วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตอนที่ 1

เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
ผู้สอน : นายวินัย  เนื้อนาจันทร์   นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)

บทที่ 3 ตอนที่ 1
 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  
ขอบเขตของเนื้อหา
ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?
เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่?
เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?
ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร?
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?
เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?
ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?
ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด?
ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ไหน?
การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่
ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?
บัญชีอัตราภาษี
การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง?

วัตถุประสงค์ของบทเรียน
- เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตลอดจนหลักการและวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและกรอกแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาได้อย่างถูกต้อง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax   ตอนที่ 1


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  เป็นภาษีทางตรง   และเป็นภาษีอากรประเมิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด 4 ประเภท ดังนี้
           1)   บุคคลธรรมดา  หมายถึงบุคคลทุกคนที่มีสภาพบุคคลตาม  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 2 บุคคล หมวด 1 บุคคลธรรมดา ส่วนที่ 1 สภาพ บุคคล มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
           2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 
                ห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึงห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๐๒๕  ที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  เพราะเมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว  จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  ซึ่งมีลักษณะและหลักการแตกต่างกัน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ  เกิดขึ้นจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำกิจการร่วมกัน  ด้วยวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น  และผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีข้อจำกัด
            คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทากิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกาไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทานั้น ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น
(1) การเข้าร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร เช่น บัญชีเงินฝากนาง ก. และนางสาว ข. เป็นต้น (ไม่รวมถึงกรณีสามีภรรยาเปิดบัญชีร่วมกัน)
(2) การเข้าร่วมกันซื้อหุ้น เช่น นาย ก. และนาย ข. เข้าร่วมกันเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อซื้อหุ้น
(3) การเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน เช่น นาย ก. นาง ข. และนาย ค. ซื้อที่ดินร่วมกัน
(4) การเข้าร่วมกันของแพทย์เพื่อทากิจการรักษาคนไข้ เช่น แพทย์ ก. ร่วมกับแพทย์ ข. หรือ แพทย์ ก. ร่วมกับพยาบาล ค. เป็นต้น
(5) การเข้าร่วมกันของนักแสดงหรือพิธีกรในการรับงานแสดงหรือรับงานพิธีกร เช่น นักแสดง เอ ร่วมกับนักแสดง บี เป็นต้น
              ตัวอย่าง  ก. กับ ข.  เข้าหุ้นกันเปิดร้านถ่ายรูป  รับถ่ายเอกสาร  รับทำรายงาน  เมื่อมีกำไรก็ตกลงแบ่งกันคนละครึ่ง   เงินที่ได้จากการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งมี ก. และ ข.  เป็นหุ้นส่วน  ซึ่งอาจใช้ชื่อห้างหุ้นส่วน ก. และ ข.  หรือใช้ชื่ออื่นก็ได้   แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้  เกิดเป็นหน่วยภาษีใหม่  มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยผู้อำนวยการ  หรือผู้จัดการห้างหุ้นส่วนเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าว  โดยผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้จากการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นไปยื่นแบบแสดงรายการในนามของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นส่วนตัว แต่เมื่อมีการแบ่งกำไรจากการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนที่ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจะต้องนำส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารวมกับรายได้อย่างอื่น  อนึ่งถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าว ค้างชำระค่าภาษีเงินได้  หุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวด้วย
    คณะบุคคล  คำว่า “คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลง กระทำการร่วมกันอันมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญ ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 ตัวอย่างเช่น
(1) คณะกรรมการนักศึกษาจัดหาทุนเพื่อกระทากิจกรรมในกลุ่มของตน
(2) คณะกรรมการจัดหาทุนเพื่อสร้างและปรับปรุงโบราณสถาน
(3) ชมรมแม่บ้านจัดกิจกรรมหาทุนเพื่อสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น
       คณะบุคคลนั้น  มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือประกอบด้วยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มาร่วมกันประกอบกิจการ  หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง และการกระทำนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรขึ้นมา   หากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับนั้นมีจำนวนเกิน  ๓๐,๐๐๐  บาท  ผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการของคณะบุคคลนั้นก็มีหน้าที่นำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับนั้นมายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้   แต่การร่วมกันประกอบกิจการ หรือกระทำการที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้น  ต้องมิได้มีเจตนาที่จะหากำไรเป็นส่วนตัว   เช่นชมรมนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยนิสิตจำนวนหนึ่งที่เป็นสมาชิก  จัดงานการแสดงดนตรีการกุศลเพื่อนำรายได้ไปซื้อเครื่องมือแพทย์ไว้ใช้ในโรงพยาบาลของรัฐที่ขาดแคลน   เงินรายได้ที่ได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของชมรมดังกล่าว  เพราะชมรมประกอบด้วยนิสิตที่เป็นสมาชิกทุกคน  เมื่อจัดการแสดงดนตรีมีการขายบัตร  และมีเงินได้จากการขายบัตรดังกล่าว  ชมรมจึงมีสภาพเป็นคณะบุคคล  ผู้แทนของชมรม คือประธานชมรมมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ในนามของชมรม
            กรณีคณะบุคคล ประกอบกิจการแล้วมีกำไร ผู้ร่วมในคณะบุคคลทุกคนที่ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจะต้องนำส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารวมกับรายได้อย่างอื่นด้วย
           ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล  เป็นหน่วยภาษีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร  ไม่มีสภาพบุคคล  เพราะสภาพบุคคลต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  ๑๕
 และไม่ใช่นิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  ๖๕    
  การเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
                เนื่องด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 ได้ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยมีสาระสาคัญให้ยกเลิกการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับส่วนแบ่งของกาไรหรือส่วนแบ่งเงินได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามมาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีผลใช้บังคับสาหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ประกอบกับได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 249) เรื่อง กาหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทาบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 กาหนดให้ ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องจัดทำรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย และ ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ โดยมีผลใช้บังคับสาหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
                ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องคำนวณภาษีตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร และหากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแบ่งส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ให้แก่หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลในคณะบุคคลในปีภาษีใด ให้หุ้นส่วนหรือบุคคลนั้นต้องนำ ส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้กับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับ โดยไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากรอีกต่อไป ทั้งนี้ สำหรับส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
                  กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) (ข) หรือ (ช) แห่งประมวลรัษฎากร และ มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และได้ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ตามอัตราที่กฎหมายกาหนดแล้ว ซึ่งมีสิทธิเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ยังคงมีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 48 (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และหากเมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแบ่ง ส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ให้แก่หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลในคณะบุคคลในปีภาษีใด หุ้นส่วนหรือบุคคลนั้นต้องนำส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร มารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้กับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับในปีภาษีนั้นด้วย ทั้งนี้ สำหรับส่วนแบ่งของกำไรหรือส่วนแบ่งเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
              3). ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
                         ในกรณีที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วถึงเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดไว้  ถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดให้ผู้จัดการมรดก  หรือในกรณีที่ไม่มีการตั้งผู้จัดการมรดก  ทายาท  หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี  มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีแทนผู้ตาย  โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการในนามของผู้ตาย  และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทนผู้ตาย  ดังนั้น  จะเห็นได้ว่า  ภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น  ไม่ตายตามผู้มีเงินได้ไปด้วย
               มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า  ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทนผู้ตายนั้น  กฎหมายกำหนด ให้รวมเงินได้พึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย  เป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นทั้งสิ้น  ซึ่งหมายความว่า  แม้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะถึงแก่ความตายไปแล้ว  และทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทเมื่อบุคคลนั้นตาย  ตามมาตรา  ๑๕๙๙  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ตาม  แต่หากทรัพย์มรดกดังกล่าวก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนั้นตาย  เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของทายาทผู้รับมรดก  แต่ถือเป็นเงินได้ของผู้ตายในปีภาษีนั้น  เช่น
ตัวอย่างแรก   ในปีภาษี  ๒๕๕๘  นาย ก. มีบ้านให้เช่า  ๒  หลัง โดยทำสัญญาให้เช่าเป็นเวลา  ๓  ปี ได้ค่าเช่ารวมเดือนละ  ๒๐,๐๐๐  บาท  นาย ก. ถึงแก่ความตายในวันที่  ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๘   บ้านให้เช่า  ดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปให้ทายาท แต่มี นาย ข. ซึ่งเป็นบุตรชายคนเดียวดูแลเก็บค่าเช่า  ตั้งแต่วันที่นาย ก.  ตาย   และนาย ข. เก็บค่าเช่าตามสัญญาเช่าจากผู้เช่าไปใช้ในฐานะทายาท เพราะในกรณีผู้ให้เช่าตาย  สัญญาเช่าจะไม่ระงับ   ดังนี้  จะเห็นได้ว่า  ในปีภาษี  ๒๕๕๘  เมื่อนาย ก. ถึงแก่ความตาย  นาย ก. จะมีเงินได้จากค่าเช่าไม่ถึง  ๓๐,๐๐๐  บาท  ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา  ๕๖  ( ๑ )  แต่เมื่อ .มาตรา  ๕๗  ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้รวมเงินได้ของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย  เป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นทั้งสิ้น  จึงต้องถือว่าในปีภาษี  ๒๕๕๘  นั้น  เงินได้ของนาย ก. ผู้ตาย คือเงินได้จากค่าเช่าที่นาย ก.ได้รับก่อนนาย ก. ตาย จำนวน  ๒๐,๐๐๐ บาท และเงินค่าเช่าของกองมรดกที่ได้รับหลังจากนาย ก. ตาย  จนถึงสิ้นปีภาษี คือวันที่  ๓๑  ธันวาคม  ๒๕๕๘   รวมกันเป็นเงิน  ๒๔๐,๐๐๐  บาท เป็นเงินได้ของนาย  ก.(ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี) ที่ได้รับในปีภาษี  ๒๕๕๘   นาย ข. ในฐานะทายาท จึงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี  ๒๕๕๘ ในนามของนาย ก. (ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี) แทนนาย ก. ผู้ตาย  ภายในเดือนมีนาคม  ๒๕๕๙ โดยนาย ข.  ไม่ต้องนำค่าเช่า  ที่ได้รับจากกองมรดก  นาย ก. ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  ถึงเดือน  ธันวาคม  ๒๕๕๘  มาคำนวณเป็นเงินได้ของตนอีก    สำหรับปีภาษีถัดไป หากยังไม่ได้แบ่งมรดกให้ทายาท เงินค่าเช่าของกองมรดกที่ได้รับทั้งหมด จะต้องยื่นเสียภาษีในนาม กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งของนาย ก.
          4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง  
              ผู้เสียภาษีประเภทนี้      ตามประมวลรัษฎากรกำหนดว่า   สำหรับในปีต่อไป  ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่ง  และมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด ผู้จัดการมรดก  หรือทายาท  หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก  แล้วแต่กรณี  มีหน้าที่ต้องปฏิบัติยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ในชื่อกองมรดกของผู้ตาย      
             การแบ่งมรดกของผู้ตาย จะเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  ๑๗๕๐  ซึ่งระบุไว้  ๓  กรณี คือ   ๑)  ทายาทเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด  ๒)  ขายทรัพย์มรดกแล้วทายาทนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท  และ ๓)  ทำสัญญาตกลงแบ่งทรัพย์สินกัน  หากทรัพย์มรดกของผู้ตายมีหลายอย่าง  มีการแบ่งกันแล้วบางส่วน  แต่ยังคงเหลือทรัพย์มรดกบางส่วนที่ยังมิได้แบ่งกัน  และทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินเกินกว่า  ๓๐,๐๐๐  บาท จะเป็นกรณีตามมาตรา  ๕๗  ทวิ วรรคสองนี้  โดยถือว่ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่งและเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งนี้  เป็นเงินได้พึงประเมินของกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งผู้จัดการมรดก  หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของกองมรดก
             ตามตัวอย่างที่สองในกรณีที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษีข้างต้น  เมื่อนาย ข. ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในนามของนาย ก. ภายในเดือนมีนาคม  ๒๕๕๙  แล้ว ตั้งแต่เดือน มกราคม  ๒๕๕๙  ผู้เช่าห้องชุดยังคงจ่ายค่าเช่าให้แก่นาย ข. ผู้จัดการมรดกของนาย ก. ตลอดมา เดือนละ  ๒๐,๐๐๐  บาท หากสิ้นปีภาษี  ๒๕๕๙  นาย ข. ยังจัดการมรดกไม่เสร็จ  ยังมิได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านเช่าดังกล่าวให้เป็นสัดส่วน  หรือยังมิได้โอนบ้านเช่าดังกล่าวเป็นชื่อของนาย ข. ซึ่งเป็นทายาท  บ้านเช่าดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของกองมรดกของนาย ก.  ค่าเช่าที่ได้รับเดือนละ  ๒๐,๐๐๐  บาท ตลอดปี  ๒๕๕๙  เป็นเงิน  ๒๔๐,๐๐๐  บาท จึงเป็นเงินได้ของกองมรดก  ตามมาตรา  ๕๗  ทวิ  วรรคสองดังกล่าว  เมื่อเงินได้ของกองมรดกเกิน  ๓๐,๐๐๐  บาท  ในปีภาษี  ๒๕๕๙  นาย ข. ที่เป็นผู้จัดการมรดก  ก็มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีในนามกองมรดกของนาย  ก. ภายในเดือน มีนาคม  ๒๕๖๐ จะเห็นได้ว่า ตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรมาตรานี้  จะเกิดหน่วยภาษีขึ้นใหม่อีกหน่วยหนึ่ง  คือกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งผู้จัดการมรดกจะต้องไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของกองมรดกด้วย
           อย่างไรก็ตาม  เงินได้จากกองมรดกที่ยังมิได้แบ่งนี้  เมื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของกองมรดกแล้ว  เมื่อผู้จัดการมรดกนำเงินที่เหลือไปแบ่งให้แก่ทายาท  เช่นกรณีข้างต้น นาย ข. นำเงินค่าเช่า ที่เสียภาษีในนามกองมรดกแล้วมาแบ่งกันกับนาย ค. คนละครึ่ง  เงินที่นาย ข. และ นาย ค. ได้รับ ก็เป็นเงินได้พึงประเมินของนาย ข. และนาย ค. ในปีภาษีที่ได้รับส่วนแบ่งนั้น  แต่เงินส่วนแบ่งจากกองมรดกที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแล้วดังกล่าว  ได้รับยกเว้นภาษีไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ตาม มาตรา  ๔๒ ( ๑๖ )  แห่งประมวลรัษฎากร  เพราะหากต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีอีก  ก็จะเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจากเงินได้จำนวนเดียวกัน

หลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่สำคัญอยู่  5  ประการ คือ
1.หลักการรับรู้จำนวนเงินได้พึงประเมิน
2.หลักการรับรู้เงินได้พึงประเมินตามเกณฑ์เงินสด(Cash Basis)
3. เงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีใดถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้น
4. เงินได้พึงประเมินของบุคคลใด ให้ถือเป็นเงินได้ของบุคคลนั้น
5.หลักการเกิดขึ้นของเงินได้พึงประเมิน

1. หลักการรับรูจํานวนเงินไดพึงประเมิน
หคํานวณนับเงินไดพึงประเมินเปนรายปภาษี(ปภา ษี หมายถึง ปประดิทิน (ปฏิทิน) เริ่มตั้งแตวันที่ 1 มกราคม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกป) ไม วาผูมีเงินไดจะเริ่มมีเงินไดเมื่อใดในระหวางปภาษีหรือปปฏิทิน  ใหคํานวณนับเงินไดพึงประเมิน  เพื่อการคํานวณภาษีเงินไดสําหรับปภาษีนั้นจนถึงเพียง ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปนั้นเทานั้น

2 หลักการรับรูเงินไดพึงประเมินตามเกณฑเงินสด 
โดยเหตุที่เงินไดที่จะถือเปนเงินไดพึงประเมิน  อันเขาลักษณะพึงตองเสียภาษีเงินไดตาม ประมวลรัษฎากร ตองเปนเงินไดที่ผูมีเงินไดไดรับมาในระหวางปภาษี หากแมมีกิจกรรมที่กอใหเกิดเงินไดพึงประเมินแลวแตผูมีเงินไดยังไมไดรับเงินไดดังกลาวในระหวางปภาษี   ก็จะยังไมถือเปนเงินไดพึง ประเมิน ดังนั้นจึงอาจพิจารณาไดวาเกณฑการรับรูเงินไดพึงประเมินสอดคลองกับเกณฑการรับรูรายได้ตาม  เกณฑเงินสด  (Cash Basis) ในทางการบัญชีนั่นเอง
เชน ในป 2558   นาย ก. ประกอบกิจการ ขายสินคาไดเปนเงินทั้งสิ้น 700,000 บาท แบงเปนขายเงินสด 400,000 บาท และขายเงินเชื่อ 300,000 บาทในระหวางปไดรับชําระหนี้ จากการขายเงินเชื่อ 200,000 บาท เชนนี้ถือวาในป 2558  นาย ก. ไดรับเงินไดพึงประเมินเปนเงิน 600,000 บาท (400,000 บาท + 200,000 บาท)        
          อนึ่ง  ในบางกรณีที่แมผูมีเงินไดจะยังมิไดรับเงินไดเขามาอยูในความครอบครองของตนแตผูมีเงินไดมีสิทธิในเงินไดจํานวนนั้นโดยสมบูรณแลว  ก็ใหถือเปนเงินไดเสมือนหนึ่งวาไดรับมาแลว (Constructive Receipt) และใหผูมีเงินไดรับรูเปนเงินไดพึงประเมินของปที่ไดรับเงินไดนั้น เชนเงินไดที่เปน ธนาณัติ เช็ค ตั๋วสัญญาใชเงิน หรือตั๋วแลกเงินที่ถึงกําหนดชําระแลว เงินโอนบัญชีธนาคาร (Transferred) เปนตน
กรณีไม่ได้รับเงินหรือทรัพยสินหรือประโยชนใดๆแต่ถือเป็นเงินได้
อยางไรก็ตาม ในกรณีดังตอไปนี้ แมจะไมไดรับเงินหรือทรัพยสินหรือประโยชนใดๆ ก็ ใหถือวาผูมีเงินไดมีเงินไดพึงประเมิน
(1)  กรณีเงินไดจากการใหเชาทรัพยสินตามมาตรา  40(5)(ก)  ถาเจาพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อวาผูมีเงินไดแสดงเงินไดต่ำไปไมถูกตองตามความเปนจริง เจาพนักงานประเมินมีอํานาจ ประเมินเงินไดจากการใหเชาทรัพยสินนั้น ตามจํานวนเงินที่ทรัพยสินนั้นสมควรใหเชาไดตามปกติ และใหถือวา จํานวนเงินที่ประเมินนี้เปนเงินไดพึงประเมินของผูมีเงินได ในกรณีนี้ผูมีเงินไดจะอุทธรณการประเมินก็ได (มาตรา 40 (5) วรรคสอง)
(2) กรณีที่กฎหมายกําหนดใหถือเปนการขายตามมาตรา 40 ทวิ ดังนี้
ในปภาษีใดที่ไดมีการสงสินคาไปตางประเทศ    ใหแกหรือตามคําสั่งของสํานักงานใหญ สาขา ตัวการ ตัวแทน นายจาง หรือลูกจางในตางประเทศ โดยมิใชสินคาที่สงไปเปนตัวอยางหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ หรือของผานแดน หรือของที่สงออกไปแลวกลับเขามาใหผูสงภายในหนึ่งปนับ แตวันที่สงออกไป    หรือของที่นําเขามากแลวสงกลับออกไปใหผูสงภายในหนึ่งปนับแตวันที่นําเขามา ใหถือวาการที่ไดสงสินคาออกไปนั้นเปนการขาย   และใหถือวาผูที่สงสินคาออกไปดังกลาวเปนผูมีเงินได โดยถือตามราคาตลาด (ราคา เอฟ.โอ.บี.) ณ วันที่ไดสงสินคาออกเปนเงินไดพึงประเมิน
(3) กรณีจําหนาย จาย โอนอสังหาริมทรัพย โดยไมไดรับประโยชนหรือคาตอบแทน ใหถือวาผูโอนเปนผูมีเงินไดตามมาตรา 41 ทวิ แหงประมวลรัษฎากร
ในกรณีดังกลาวใหเจาพนักงานประเมินกําหนดราคาขายอสังหาริมทรัพยนั้น โดยถือ ตามราคาประเมินทุนทรัพยเพื่อเรียกเก็บคาธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม  ตามกฎหมายที่ดิน ซึ่งเปนราคาที่ใชอยูในวันที่มีการโอนนั้น (มาตรา 49 ท วิ แหงประมวลรัษฎากร) บทบัญญัติตามมาตรา  41  ทวิ  แหงประมวลรัษฎากรนี้  เปนกฎหมายพิเศษ  ยกเวน กฎหมายทั่วไป     ซึ่งตามปกติธรรมดาผูรับตองเปนผูมีเงินไดและตองเปนผูเสียภาษี     แตสําหรับการ จําหนาย จาย โอน อสังหาริมทรัพย เปนทางตรงกันขาม กฎหมายกําหนดใหผูโอนเปนผูมีเงินไดและ เปนผูมีหนาที่เสียภาษีเงินไดจากการโอนอสังหาริมทรัพยดังกลาว  ทั้งนี้หากเป็นเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้นจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(26)
                อยางไรก็ตาม   ขอกําหนดดังกลาวใหใชเฉพาะกรณีผูใหเปนผูมีหนาที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมีการใหโดยเสนหาเทานั้น  แตถาเปนการจําหนายจายโอนเนื่องจากกิจกรรมที่กอให้เกิดเงินได อันไดแก หนาที่งานที่ทํา กิจการที่ทํา หรือเนื่องจากทรัพยสิน ผูรับยังคงเปนผูมีเงินได เชนลูกจางพนักงานไดรับเงินไดเปนที่ดิน  ผูชิงโชคไดรับรางจากการชิงโชคเปนอสังหาริมทรัพย  ผูใหกูยืม เงินไดรับดอกเบี้ยเปนอสังหาริมทรัพย เปนตน      
       3. หลักเงินไดพึงประเมินที่ไดรับในปภาษีใด  ใหถือเปนเงินไดพึงประเมินของปภาษีนั้น        เปนหลักสืบเนื่องจากเกณฑเงินสด  และการรับรูเงินไดพึงประเมินเปนรายปภาษี  จึงตองถือปฏิบัติโดยเครงครัด

