรณีตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง คำขอเฉลี่ยหนี้ หรือคำขอรับชำระหนี้
กรณีตามข้อ ๖ ตรี ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำ
สั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรณีตามข้อ ๖ นว
ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือผู้ฝากขายสินค้าได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับฝากขายสินค้า
แล้วแต่กรณี”
65 ทวิ (10) การคำนวณเงินปันผลเป็นรายได้
( ก.)นำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียง กึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้รับ
(1) สำหรับบริษัทจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อการส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียง กึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้
(2) กรณีบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้นำเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้มาเป็นรายได้จำนวนกึ่งหนึ่ง(ยกเว้นครึ่งเดียว)
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัท มีเงินได้ที่เป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวโดยถือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินส่วนแบ่งของกำไรนั้นไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้ ตาม “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
(ข) ไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นรายได้ ทั้งจำนวน
(1) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้ตาม(ก)และ(ข) ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัท จำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้ กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้ามารวม คำนวณเป็นรายได้
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัด นอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผล ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนที่มีเงินได้ที่เป็นเงินปันผลและ เงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าวหรือได้โอนหุ้น หรือหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
เงินปันผลที่ได้จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 65 ตรี (2) ไม่ให้ถือว่าเป็นเงินปันผล หรือ เงินส่วนแบ่งกำไรตามมาตรานี้(จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ว่าครึ่งหนึ่งและทั้งจำนวน)
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(ทั้งจดทะเบียนในตลาดและไม่จดทะเบียนในตลาด รวมทั้งที่เป็น หจก.ด้วย)ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
( ก.)นำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียง กึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้รับ
(1) สำหรับบริษัทจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อการส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียง กึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้
(2) กรณีบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้นำเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้มาเป็นรายได้จำนวนกึ่งหนึ่ง(ยกเว้นครึ่งเดียว)
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัท มีเงินได้ที่เป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวโดยถือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินส่วนแบ่งของกำไรนั้นไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้ ตาม “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
(ข) ไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นรายได้ ทั้งจำนวน
(1) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้ตาม(ก)และ(ข) ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัท จำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้ กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้ามารวม คำนวณเป็นรายได้
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัด นอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผล ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนที่มีเงินได้ที่เป็นเงินปันผลและ เงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าวหรือได้โอนหุ้น หรือหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
เงินปันผลที่ได้จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 65 ตรี (2) ไม่ให้ถือว่าเป็นเงินปันผล หรือ เงินส่วนแบ่งกำไรตามมาตรานี้(จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ว่าครึ่งหนึ่งและทั้งจำนวน)
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(ทั้งจดทะเบียนในตลาดและไม่จดทะเบียนในตลาด รวมทั้งที่เป็น หจก.ด้วย)ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(3) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535
ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้มาเป็นรายได้ทั้ง
(ยกเว้นที่จำนวน)
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ บริษัทจดทะเบียน มีเงินได้ที่เป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวโดยถือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินส่วนแบ่งของกำไรนั้นไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้ ตาม “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ บริษัทจดทะเบียน มีเงินได้ที่เป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวโดยถือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินส่วนแบ่งของกำไรนั้นไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้ ตาม “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
(4) “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่
10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 ทวิ กำหนด ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน
3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
ให้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ไม่ว่าจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่จดก็ตาม)
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการในประเทศไทย”
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ไม่ว่าจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่จดก็ตาม)
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการในประเทศไทย”
65
ทวิ (11) ดอกเบี้ยกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้
ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวม
คำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
หมายเหตุ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
มาตรา 65 เบญจ ในกรณีที่มีการโอนกิจการปิโตรเลียม
ถ้าบริษัทผู้รับโอนจ่ายเงินได้ที่เป็นเงินค่าสิทธิ เงินปี
หรือเงินได้ประจำเนื่องจากการโอนนั้น
โดยเงินดังกล่าวไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน ให้บุคคลซึ่งได้รับเงินได้นั้นมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา(อัตราร้อยละ ๓๕ ของกำไรสุทธิ ที่ได้จากกิจการปิโตรเลียม )
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 60
ของเงินได้หลังจากหักต้นทุนตามมาตรา 33 แล้ว
บุคคลใดได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัท บุคคลนั้นมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยนั้นในอัตราตามวรรคหนึ่ง(อัตราร้อยละ ๓๕) และให้นำภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วตามมาตรา 45 มาเป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย
65 ทวิ (12) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องภูกหักภาษี ไว้ ณ ที่จ่าย ตามกำหมายว่าด้วยภาษี เงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลี่ยมและถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