               อยางไรก็ตาม ในทางภาษีเงินไดบุคคลธรรมดามีบทบัญญัติและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กําหนดไวเปนอยางอื่นดังนี้
                    (1)   โดยทั่วไปคาภาษีที่ผูจายเงินเงินหรือผูอื่นออกแทนให   สําหรับเงินไดพึงประเมินประเภทใด้ ใหถือเปนเงินไดพึงประเมินประเภทนั้น และไมวาจะออกใหในทอดใดๆ ก็ใหถือเปนเงินได้พึงประเมินทุกทอด  และในกรณีที่ไดมีการออกคาภาษีอากรดังกลาว ในปภาษีเดียวกับปที่เกิดเงินไดพึงประเมินที่ออกภาษีอากรแทนใหก็ยอมถือเปนเงินไดพึงประเมินสําหรับปภาษีนั้นทั้งหมด
อยางไรก็ตาม ในกรณีที่ไดมีการออกคาภาษีอากรแทนให คนละปภาษีกับปที่เกิดเงินไดพึงประเมิน   ก็ยังคงใหถือวาคาภาษีอากรที่ออกแทนใหนั้นเปนเงินไดพึงประเมินของปภาษีเดียวกันกับ ปภาษีที่เกิดเงินไดพึงประเมินที่มีการออกคาภาษีแทนให
                    (2) กรณีที่ ขาราชการ พนักงานของทางราชการ และพนักงานขององคการของรัฐบาลถูกสั่งลงโทษใหพักราชการหรือออกจากราชการไปแลว แตภายหลังปรากฏวาไมมีความผิด ไดกลับเขา รับราชการ หรือกรณีอื่นที่ทางราชการไมไดจายเงินเดือน หรือบํานาญใหเมื่อถูกสั่งพักราชการ  หรือใหออกแตมาไดรับเงินเดือน หรือตกเบิกยอนหลังหลายปในปเดียว  ทําใหเงินไดที่ไดรับนั้นตองนํามารวมคํานวณภาษีเงินไดในปเดียวกัน ซึ่งมิใชเปนความผิดของผูมีเงินไดแตประการใด  จึงกอใหเกิดความไม เปนธรรมแกบุคคลเหลานั้น เพราะนอกจากจะไดรับความเดือน
รอนในขณะที่ออกจากราชการ โดยไมมีความผิดและไมมีรายไดแลว พอไดรับเงินตกเบิกยอนหลัง กลับตองนําเงินไดนั้นมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีในอัตราสูงอีกดวย
ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพื่อความเปนธรรมของบุคคลผูมีเงินได ในกรณีเชนนี้ กระทรวงการคลังจึงใหถือวา เงินที่บุคคลดังกลาวมีสิทธิจะไดรับสําหรับปภาษีใด ใหคงถือเปนเงินไดของปภาษีนั้น  และใหขยายเวลายื่นรายการและชําระภาษีสําหรับเงินไดแตละปดังกลาวออกไปเปนภายในเดือนมีนาคมของปถัดจากปที่ไดรับเงินตกเบิก (ประกาศกระทรวงการคลัง  เรื่อง  การเสียภาษีเงินไดและการขยายระยะเวลาชําระภาษี สําหรับผูที่ตองออกจากราชการโดยไมมีความผิด)
                      (3)  ในกรณีที่ผูมีเงินไดจากการใหเชาทรัพยสินไดรับเงินไดที่เปนเงินกินเปลา   เงินแปะเจี๊ยะ  เงินคาปลูกสราง  เงินคาซอมแซมที่เรียกเก็บไว หรือประโยชนที่ไดจากการไดกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนที่ผูเชายกใหโดยผูใหเชายอมใหผูเชาไดเชาอาคำรหรือโรงเรือนเปนระยะเวลานานเชน 10 ป 20 ป หรือ 30 ปเปนตน โดยทั่วไปผูมีเงินไดตองนําเงินไดพึงประเมินดังกลาวมารวมคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินไดในปภาษีที่ไดรับเงิน   หรือประโยชนนั้นทั้งสิ้นตามเกณฑรับรูเงินไดพึงประเมินตามเกณฑเงินสด ดังกลาวขางตน ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นวา   ถาผูใหเชาจะตองรับภาระเสียภาษีเงินไดดังกลาวทั้งหมดในปภาษีที่ไดรับเงินได ก็ยอมจะเปนภาระหนักแกผูใหเชามิใชนอย  ฉะนั้น เพื่อเปนการบรรเทาภาระภาษี   และเพื่อเปดโอกาสใหผูมีเงินไดดังกลาว   เสียภาษีโดยถูกตองตามกฎหมาย  กระทรวงการคลังจึงอนุโลมยอมใหผูมีเงินไดเฉลี่ยเงินไดดังกลาว    ตามสวนแหงจํานวนปของอายุการเชา  ทั้งนี้  เฉพาะกรณีที่ผูมีเงินได ไดยื่นแบบแสดงรายการ  ภ.ง.ด.93  และชําระภาษีเงินไดจากเงินไดที่เฉลี่ยเปนรายปดังกลาว เปนการลวงหนาใหเสร็จสิ้นไปในปที่ไดรับเงินไดพึงประเมินนั้น

                มิฉะนั้น เจาพนักงานประเมินกรมสรรพากรจะทําการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินไดกอนถึงกําหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา  60  ทวิ  แหงประมวลรัษฎากร (ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผูมีเงินไดจากการใหเชาทรัพยสินไมยื่นรายการเงินไดใหครบถวน)
                อนึ่ง  ในกรณีที่เจาของที่ดินทําสัญญาใหผูอื่นทําการปลูกสรางอาคาร  หรือโรงเรือนบนที่ดินของตน   โดยผูปลูกสรางยกกรรมสิทธิ์ในอาคาร  หรือโรงเรือนที่ปลูกสรางนั้นใหแกเจาของที่ดิน เมื่อสรางเสร็จ  และเจาของที่ดินตกลงใหผูปลูกสรางเชาหรือใหเชาชวงอาคารหรือโรงเรือนหรือตกลงให้ผู้ปลูกสร้างจัดหาผู้เช่าอาคารหรือโรงเรือนนั้นโดยตรงจากเจ้าของที่ดินเป็นการตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนด
                 ให้คำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินตามจำนวนปีแห่งอายุการเช่าในอัตราร้อยละของมูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์...
               คำว่า “มูลค่าอาคารหรือโรงเรือน” หมายความว่า ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ในกรณีดังกล่าว ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้นให้ถือราคาทุนที่แท้จริงของอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์
มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนดังกล่าว เป็นมูลค่าที่ได้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามจำนวนปีแห่งอายุการเช่าแล้ว จะนำมาหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการ คำนวณภาษีเงินได้สำหรับกรณีดังกล่าวซ้ำอีกไม่ได้
             ทั้งนี้ ให้นำเงินได้พึงประเมินที่คำนวณได้ มาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ได้ โดยให้เจ้าของที่ดินยื่นรายการขอชำระภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เฉลี่ยได้เป็นรายปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนนั้นตามมาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร   ในกรณีเจ้าของที่ดินมิได้ปฎิบัติตามนัยดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินดังกล่าวตามมาตรา 18 ทวิ หรือมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
               ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวข้างต้นมิให้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
        4.หลักเงินไดพึงประเมินของบุคคลใด ใหถือเปนเงินไดของบุคคลนั้น
             โดยทั่วไป เงินได้พึงประเมินของบุคคลใดให้ถือเป็นเงินได้ของบุคคลนั้นและใหบุคคลนั้นเปนผู้มีหนาที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได  เวนแตกรณีที่กฎหมายกําหนดไวเปนอยางอื่น
(1) สําหรับผูมีเงินไดที่เปนบุคคลธรรมดาที่มีชีวิตจนถึงสิ้นปภาษี (วันที่ 31 ธันวาคม)
        ( ก)    กรณีผูมีเงินไดเปนผูมีความสามารถ  (บรรลุนิติภาวะ)  ใหผูมีเงินไดยื่นรายการและเสียภาษีเงินไดโดยตนเอง
         (ข)  กรณีผูมีเงินไดเปนผูเยาว ใหผูแทนโดยชอบธรรมเปนผูมีหนาที่ยื่นรายการและ เสียภาษีเงินไดในนามผู้เยาว์แทนผูเยาว์  เวนแตในกรณีที่บุตรผูเยาว ไมวาจะเปนบุตรชอบดวยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมก็ตาม เปนผูมีเงินไดพึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) - เงินปนผลหรือเงินสวนแบงของกําไร เพื่อประโยชนในการคํานวณเงินได  ใหถือวาเงินไดของบุตรผู้เยาว์ ดังกลาวเปน เงินไดของบิดาหรือมารดาแลวแตกรณี
            อยางไรก็ตาม ในปที่บุตรดังกลาวเปนผูบรรลุนิติภาวะ   และไดรับเงินปนผลหรือเงินสวนแบงของกําไร ทั้งนี้ ไมวาจะไดรับเงินปนผล หรือเงินสวนแบงของกําไรกอนหรือตั้งแต่วันที่บรรลุนิติภาวะก็ตาม เงินไดดังกลาวใหยังคงถือเปนเงินไดของบุตรผูมีเงินไดนั้น     เชนเดียวกับเงินได้ประเภทอื่นๆ และสําหรับการยื่นรายการ และการเสียภาษีเงินได ตั้งแตปภาษีที่บรรลุนิติภาวะเปนตนไป ใหเปนหนาที่ของผูบรรลุนิติภาวะนั้นตามหลักการใน (ก) ขางตน
        (ค) กรณีผูมีเงินไดเปนผูที่ศาลสั่งใหเปนคนไรความสามารถ ใหผูอนุบาลเปนผูมีหนาที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินไดแทนผูมีเงินไดดังกลาว
        (ง) กรณีผูมีเงินไดเปนผูที่ศาลสั่งใหเปนคนเสมือนไรความสามารถ ใหผูพิทักษเปนผู้มีหนาที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินไดแทนผูมีเงินไดดังกลาว
        (จ) กรณีผูมีเงินไดเปนผูอยูในตางประเทศ ใหผูจัดการกิจการอันกอใหเกิดเงินไดพึงประเมินเปนผูมีหนาที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินไดแทนผูมีเงินไดดังกลาว
       (ฉ)  กรณีผูมีเงินไดเปนบุคคลที่ตั้งตัวแทนจัดการทรัพยสิน  หรือผูรับประโยชนจากทรัสต ใหตัวแทนหรือ
ทรัสตีเปนผูมีหนาที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินไดแทนผูมีเงินไดดังกลว
       (ช)  กรณีผูมีเงินไดดังกลาวขางตนซึ่งมีชีวิตอยูตลอดปภาษี    แตไดถึงแกความตาย กอนที่จะไดมีการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได  ใหผูจัดการมรดก  หรือทายาทหรือผูรอบครองทรัพย์มรดกแลวแตกรณีเปนผูมีหนาที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินไดแทนผูมีเงินไดดังกลาว
     (ซ)   เงินได้ของภรรยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี
     กรณีผูมีเงินไดเปนผูมีคูสมรสโดยสามี หรือภริยาเปนผูมีเงินได แตเพียงฝายเดียว
ไมวาความเปนสามีภริยาจะไดมีอยูตลอดปภาษีนั้นหรือไม  ใหสามีหรือภริยาฝายที่มีเงินไดนั้นเปนผูมีหนาที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินไดโดยตนเอง
      ก่อนปีภาษี 2555  ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้เงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี ดังนี้
          มาตรา 57 ตรี ในกรณีความเปนสามีภริยาไดมีอยูตลอดปภาษี   (หรือสามี และภริยาอยูร่วมกันตลอดปภาษี)     ใหถือวาเงินไดพึงประเมินของภริยา เปนเงินไดของสามี    และใหสามีมีหนาที่และความรับผิดชอบในการยื่นราย การและเสียภาษีเงินได (ไม่ใช้บังคับแล้ว)
      มาตรา 57 เบญจ  ถ้าภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วยหรือไม่ ภริยาจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี ก็ได้(ไม่ใช้บังคับแล้ว)
     
          คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555  ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555  วินิจฉัยว่า มาตรา 57 ตรีและ มาตรา 57 เบญจ  แห่ง ปรก.  ขัดรัฐธรรมนูญ  ปี 2550 มาตรา 30  จึงใช้บังคับไม่ได้   ตั้งแต่ปีภาษี 2555  เป็นต้นไปให้สามี ภรรยา แยกยื่นแบบในส่วนเงินได้ของตนเอง ทุกประเภทเงินได้ (ไม่มีผลย้อนหลัง)
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) (3) (4)(5) (6) (7) (8) ประกอบมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 ประกอบมาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 36/2553)

              ประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และกำหนดให้เฉพาะภริยาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตามมาตรา 57 ตรี นั้น
              เป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยาในกรณีที่ภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่ากรณีของสามีภริยาที่ภริยามีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้หญิงมีสามีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าหญิงโสดที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) ทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว ชายหญิงจึงไม่นิยมสมรสกันเพราะต้องรับภาระภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ที่สมรสกันอยู่แล้วก็ต้องวางแผนภาษี โดยการจดทะเบียนหย่าเพื่อที่จะไม่ต้องนำเอาเงินได้พึงประเมินของทั้งสองฝ่ายมารวมกันให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
               บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล และมิได้เป็นมาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30    ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6   อนึ่ง ปัญหาเดียวกันนี้ ได้เคยมีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ตามคำวินิจฉัยที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ซึ่งวินิจฉัยในทางตรงกันข้ามกับคำวินิจฉัยในปี 2555 นี้  
             ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้ดำเนินการแก้ไขประมวลรัษฎากรให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ     โดยตราเป็น พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๕”           มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๕”
มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติมาตรา ๓ และมาตรา ๖ ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษีพ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๔๗ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๒) ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ การหักลดหย่อนตาม (๑) (ก) และ (ข) ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ๖๐,๐๐๐ บาท”
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๕๗ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๘๙
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๗ ฉ แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา ๕๗ ฉ ในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตามมาตรา ๕๖ ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง เว้นแต่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยา ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง สามีและภริยาจะตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ หรือจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) โดยมิให้ถือเอาเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้แต่ถ้ามีภาษีค้างชำระสามีและภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้น เมื่อได้เลือกยื่นรายการตามวรรคสองและวรรคสามในปีภาษีใดแล้ว ให้ถือว่าเป็นวิธีการยื่นรายการสำหรับปีภาษีนั้นตลอดไป เว้นแต่อธิบดีจะอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการดังกล่าว”
มาตรา ๗ บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ



                  แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา
สามีภรรยามีสิทธิเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
     1. การยื่นรายการและเสียภาษีแยกต่างหากจากกัน
       1.1 สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีในนามตนเอง สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ต่างฝ่ายได้รับ
        1.2 สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ไม่อาจแยกได้ว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจานวนเท่าใด
               (1) ถ้าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8)แห่งประมวลรัษฎากร ให้แบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
              (2) เฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จะเลือกแบ่งเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับถ้าตกลงกันไม่ได้ให้แบ่งเป็นของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
เมื่อได้เลือกตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้ถือว่าเป็นวิธีการยื่นรายการสาหรับปีภาษีนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการในปีภาษีเดียวกัน จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน
          2. การเลือกยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน
          สามีและภริยาอาจเลือกยื่นรายการและเสียภาษีโดยเลือกเอาเงินได้ทุกรายการไปรวมกันและยื่นเสียภาษีในนามของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งหรือจะเลือกแยกเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ยื่นรายการและ เสียภาษีในนามของตนเองก็ได้ ดังนี้
           วิธีที่ 1 การยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันทั้งหมด ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินทั้งหมดของภริยาเป็นเงินได้ของสามีหรือเอาเงินได้พึงประเมินทั้งหมดของสามีเป็นเงินได้ของภริยา
           วิธีที่ 2 การเลือกยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันบางส่วน ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินทั้งหมดตามมาตรา 40 (2) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี หรือเอาเงินได้ทั้งหมดตามมาตรา 40 (2) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ของสามีเป็นเงินได้ของภริยา ส่วนเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของแต่ละฝ่ายให้แยกยื่นรายการและเสียภาษี ในนามของตนเองก็ได้


5 .หลักการเกิดขึ้นของเงินไดพึงประเมิน 
   (1) เงินไดพึงประเมินตองเกิดขึ้นเนื่องจากหนาที่งานที่ทํา หรือกิจการที่ทํา หรือเนื่องจากทรัพยสิน จึงจะรับรู้เปนเงินไดพึงประเมิน ทั้งนี้ ไมวาจะเกิดขึ้นจากแหลงเงินไดในประเทศหรือแหลงเงินไดในตางประเทศก็ตาม
   (2)   เงินไดพึงประเมินที่ไดรับมานั้น   ไมวาผูมีเงินไดจะไดรับมาโดยชอบดวยกฎหมายหรือโดยผิดกฎหมายก็ตาม ผูมีเงินไดมีหนาที่ตองเสียภาษีจากเงินไดดังกลาวเสมอหากไม่มีกฏหมายยกเว้นภาษีให้  เชน เงินไดจากการขายสินคาที่ปลอมปนขึ้น เงินไดจากการขายสิ่งเสพติดที่ผิดกฎหมาย เงินไดจากการเลนการพนันโดยผิดกฎหมาย หรือเงินไดจากการกระทําผิดกฎหมายใดๆ เปนตน
     
           ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้ หรือเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่าผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีมีอำนาจที่จะกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้ หรือรายจ่ายของผู้มีเงินได้ หรือฐานะความเป็นอยู่ หรือพฤติการณ์ของผู้มีเงินได้ หรือสถิติเงินได้ของผู้มีเงินได้เอง หรือของผู้อื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกับของผู้เงินได้เป็นหลักในการพิจารณา แล้วทำการประเมินแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี


เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง ?

หน้าที่ของผู้มีเงินได้พึงประเมินที่เป็นบุคคลธรรมดา
           1.ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
            เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก   ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 30 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา(อำเภอ)ทุกแห่ง
         สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากร พื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากร พื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี
         ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้สามารถขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทางอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซด์กรมสรรพากร www.rd.go.th
              2.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได ้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้อง ยื่นแบบภ.ง.ด.94 ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี โดยยื่นแบบชำระภาษีได้ที่สำนักสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้ผู้มีเงินได้ สามารถเสียภาษีอากรทางอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซด์กรมสรรพากร www.rd.go.th

         เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี ?

เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริงที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่ได้รับจริง
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

 เงินได้พึงประเมินมีกี่ประเภท

             เงินได้พึงประเมิน  ตามมาตรา  ๔๐  แบ่งออกได้เป็น  ๘  ประเภท  การแบ่งแยกประเภทของเงินได้ให้ถูกต้องมีความสำคัญ    เพราะประเภทของภาษีเงินได้มีความเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ๕  ประการ  คือ
ประการที่หนึ่ง   การคำนวณหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมิน   เนื่องจากเหตุที่ทำได้รับเงินได้พึงประเมินทั้ง  ๘  ประเภทนั้น  แตกต่างกัน  เงินได้บางประเภทไม่ต้องใช้เงินลงทุน  เพียงแต่ใช้แรงกายและความคิด  เงินได้บางประเภทต้องลงทุนสูง  มีค่าใช้จ่ายมาก  เงินได้บางประเภทไม่มีค่าใช้จ่ายเลย   ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้เงินได้พึงประเมิน แต่ละประเภทหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน  บางประเภทไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย  ดังนั้น  หากแยกประเภทของเงินได้ไม่ถูกต้องทำให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องไปด้วย

ประการที่สอง   ประมวลรัษฎากรกำหนดวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้สองวิธี   วิธีที่หนึ่ง  ตามมาตรา  ๔๘ ( ๑ )   คือการนำเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎมายกำหนดไว้  แล้วหักลดหย่อนตาม มาตรา ๔๗   เหลือเท่าใด เป็น  เงินได้สุทธิ  ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีที่จะต้องเสียตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้า  เริ่มต้นตั้งแต่อัตราร้อยละ  ๕  ถึง ร้อยละ  ๓๕
วิธีที่สอง  เมื่อคำนวณด้วยวิธีแรกแล้ว  มาตรา  ๔๘ ( ๒ )  บัญญัติว่า  ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นที่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )  รวมเป็นเงินตั้งแต่  ๖๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป  ต้องนำเงินได้ดังกล่าวทั้งหมด โดยไม่หักค่าใช้จ่าย มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ  ๐.๕  คิดเป็นเงินภาษีได้เท่าใด  ให้นำไปเปรียบเทียบกับการคำนวณภาษีตามวิธีที่หนึ่ง   วิธีใดต้องเสียภาษีเงินได้มากกว่า  ให้เสียภาษีตามนั้น
ประการที่สาม   การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น  ตามปกติต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคม  ของปีภาษีถัดไปตามมาตรา  ๕๖  วรรคหนึ่ง   แต่ถ้าเงินได้ที่ได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๕ ) ( ๖ ) ( ๗ ) หรือ ( ๘ )  รวมกันมีจำนวนเกิน  ๓๐,๐๐๐  บาท  กรณีที่เป็นคนโสด  หรือ  ๖๐,๐๐๐  บาท ในกรณีที่มีคู่สมรส  มาตรา  ๕๖  ทวิ  กำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั้งสี่ประเภทดังกล่าว  ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นได้หรือไม่  ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี  โดยต้องนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๕ ) ถึง ( ๘ )  ที่ได้รับ  ตั้งแต่วันที่  ๑  มกราคม  ถึงวันที่  ๓๐  มิถุนายน  มายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีภายในเดือนกันยายน  โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย  และหักลดหย่อนตามมาตรา  ๔๗  ได้ครึ่งหนึ่ง ตามมาตรา  ๕๖  ทวิ วรรคสอง  หากมีภาษีต้องชำระ  ต้องชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ  เงินภาษีที่ได้ชำระไปดังกล่าว  เป็นการชำระภาษีล่วงหน้า  ถือเป็น เครดิตภาษี   เมื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป  ตามมาตรา  ๕๖  วรรคหนึ่ง  สามารถนำภาษีที่ชำระตามมาตรา  ๕๖  ทวิ  มาหักออกจากจำนวนภาษีที่ต้องชำระเมื่อสิ้นปีภาษีได้  แต่เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน  ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๕ )  ที่จะต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปีนั้น   ไม่รวมถึงเงินกินเปล่า  เงินช่วยค่าก่อสร้าง  เงินค่าซ่อมแซม  ค่าแห่งอาคำร หรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์
ดังนั้น  ผู้มีเงินได้ทั้งสี่ประเภทดังกล่าว  จึงมีหน้าที่เสียภาษีครึ่งปีจากเงินได้ดังกล่าว  หากมีเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ ) ถึง ( ๔ )  ด้วย  ไม่ต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีครึ่งปี  แต่นำมายื่นแบบแสดงรายการในเดือนมีนาคมของปีภาษีถัดไป พร้อมกับเงินได้อื่นที่ได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วทั้งหมด  หากมีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี แล้วไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีครึ่งปีตามมาตรา  ๕๖  ทวิ  แล้วไม่ยื่น  แม้จะนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในเดือนมีนาคมครบถ้วน   แต่เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินให้ชำระภาษีครึ่งปี  พร้อมเงินและเบี้ยปรับจากการไม่ยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าวได้

   ประการที่สี่  หน้าที่ในการหักภาษี  ณ  ที่จ่าย  เพราะกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินได้บางประเภทให้แก่ผู้มีเงินได้  มีหน้าที่หักภาษีไว้  ณ  ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากร  โดยกำหนดวิธีคำนวณหักภาษี  ณ  ที่จ่ายสำหรับเงินได้แต่ละประเภทไว้โดยเฉพาะ ตามมาตรา  ๕๐  และ กฎกระทรวง  ฉบับที่ ๑๔๔ ( พ.ศ.  ๒๕๒๒ )ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา  ๓  เตรส  หากผู้มีหน้าที่หักภาษี  ณ  ที่จ่าย  ไม่หักภาษีไว้ตามที่กฎหมายกำหนด  ผู้จ่ายเงินได้จะต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ด้วยในจำนวนภาษีที่คำนวณหักไว้ขาด  หรือไม่ได้หักและนำส่ง
จะเห็นได้ว่า  การวินิจฉัยว่าเงินได้ที่ได้รับนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด จึงเป็นสิ่งสำคัญ   ในเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงเงินได้พึงประเมินบางประเภทด้วยเช่นกัน  เราจึงต้องศึกษาถึงประเภทของเงินได้โดยละเอียด

เงินได้พึงประเมินนั้นแบ่งออกเป็น  ๘  ประเภท ตามมาตรา  ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร คือ

( ๑ )  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ ) คือเงินได้จากการจ้างแรงงาน  ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน  ค่าจ้าง  เบี้ยเลี้ยง  โบนัส  บำเหน็จ  บำนาญ  เงินค่าเช่าบ้าน  เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการไอยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ชำระ  และเงิน  ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

สำหรับมูลค่าของการที่อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่านั้น  กรมสรรพากรคำนวณประโยชน์เพิ่มเป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ  ๒๐  ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี
( ถ้ามี ) โดยไม่รวมโบนัส  กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  ให้ประเมินว่าค่าเช่าบ้านหลังนั้นควรเป็นเท่าใด  แล้วเฉลี่ยค่าเช่าบ้านตามที่ประเมินได้เป็นเงินได้ของลูกจ้างตามส่วนของเงินเดือนรวมเงินเพิ่มตลอดปี  โดยไม่รวมโบนัส   หากบ้านที่ลูกจ้างได้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าเป็นบ้านที่นายจ้างไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง  ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มเป็นเงินเพิ่มตามค่าเช่าที่นายจ้างได้จ่ายไปจริง   ในกรณีที่นายจ้างเช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งระดับบริหาร  โดยนายจ้างออกค่าเช่า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำประปา  ค่าไฟฟ้า  ค่าคนสวน  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน
แม้ต่อมาพนักงานผู้นั้น หรือนายจ้าง  จะใช้บ้านดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ประชุมและปรึกษาหารือกิจการของนายจ้าง  หรือเลี้ยงรับรองลูกค้าสำคัญ ๆ ของ นายจ้างเป็นครั้งคราว  ให้ถือว่าค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายไปเป็นประโยชน์ที่พนักงานผู้นั้นได้รับทั้งสิ้น  พนักงานผู้นั้นต้องนำประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของตนเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
เงินค่าชดเชย  ค่าทดแทน  และค่าทำศพ  ตลอดจนค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง  ตามกฎหมายแรงงาน  ถือเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงานทั้งสิ้น  แต่เงินค่าทดแทนและค่าทำศพ เป็นเงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา  ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท  ตามมาตรา  ๔๒ ( 28 )  ส่วนเงินค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยที่นายจ้างออกให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างสำหรับการรักษาสามี  ภริยา  บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ของลูกจ้างที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง   และเงินค่ารักษาพยาบาลลูกจ้างในต่างประเทศ  ในขณะที่ลูกจ้างปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว  และได้จ่ายไปทั้งหมด  เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่  ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๐๙ ) ข้อ ๒ ( ๔ )  ซึ่งออกโดยอาศัยมาตรา  ๔๒ ( ๑๗ )

( ๒ )  เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )  เงินได้ประเภทนี้คือ  เงินได้จากหน้าที่  หรือตำแหน่งงานที่ทำ  หรือจากการรับทำงานให้โดยใช้แรงงานของตนเองเป็นสำคัญ(มีค่าใช้จ่ายน้อย)  ไม่ว่าจะเรียกว่า ค่าจ้าง  ค่าตอบแทน เบี้ยประชุม  บำเหน็จ  ค่านายหน้า  ค่าธรรมเนียม  ส่วนลด  เงินอุดหนุน  หรือเรียกเป็นอย่างอื่น  รวมถึงประโยชน์อย่างอื่นใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่  หรือตำแหน่งงานที่ทำ  หรือจากการรับทำงานให้นั้น เช่น   การที่ได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  เหมือนเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )  ไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว  

เงินได้ประเภทนี้ เช่น  เงินค่านายหน้าจากการติดต่อขายสินค้า   ค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์  ค่าบำเหน็จที่จ่ายให้แก่ชิปปิ้ง ในการเป็นตัวแทนดำเนินการผ่านพิธีการทางศุลกากรในการนำของเข้า หรือส่งของออกนอกราชอาณาจักร
       เงินค่าตอบแทนที่สถาบันการศึกษา  หรือผู้จัดสัมมนา จ่ายให้แก่อาจารย์พิเศษ หรือผู้บรรยายในการสัมมนา เป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )  แต่ถ้าเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเงินค่าสอน  ค่าสอบ  หรือเบี้ยประชุมที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้  จะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา  ๔๒ ( ๗ )  แห่งประมวลรัษฎากร
         เงินบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิต  เป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )  แต่ถ้าผู้มีเงินได้ดำเนินงานในลักษณะที่มีสำนักงาน  มีลูกจ้างประจำ  กรมสรรพากรถือว่าเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ  ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร
       ค่าตอบแทนการวิ่งเต้นให้ได้ทำสัญญา  เข้าลักษณะเป็นนายหน้า ตัวแทน จึงเป็นเงินได้รับจึงเป็นเงินได้ตาม มาตรา  ๔๐ ( ๒ ) แห่งประมวลรัษฎากร
        เบี้ยประชุม  เป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )  แต่ถ้าเป็นเบี้ยประชุมที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างของตนเอง  เป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )  เพราะเป็นเงิน  หรือค่าตอบแทนที่ได้รับจากการจ้างแรงงาน
ข้อสังเกต
๑ )  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )  เป็นเงินได้ที่ผู้จ่ายและผู้รับมีนิติสัมพันธ์ในลักษณะของนายจ้างกับลูกจ้าง  คือนายจ้างต้องมีอำนาจบังคับบัญชา  ส่วนเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )  ผู้จ่ายและผู้รับมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างทำของ  หรือ ตัวแทน  นายหน้า
๒)  เงินได้พึงประเมินที่ได้รับตามสัญญาจ้างทำของเป็นเงินได้ตาม มาตรา  ๔๐ ( ๒ ) หรือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ  การพาณิชย์ ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ ) ก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่า  การกระทำที่ก่อให้เกิดเงินได้นั้นมีค่าใช้จ่ายมาก หรือน้อย  
     เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐  แห่งประมวลรัษฎากร จะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น  ต้องพิจารณาถึงรายจ่ายและลักษณะของงานที่ทำประกอบด้วย  เงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )  แห่งประมวลรัษฎากร  ลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้น้อย      ส่วนเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ  การพาณิชย์  อันเป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง  ประมวลรัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )
ข้อสังเกต
๑.     เงินได้ที่เป็นส่วนลด  และส่วนลดพิเศษ ที่บุคคลผู้รับทำงานให้ได้รับจากระบบขายตรง  โดย ผู้จำหน่ายต้องสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทขายตรง และมีหลักเกณฑ์ว่า
( ๑ ) ผู้จำหน่ายจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการสมัครในปีแรก  และปีต่อ ๆ ไปกับบริษัทขายตรง  โดยผ่านผู้จำหน่ายตรงหรือสปอนเซอร์
( ๒ ) ในการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งต้องเขียนใบสั่งซื้อ  โดยกรอกหมายเลขประจำตัวผู้จำหน่าย  หมายเลขประจำตัวผู้จำหน่ายตรง  ชื่อสินค้า  รหัสสินค้า  จำนวนที่สั่งซื้อ และต้องสั่งซื้อแต่ละครั้งตามข้อกำหนดของบริษัทขายตรง
( ๓ ) ในการขายสินค้า  บริษัทขายตรงจะเป็นผู้กำหนดราคำขายปลีก  ผู้จำหน่ายทุกระดับจะต้องขายในราคำเดียวกัน ต้องดำเนินตามแผนการขายและการตลาดของบริษัทขายตรง
( ๔ )  ในการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าแต่ละครั้ง  ผู้จำหน่ายทุกระดับต้องจ่ายเงินสดในการซื้อเป็นจำนวนเท่ากับราคำขายปลีก ตามที่บริษัทขายตรงกำหนดทุกครั้ง  โดยไม่มีการหักค่าส่วนลดใด ๆ ทั้งสิ้น
ผลประโยชน์ที่ผู้จำหน่ายตรง  ผู้สปอนเซอร์  และผู้จำหน่ายได้รับ  ไม่ว่าจะเป็นส่วนแบ่งกำไรร้อยละ  ๒๕  ของยอดขายปลีกที่ผู้จำหน่ายแต่ละระดับขายได้เองในแต่ละเดือน  ส่วนลด  เป็นค่าตอบแทนในระดับต่าง ๆ ที่ได้รับจากบริษัทขายตรงในอัตราที่แตกต่างกันไป  และส่วนลดพิเศษ ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่บริษัทขายตรงจ่ายให้เฉพาะผู้จำหน่ายตรงในกรณีต่าง ๆ   ซึ่งบริษัทขายตรงจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายทุกระดับเป็นรายเดือน  โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้จำหน่ายตรงภายในวันที่  ๑๕  ของเดือนถัดไป  และผู้จำหน่ายตรงจะนำผลตอบแทนของผู้จำหน่ายในระดับอื่นไปจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายระดับอื่นในกลุ่มของตนเองนั้น  เป็นเงินได้พึงประเมินลักษณะเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้  ตามมาตรา  ๔๐  ( ๒ ) แห่งประมวลรัษฎากร