บุคคลใดได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัท บุคคลนั้นมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยนั้นในอัตราตามวรรคหนึ่ง(อัตราร้อยละ ๓๕) และให้นำภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วตามมาตรา 45 มาเป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย
65 ทวิ (12) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องภูกหักภาษี ไว้ ณ ที่จ่าย ตามกำหมายว่าด้วยภาษี เงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลี่ยมและถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
หมายเหตุ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กำหนด
ให้บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด
ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับยกเว้น (1) ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
และ (2) ภาษีอากรตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ เฉพาะภาษีอากรที่เก็บจากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่จ่ายจากกำไรสุทธิ
หรือที่จ่ายจากเงินได้อันต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
65 ทวิ (13) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ไม่ต้องนำเงินค่าลงทะเบียน
หรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค
หรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี มารวมคำนวณเป็นรายได้
65 ทวิ (14) ภาษีขาย(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนเนื่องจากการขอคืน ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้
65 ทวิ (14) ภาษีขาย(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนเนื่องจากการขอคืน ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้
ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ในอัตราร้อยละ 7 ของราคาสินค้าหรือบริการ เช่น
ขายสินค้าราคา 100 บาท เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % เท่ากับ 7
บาท รวมเป็นเงิน 107 บาท
กรณีผู้ขายได้ตั้งราคาขายสินค้าเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว การคำนวณหาภาษีขายให้นำราคา สินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
คูณด้วย 7 หารด้วย 107 จะได้ ภาษีขายซึ่งไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ และ เมื่อนำภาษีขายไปหักออกจากราคา สินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ก็จะเป็นยอดขายหรือรายได้ที่ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่าง บริษัท
เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขายรถยนต์ 1 คัน มูลค่า 1,000,000 บาท
(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) การลงบัญชีรับรู้รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้อง หัก ภาษีขาย(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่รวมอยู่ในราคาสินค้านั้นออกก่อน ดังนี้ ภาษีขาย =1,000,000x7หาร107 = 65,420.60 บาท
(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) การลงบัญชีรับรู้รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้อง หัก ภาษีขาย(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่รวมอยู่ในราคาสินค้านั้นออกก่อน ดังนี้ ภาษีขาย =1,000,000x7หาร107 = 65,420.60 บาท
ดังนั้น ราคาสินค้าที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้ = 1,000,000- 65,420.60 = 934,579.40 บาท ส่วนภาษีขาย จำนวน 65,420.60 บาทไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้
มาตรา 65 จัตวา เงินได้จากการขายยาสูบที่ซื้อจากโรงงานยาสูบ
ให้โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้า
ทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอด
ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อสินค้าจากโรงงานยาสูบ
ตามอัตราร้อยละ 12.5
ของกำไรของผู้ขายส่งไม่ว่าทอดใด และในอัตราร้อยละ 10
ของกำไรของผู้ขายปลีก
ภาษีที่เสียแทนดังกล่าว
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อสินค้าจากโรงงานยาสูบ
มาตรา 70 ตรี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด
ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง
หรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย
และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น
(1)
เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2)
เป็นของผ่านแดน
(3)
เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปี
นับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4)
เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปี
นับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร
มาตรา 74
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกัน
หรือควบเข้ากันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีให้เป็นไปตามวิธีการในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และ มาตรา 66
เว้นแต่
(1)
การตีราคาทรัพย์สิน
(ก) ในกรณีที่เลิกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ให้ตีตามราคาตลาดในวันเลิก
(ข) ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน
ให้ตีตามราคาตลาดในวันที่ควบเข้ากัน
แต่ไม่ให้ถือว่าราคาดังกล่าวเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมอันได้ควบเข้ากันนั้น
และให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันได้ควบเข้ากันถือราคาของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่ปรากฏในบัญชีของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมในวันที่ควบเข้ากันเพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
จนกว่าจะได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอ
และค่าเสื่อมราคาก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมใช้อยู่เพียงเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น
และห้ามมิให้นำผลขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ค) ในกรณีที่มีการโอนกิจการระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วยกัน
โดยที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้โอนกิจการต้องจดทะเบียนเลิก
และมีการชำระบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนกิจการนั้น
ให้ตีตามราคาตลาดในวันที่จดทะเบียนเลิก และให้นำความใน (ข) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2)
เงินสำรองหรือเงินกำไรยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ
เฉพาะส่วนที่ยังมิได้เสียภาษีเงินได้
ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายด้วย
(3)
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการประกันภัยให้นำเงินสำรอง
ซึ่งได้กันไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ตามมาตรา 65 ตรี (1)
เฉพาะส่วนที่ยังมิได้นำมาเป็นรายได้มารวมคำนวณเป็นรายได้ด้วย
บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา
66 วรรคสอง เฉพาะที่กระทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ
เงินได้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน
ก)
นิติบุคคลไทยที่ได้รับการส่งเสริม BOI ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
3-8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามบัตรส่งเสริมการลงทุน
ข) นิติบุคคลไทยไม่ได้อยู่ใน BOI
ได้รับเงินได้จากนิติบุคคลที่อยู่ใน BOI ประเภทเงินได้
ต่อไปนี้ยกเว้นภาษีคือ
1.
ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ ค่าสิทธิ
2.
เงินปันผลที่ได้รับจากนิติบุคคล BOI
---------------------------------------จบตอนที่ 1 (มีต่อตอนที่
2)-----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น