( ๓ )  เงินได้พึงประเมินตาม มาตรา  ๔๐ ( ๓ )   เงินได้พึงประเมินประเภทนี้  ได้แก่              ค่ากู๊ดวิลล์  ค่าแห่งลิขสิทธิ์  หรือสิทธิอย่างอื่น  เงินปี  หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม  นิติกรรมอย่างอื่น  หรือคำพิพากษาของศาล

กู๊ดวิลล์   คือชื่อ ยี่ห้อทางการค้า  เช่นไก่ย่างห้าดาว  ตัวอย่างของเงินได้ประเภทนี้  เช่น  ค่าตอบแทนเพื่อการใช้ชื่อในทางการค้า  หรือสิทธิในการใช้ลิขสิทธิ์ ในงานวรรณกรรม   หรือภาพยนตร์  หรือฟีลม์ หรือเทปที่ใช้สำหรับการกระจายเสียงทางวิทยุ  หรือทางโทรทัศน์  ค่าตอบแทนจากการใช้สิทธิบัตร ( Patent )  ความรู้ทางเทคนิค  ( Know –How )  เครื่องหมายการค้า  ( Trade  Mark )   เป็นต้น
       ค่าออกแบบสนามกอล์ฟ โดยบริษัทผู้ออกแบบตกลงจะทำแผนผังรายละเอียด และงานเขียนแบบสำหรับใช้ในการก่อสร้างสนามกอล์ฟ โดยบริษัทผู้ออกแบบยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในงานเขียนแบบก่อสร้าง  ถือเป็นเงินค่าสิทธิ  จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๓ )
    ส่วนคำว่า สิทธิอย่างอื่น นั้น    หมายถึงสิทธิอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับค่ากู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการเช่าจึงมิใช่สิทธิอย่างอื่นตามมาตรา๔๐ ( ๓ ) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ ( ๘ )

( ๔ )  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๔ )  คือเงินได้จากการลงทุน  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดคือ

( ก )  เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยประเภทต่าง ๆ  ไม่ว่าดอกเบี้ยเงินฝาก  ดอกเบี้ยพันธบัตร  หรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ฯลฯ รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย  ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม  หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด  ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
( ข )  เงินปันผล  เงินส่วนแบ่งกำไร  หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  กองทุนรวม  หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืม  เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม  พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ฯลฯ
        คำว่า  กองทุนรวม  ตามมาตรานี้  หมายถึงกองทุนรวมที่มิได้เป็นนิติบุคคลตาม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  พ.ศ.  ๒๕๓๕  มาตร  ๑๒๔  เพราะ มาตรา  ๓๙  แห่งประมวลรัษฎากร  ได้บัญญัติให้ความหมายของคำว่า กองทุนรวม ไว้ว่า  หมายความว่า  คณะบุคคล  ซึ่งเข้าร่วมในกองทุนซึ่งจัดตั้งและดำเนินการโดยบริษัทจัดการลงทุน ตามโครงการในการประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน  ดังนั้น  เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลจึงไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา ๔๐ ( ๔ ) ( ข )  แต่เป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  เพราะไม่อาจจัดเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา ๔๐ ( ๑ ) ถึง ( ๗ ) ได้
          เงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไรตามข้อ ( ข ) นี้  หากผู้มีเงินได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  และความเป็นสามีภริยาของบิดามารดามีอยู่ตลอดปีภาษี  มาตรา  ๔๐ ( ๔ ) ( ข ) วรรคสอง  และวรรคสาม  บัญญัติให้ถือว่า  เงินได้ของบุตร หรือบุตรบุญธรรม เป็นเงินได้ของบิดา  ทั้งนี้  เพื่อป้องกันมิให้มีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีโดยใช้ชื่อบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในการลงทุน  หรือรับบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์เพื่อใช้ชื่อบุตรบุญธรรมที่ยังเล็กอยู่ในการลงทุนแทน  แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี  เช่นสามีภริยาหย่าขาดจากกัน  กฎหมายให้ถือว่า เงินได้ของบุตรดังกล่าว  เป็นเงินได้ของบิดา  หรือมารดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง  หรือเป็นเงินได้ของบิดาในกรณีที่บิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม   หากบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรานี้  บรรลุนิติภาวะแล้ว  จะถือว่าเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาต่อไปไม่ได้  ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือบุตรบุญธรรมดังกล่าว  หากมีจำนวนเกิน  ๓๐,๐๐๐  บาท  ผู้นั้นต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ในนามของตนเอง  ตามมาตรา  ๕๖ วรรคหนึ่ง
( ค )  เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น  หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ได้แก่  เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนนอกเหนือจากเงินปันผล  หรือส่วนแบ่งกำไร   เงินโบนัสในกรณีนี้  เป็นเงินตอบแทนสำหรับเงินทุนที่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้นำมาลงทุนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  แตกต่างจากโบนัส ตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )  และ ( ๒ )  ซึ่งเป็นการตอบแทนการจ้างแรงงาน หรือการรับทำงานให้
( ง )  เงินลดทุนของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกัน   เหตุที่ถือว่าเงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ่ายจากกำไร  เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา  ๔๐ ( ๔ ) ( ง )  เนื่องจากเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีกำไร  หากนำกำไรมาจ่ายเป็นเงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไร  จะเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้  บางบริษัทจึงนำเงินกำไร หรือเงินสำรองที่กันไว้จากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนตามกฎหมายมาคืนให้แก่ผู้ลงทุน  โดยวิธีลดทุนแทน  โดยอ้างว่ามีเงินทุนเพียงพอแล้ว  กฎหมายจึงบัญญัติขึ้นมาปิดช่องว่างดังกล่าว
                    ( จ )  เงินเพิ่มทุนของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มา  หรือเงินที่กันไว้รวมกัน  กรณีนี้ คล้ายกับกรณีตาม ( ง )  คือบริษัทมีกำไร  และมีเงินสำรองที่กันไว้จากกำไรตามกฎหมายที่ได้ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนจำนวนมาก  แทนที่จะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น  กลับนำกำไรมาจัดสรรเป็นหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนเดิม  ทำให้ผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น  จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้รับซึ่งคำนวณได้เป็นเงินเท่ากับมูลค่าหุ้นที่ได้รับเพิ่มขึ้น  กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นเงินได้พึงประเมินเท่ากับมูลค่าหุ้นที่ได้รับเพิ่มขึ้น  ด้วย
              หุ้นเพิ่มทุนที่ได้รับนี้  แม้จะเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากกำไรที่ลงทุนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  แต่ไม่ใช่เงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๔ ) ( ข )  ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี  ณ  ที่จ่าย ร้อยละ  ๑๐  ตามมาตรา  ๕๐ ( ๒ ) ( จ )  และผู้มีเงินได้มีสิทธิที่จะเสียภาษีจากเงินปันผลนั้นในอัตราเพียงร้อยละ  ๑๐  โดยไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับนั้นไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ตามมาตรา  ๔๘ ( ๓ )  หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปรวมคำนวณเสียภาษีกับเงินได้อื่นโดยใช้สิทธิเครดิตภาษีตามมาตรา ๔๗  ทวิ ก็ได้  ดังนั้น  ผู้ที่ได้รับหุ้นเพิ่มทุนซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรานี้  จึงต้องนำมูลค่าหุ้นที่ได้รับมารวมคำนวณกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้  และไม่สามารถเครดิตภาษีตาม มาตรา  ๔๗ ทวิได้
               ( ฉ )  ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน  หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน  ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
         เช่น  นาย ก. มีหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ข.  เป็นเงิน  ๑๐๐,๐๐๐  บาท  ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. ตกลงควบเข้ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.  และจดทะเบียนเป็นห้างใหม่  โดยให้ ก. มีหุ้นในห้างใหม่จำนวน  ๑๕๐,๐๐๐  บาท  ดังนี้  มูลค่าหุ้นส่วนเกิน  ๕๐,๐๐๐  บาท ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๔ ) ( ฉ ) ของนาย ก.
            อย่างไรก็ตาม  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากกิจการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด  หรือบริษัทจำกัด ควบเข้ากัน  หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด  ซึ่งตีราคำเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน  ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาตาม กฎกระทรวง ฉบับที่  ๑๒๖  ( พ.ศ. ๒๕๐๙ ) ข้อ ๒ ( ๕๐ )  ซึ่งเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๒๑๕ ( พ.ศ. ๒๕๔๑ )  ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่  ๑๔  พฤศจิกายน  ๒๕๔๑  เป็นต้นไป  ทั้งนี้  เนื่องจากหลังจากเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อปี  ๒๕๔๐  ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีปัญหามาก  ต้องปลดคนงาน  หรือเลิกกิจการ  การที่จะทำให้บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  ทำให้บริษัทเล็กต้องโอนขายกิจการให้บริษัทให้บริษัทใหญ่  หรือต้องควบรวมกันเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง  สามารถฝ่าฟันภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นได้  แต่การควบรวมกัน หรือการโอนกิจการให้แก่กัน  ทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทที่ควบรวมกันดังกล่าวได้รับประโยชน์จากการควบรวมกัน  ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรานี้  รัฐบาลจึงต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่เงินได้ที่เกิดขึ้น  เนื่องจากการควบรวมกิจการ  หรือการโอนกิจการ เป็นการสนับสนุนให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น  ไม่ต้องล้มละลายไป
              ( ช )  ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน  หรือโอนหุ้น  หุ้นกู้  พันธบัตร  หรือตั๋วเงิน  หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก  ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคำเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
             กรณีนี้  เป็นการเก็บภาษีเงินได้ฝ่ายทุน  หรือกำไรฝ่ายทุน ( Capital  Gains Tax )  เช่นเดียวกับกรณี ตาม ( ฉ )  ตัวอย่าง เช่น
ตัวอย่างที่ ๑.  นาย ก. เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทแห่งหนึ่งจำนวน  ๑๐,๐๐๐  หุ้น  โดยซื้อมาในราคาหุ้นละ  ๑๐  บาท  รวมเป็นเงิน  ๑๐๐,๐๐๐  บาท  ต่อมาขายไปในราคาหุ้นละ  ๑๕  บาท  ได้กำไรหุ้นละ  ๕  บาทรวมเป็นเงิน  ๕๐,๐๐๐  บาท   ดังนั้น เงินกำไรที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน  ๕๐,๐๐๐  บาทนี้ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๔ ) ( ช )  ของนายก.
 ตัวอย่างที่ ๒.  นาย ก. ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง  ในราคำ  ๑๐๐,๐๐๐  บาท  ต่อมาโอนขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้  ข.  ในราคำ  ๑๑๐,๐๐๐  บาท  ส่วนต่าง  ๑๐,๐๐๐  บาทนี้  เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา  ๔๐ ( ๔ ) ( ช )  ของนายก.
          แต่เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ไม่รวมเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้ หรือพันธบัตร  จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา      ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๑๒๖  ( พ.ศ. ๒๕๐๙ ) ข้อ ๒ ( ๒๓ )  ทั้งนี้  เพราะรัฐบาลต้องการให้มีการเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์

( ๕ )   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๕ )  เงินได้ประเภทนี้แบ่งได้เป็น  ๓  ประการ คือ  เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

( ก )   การให้เช่าทรัพย์สิน
( ข )   การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
( ค )   การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน  ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
              เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน  ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์  เป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๕ ) ( ก ) นี้ทั้งสิ้น  นอกจากเงินค่าเช่าแล้ว  เงินกินเปล่า  เงินแป๊ะเจี๊ยะ  เงินช่วยค่าก่อสร้าง  หรือประโยชน์ที่ได้จากการได้กรรมสิทธิ์ในอาคำรหรือโรงเรือนที่ผู้เช่ายกให้  ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรานี้ด้วย
นอกจากนี้  ในกรณีของการให้เช่าทรัพย์สินนี้  มาตรา  ๔๐ ( ๕ ) วรรคสองยังให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้ตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ  และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้  ถ้าเจ้าพนักงานมีเหตุอันควรเชื่อว่า  ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป  ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง  ซึ่งเงินได้ประเภทอื่นประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติให้อำนาจเช่นนี้ไว้   แต่อย่างไรก็ตาม  ประมวลรัษฎากรยังให้สิทธิผู้ที่ถูกประเมินอุทธรณ์การประเมินได้  ว่าเงินได้ที่เจ้าพนักงานประเมินนั้นไม่ถูกต้อง   หากผู้ถูกประเมินสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้แสดงเงินได้ต่ำไป  แต่แสดงตามความเป็นจริง  ก็ต้องถือว่ามีเงินได้ตามไว้นั้น  เพราะเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดา ใช้หลักเกณฑ์เงินสด  คือต้องเป็นเงินได้ที่ได้รับมาแล้วจริง
      อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรานี้  เป็นอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีที่มีการให้เช่าทรัพย์สินเท่านั้น  ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล นั้น มาตรา  ๖๕  ทวิ ( ๔ )  จะให้อำนาจเจ้าพนักงาน ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โอนทรัพย์สิน  ให้บริการ  หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน  ค่าบริการ  หรือดอกเบี้ย  หรือมีค่าตอบแทน  ค่าบริการ  หรือดอกเบี้ย  ต่ำกว่าราคำตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร   โดยเจ้าพนักงานมีอำนาจ ประเมินค่าตอบแทน  ค่าบริการ  หรือดอกเบี้ยตามราคำตลาด  ในวันที่โอน  ให้บริการ  หรือให้กู้ยืมเงิน
               ดังนั้น  หากบุคคลธรรมดายกทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้ผู้อื่นโดยเสน่หา  ให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย  หรือให้บริการอื่นโดยไม่คิดค่าบริการ  หรือขายทรัพย์สินในราคำถูกกว่าราคำตลาด   คิดดอกเบี้ย หรือค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาด  เจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจประเมินเงินได้พึงประเมินตามราคาตลาด  เหมือนเช่นกรณีให้เช่าทรัพย์สิน
 กรณีเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นจาก ( ข )  การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน  และ ( ค )  การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายโดยไม่ต้องคืนเงิน หรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว  หมายความถึงเงินได้ที่เกิดจาการผิดสัญญา  เช่นดอกเบี้ยหรือค่าปรับที่คิดเพิ่มเนื่องจากการชำระค่างวดล่าช้า  ค่าทนายความในการทวงถาม  หรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาดังกล่าว  เช่นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์  ในกรณีที่คืนทรัพย์ล่าช้า เป็นต้น  ไม่ใช่เงินค่าเช่าซื้อ  หรือเงินงวดที่ผ่อนตามสัญญา  ซึ่งเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  แห่งประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้  เงินได้ตามข้อ ( ข ) หรือ ( ค ) นั้น  มาตรา  ๔๐ ( ๕ ) วรรคท้าย ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น  เป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษีนั้น
ตัวอย่างเช่น  ก. ซื้อรถยนต์เงินผ่อนจาก ข. ในราคำ  ๒๐๐,๐๐๐  บาท เมื่อวันที่  ๕  ธันวาคม  ๒๕๕๘  โดยชำระในวันทำสัญญา  ๕๐,๐๐๐  บาท   ส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวดรวม  ๓  งวด กำหนดชำระทุกวันที่  ๕  ของเดือน  มีข้อตกลงว่าหากผิดนักงวดใดงวดหนึ่ง  ให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกัน  กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กลับคืนมาเป็นของ ข.  และ  ข. มีสิทธิริบเงินที่ชำระมาแล้ว  ปรากฏว่า ก. ผ่อนชำระเพียงงวดเดียวเมื่อวันที่  ๕  มกราคม
 ๒๕๕๙  แล้วผิดสัญญา ไม่ผ่อนงวดต่อมาอีก  ข. จึงบอกเลิกสัญญาพร้อมกับเรียกรถยนต์คืนจาก  ก.  ก.ยอมคืนรถยนต์ให้และไม่โต้แย้ง  ดังนี้  เงินที่ ก. ชำระในวันทำสัญญา  ๕๐,๐๐๐  บาท และค่างวดเดือนมกราคม  ๒๕๕๙ ที่ได้รับไว้แล้วอีก  ๕๐,๐๐๐  บาท และ ข. ใช้สิทธิริบแล้ว  ถือเป็นเงินได้พึงประเมินจากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ตามมาตรา ๔๐ ( ๕ ) ( ค )  โดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี  ๒๕๕๙  ซึ่งเป็นปีที่ ก. ผิดสัญญา
 

( ๖ )   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๖ )  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ  คือวิชากฎหมาย  การประกอบโรคศิลปะ  วิศวกรรม   สถาปัตยกรรม   การบัญชี   ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

วิชากฎหมาย   เช่น  เงินได้จากค่าทนายความที่ว่าความในศาล   การรับทำสัญญา หรือพินัยกรรม  หรือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย
การประกอบโรคศิลปะ  ได้แก่การประกอบวิชาชีพที่กระทำต่อร่างกายของมนุษย์ในการตรวจโรค  วินิจฉัยโรค  การบำบัดโรค  การป้องกันโรค  การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ  การผดุงครรภ์  ในสาขาเวชกรรม  ทันตกรรม  เภสัชกรรม  การพยาบาลและการผดุงครรภ์  กายภาพบำบัด  และเทคนิคการแพทย์  ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือแผนไทย   แต่การทำประกอบวิชาชีพดังกล่าวต้องมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ  มิใช่จ้างแรงงาน   หากแพทย์เป็นลูกจ้าง ได้รับเงินเดือนจากโรงพยาบาล  เงินได้ที่ได้รับจะเป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )  เมื่อการประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อร่างกายของมนุษย์   การประกอบวิชาชีพของสัตวแพทย์  แม้จะเรียกเป็นแพทย์  แต่ก็ไม่ใช่การประกอบโรคศิลปะ   ดังนั้น เงินที่สัตวแพทย์ได้รับจาการรักษาสัตว์ต่าง ๆ  จึงไม่เป็นเงินได้จากการวิชาชีพอิสระ  แต่เป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ )
วิศวกรรม   ได้แก่  การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ในสาขาวิศวกรรม  รวมถึงการให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรม หรือเกี่ยวกับวิศวกรรม  แต่ไม่รวมถึงการติดตั้ง  ซ่อมแซม  หรือการควบคุม
สถาปัตยกรรม   ได้แก่  วิชาการช่าง เช่น  งานวางโครงการ  วางผังและออกแบบ  ทำรายการกำหนดราคำก่อสร้าง   รวมถึงการให้คำปรึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม   หรือเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม  แต่ไม่รวมถึงการรับเหมาก่อสร้าง  รับพิมพ์แบบพิมพ์เขียว
การบัญชี   ได้แก่ ศิลปะของการเก็บรวบรวม  บันทึก  จำแนก  และนำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน   และการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งมีหลายสาขา  ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชี  การวางระบบบัญชี  การบัญชีการเงิน  การบัญชีต้นทุน  การตรวจสอบบัญชี เพื่อให้ความเห็นต่องบการเงิน
ถ้าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา   ตกลงทำงานให้แก่ หรือในนามของสำนักงานสอบบัญชีที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล   และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล  จัดการ  หรือภายใต้การบังคับบัญชาของสำนักงานสอบบัญชีนั้น  แม้จะเป็นผู้ลงนามให้ความเห็นต่องบการเงิน และต้องรับผิดชอบการลงนามเป็นส่วนตัวตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีก็ตาม  การตกลงรับทำงานให้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน  ค่าตอบแทนที่ได้รับจากสำนักงานบัญชี ไม่ว่าจะจ่ายกันอย่างไรถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ ( ๑ )   แต่ถ้าผู้สอบบัญชีลงนามในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล  เงินได้ที่ได้รับจะเป็นเงินได้พึงประเมินจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา  ๔๐ ( ๖ )  ของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น
ประณีตศิลปกรรม   ได้แก่การกระทำใด ๆ ที่มีคุณค่าทางศิลปะ   กรมสรรพากรถือหลักว่า  ถ้าวัสดุสิ่งของที่นำมาทำนั้นมีราคำน้อย  แต่เมื่อทำเสร็จแล้วผลของงานมีมูลค่า หรือคุณค่าสูง  คือเป็นงานประณีตศิลปกรรม
ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นนั้น   ขณะนี้ ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้วิชาชีพอื่นใด  เป็นวิชาชีพอิสระตามมาตรา  ๔๐ ( ๖ )
ในบรรดาผู้มีเงินได้จากวิชาชีพอิสระต่าง ๆ นั้น  ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่  เป็นเรื่องของวิชาชีพอิสระของแพทย์  เนื่องจากแพทย์นั้น เป็นได้ทั้งเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา  ๔๐ ( ๑ ) กรณีได้รับเงินได้จากโรงพยาบาลที่ตนสังกัด  หรือเป็น เงินได้จากการรับทำงานให้ ตามมาตรา  ๔๐ ( ๒ ) กรณีได้รับเงินได้จากโรงพยาบาลอื่น หรือ กรณีเปิดคลีนิครักษาคนไข้ถือเป็น เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา  ๔( ๖ )  หรือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ตามมาตรา  ๔๐  ( ๘ ) หากเปิดสถานพยาบาล เช่น  แพทย์เปิดคลินิกรักษาคนไข้ของตนเอง เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๖ )  หากแพทย์ทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล  และมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เงินได้จากการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยาเป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ ) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับที่  ๑๑  ( พ.ศ. ๒๕๐๒ )  มาตรา  ๘  ( ๑๒ ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ  ๗๕  หากแพทย์ทำสัญญาเป็นลูกจ้างหรือพนักงานของโรงพยาบาล เงินได้ที่ได้รับเป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๑ )

( ๗ )  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๗ )  ได้แก่  เงินได้จากการรับเหมาที่ผุ้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

 ตัวอย่างเช่น  นายก.  รับเหมาปลูกสร้างบ้านให้ นาย ข.  โดยเป็นผู้จัดหาสัมภาระทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไม้  อิฐ  หิน  ปูน ทราย ฯลฯ  เงินค่ารับเหมาที่ นาย ก.  ได้รับเป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๗ )  แต่ถ้า นาย ก. รับเหมาปลูกสร้างบ้านให้ นาย ข.  โดยใช้เครื่องมือและคนงานของตน  แต่วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดนาย ข.  เป็นผู้จัดหามาเอง  เงินค่ารับเหมาที่ นาย ก.  ได้รับ จะเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  รับเหมาค่าแรง
( ๘ )  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  ได้แก่  เงินได้จากการธุรกิจ  การพาณิชย์  การเกษตร  การอุตสาหกรรม  การขนส่ง  หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา ๔๐ ( ๑ ) ถึง ( ๗ )  แล้ว

       มาตร า๔๐ ( ๘ )  นี้  บัญญัติไว้อย่างกว้างขวาง  เงินได้ที่ไม่อาจจัดอยู่ในประเภทที่  ๑  ถึงประเภทที่  ๗  ได้ จะถือว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา  ๔๐ ( ๘ )  ทั้งสิ้น   เช่น 

 (1) การเก็บค่าต๋ง หรือค่าเกมจากการพนันการแข่งขัน หรือ การเล่นต่าง ๆ
 (2) การถ่าย ล้างอัด หรือขยายรูปภาพยนตร์รวมทั้งการขายสวนประกอบ
 (3) การทำกิจการคำนเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักรเครื่องกล
(4) การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้ หรือหนังเทียม รวมทั้งการขาย ส่วนประกอบ
(5) การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่น ๆรวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(6) การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซม เครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(7) การทำกิจการโรงแรม หรือภัตตาคำรหรือการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มจำหน่าย
(8) การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย
(9) การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง
(10) การทำวรรณกรรม
(11) การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(12) การทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล เฉพาะที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาล และการจำหน่ายยา
(13) การโม่หรือย่อยหิน
(14) การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น
(15) การขนส่ง หรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ
(16) การทำบล็อกและตรา การรับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(17) การทำเหมืองแร่
(18) การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเครื่องดื่ม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502
(19) การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบเครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา
(20) การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
(21) การทำน้ำแข็ง
(22) การทำกาว แป้งเปียก หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆที่มิใช่เครื่องสำอาง
(23) การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติกหรือเครื่องยางสำเร็จรูป
(24) การซักรีด หรือย้อมสี
(25) การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต
(26) รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง
(27) การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก หรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก
(28) การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป
(29) การฟอกหนัง
(30) การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล
(31) การจับสัตว์น้ำ
(32) การทำกิจการโรงเลื่อย
(33) การกลั่น หรือหีบน้ำมัน
(34) การให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่
(35) การทำกิจการโรงสีข้าว
(36) การทำเกษตรกรรมประเภท ไม้ล้มลุกและธัญชาติ
โดยสรุป หากเงินได้ใดไม่เข้าลักษณะประเภทเงินได้ ประเภถทที่ 1- 7  ตามมาตรา 40(1)-(7)  ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8  ตามมาตรา 40(8)  ทั้งสิ้น

รับยกเว้นภาษีเงินได้

 ก.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้บุคคลบางคน

ไดมีการกําหนดยกเวนภาษีเงินไดใหแกบุคคลตาง ๆดังตอไปนี้
    1. บุคคลตามขอผูกพันที่ประเทศมีอยูตามสัญญาวาดวยความรวมมือทางเศรษฐกิจ  หรือ ทางเทคนิคระหวางรัฐบาลไทยกับรัฐบาลตางประเทศ
    2. เจาหนาที่  หรือผูเชี่ยวชาญ  ขององคการสหประชาชาติ หรือทบวงการชํานัญพิเศษ ของสหประชาชาติ   ซึ่งปฏิบัติหนาที่อยูในประเทศไทยในเมื่อประเทศไทยมีขอผูกพันใหยกเวนตามอนุสัญญาหรือความตกลง
   3. บุคคลในคณะทูต  บุคคลในคณะกงสุล  และบุคคลที่ถือวาอยูในคณะทูตตามความตกลง  ทั้งนี้  ใหเปนไปตามหลักถอยทีถอยปฏิบัติตอกัน
   4. บุคคลตามสัญญาวาดวยการยกเวนการเก็บภาษีซอนที่รัฐบาลไดทําไว หรือจะไดทํากับรัฐบาลตางประเทศ
   5. บุคคลที่มีสัญชาติอเมริกันซึ่งเปนลูกจาง หรือพนักงานของบริษัทหรือหางหุนสวนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปนคูสัญญากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในการเขามาประกอบกิจการเกี่ยวกับการบํารุงรักษายุทธปจจัย  และงานที่เกี่ยวของใน ราชอาณาจักรโดยเขามาในราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงานบํารุงรักษายุทธปจจัยและงาน ที่เกี่ยวของในราชอาณาจักรของบริษัทหรือหางหุนสวนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นจากกฎหมาย
ของสหรัฐอเมริกานั้น
6. บุคคลตามที่กําหนดไว ในความตกลงระหวางรัฐบาลไทย  กับองคการรัฐมนตรีศึกษาแหงเอเซียตะวันออกเฉียงใต (องคการซีเมส)  เกี่ยวกับสํานักงานใหญขององคการรัฐมนตรีศึกษาแหงเอเซียตะวันออกเฉียงใตในประเทศไทย ซึ่งไดแก
    (1) ผูอํานวยการซีเมส หรือพนักงานใดๆ ซึ่งไดรับแตงตั้งใหทําการแทนผูอํานวยการซี เมส
    (2) พนักงานระหวางประเทศซึ่งมีชื่อสงไป     และไดรับความเห็นชอบจากเจาหนาที่ของไทยที่เหมาะสมแลวโดยไดรับยกเวนภาษีจากเงินเดือนและรายไดซึ่งองคการซีเมสไดจายให
     (3) ผูเชี่ยวชาญและที่ปรึกษา      นอกจากพนักงานของซีเมสผูปฏิบัติหนาที่เพื่อซีเมส
7. กรณีสํานักงาน หรือหนวยงาน หรือกองทุนที่มิใชนิติบุคคล หรือคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้น โดยกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกระทํากิจการตามนโยบายของทางราชการ โดยมีการเรียกเก็บเงินจากผูประกอบการ  เพื่อนํามา
เปนคาใชจายในการดําเนินงานตามวัตถุประสงคของทางราชการ ถามีเงินเหลือก็จะจายคืนใหแกผูประกอบการ และกรรมการหรือบุคคลซึ่งปฏิบัติหนาที่ในสํานักงาน   หรือหนวยงาน   หรือกองทุน   หรือคณะกรรมการดังกลาว  มิไดรับเงินไดหรือผลประโยชนใดๆ  ซึ่งอาจคิดคํานวณไดเปนเงินนอกเหนือจากเงินไดพึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แหงประมวลรัษฎากร กรณีดังกลาวถือไดวา  สํานักงาน  หรือหนวยงานหรือกองทุนที่มิใชนิติบุคคล  หรือคณะกรรมการดังกลาว ทําหนาที่แทนกระทรวง ทบวง กรม และผูประกอบการ จึงไมมีหนาที่เสียภาษีเงินไดบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร    (คําวินิจฉัยของคณะกรรมการ วินิจฉัยอากรที่ 24/2536)

ข.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้บางประเภท

                ประมวลรัษฎากร มาตรา  ๔๒  บัญญัติให้เงินได้พึงประเมินรวม  ๒๒  ชนิด ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  โดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้  และมาตรา  ๔๒ ( ๑๗ ) บัญญัติให้เงินได้ตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงได้รับยกเว้นภาษีด้วย  ซึ่งกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรานี้คือ กฎกระทรวง  ฉบับที่  ๑๒๖ ( พ.ศ.  ๒๕๐๙ )  โดยระบุชนิดของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ในข้อ  ๒ ของกฎกระทรวงดังกล่าว  ซึ่งต่อมาได้มีการออกกฎกระทรวงอีกหลายฉบับ เพิ่มเติมชนิดของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษี ในข้อ  ๒  ของกฎกระทรวงดังกล่าว  ซึ่งปัจจุบันมีถึง  ๗๖ ชนิด  นอกจากนี้  ยังมีพระราชกฤษฎีกาอีกหลายฉบับ  ซึ่งออกตามความในมาตรา  ๓  แห่งประมวลรัษฎากร ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่เงินได้พึงประเมินที่ได้รับอีกหลายประการ ทั้งยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายอื่นอีกด้วย
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าว  จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้  ๙  ประการ คือ
๑.  ยกเว้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่าย หรือค่าทดแทน หรือสวัสดิการ
๒.  ยกเว้นเพื่อส่งเสริมอาชีพ หรือธุรกิจบางอย่าง
๓.  ยกเว้นเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์  ตลาดทุน  และตลาดเงิน
๔.  ยกเว้นเพื่อส่งเสริมการศึกษา
๕.  ยกเว้นเพื่อตอบแทนการทำคุณประโยชน์
๖.  ยกเว้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
๗.  ยกเว้นเพื่อมิให้มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อน
๘.  ยกเว้นเนื่องจากเป็นมรดก
๙.  ยกเว้นเนื่องจากเป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา  หรือในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

                   เงินได้ดังต่อไปนี้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                          ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

(1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะ ในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น  
     (2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
    (3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
     (4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
    (5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
    (6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
    (7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
    (8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
       (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
       (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
       (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64) )
    (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ
      “(๑๐) เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก”
 ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔๐) พ.ศ. ๒๕๕๘)
    (11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด
      (12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด
    (13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
     (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
 (ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2557 )
    (15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง
    (16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ
    (17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง
 ( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 201 (พ.ศ. 2539) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 219 (พ.ศ. 2542) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2544) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 252 (พ.ศ. 2548) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 254 (พ.ศ. 2548) )
    (18) รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย
     (19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ
 ( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ท.ป.64/2539 )
    (20) (ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2525 มาตรา 5 ตั้งแต่ 28 ส.ค. 2525 เป็นต้นไป)
    (21) (ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ตั้งแต่ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป)
    (22) (ยกเลิกโดย พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 8 ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2529เป็นต้นไป)
    (23) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
    (24) เงินได้ของกองทุนรวม
 ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    (25) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
    “(๒๖) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
              ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๕ ของเงินได้ส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (๑) และ (๒) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๘) ที่เป็นเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๔๒ (๒๖)”

      (๒๗) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
              ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๕ ของเงินได้ส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท โดยไม่ต้อง
นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๘) ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๔๒ (๒๗)
     (๒๘) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
          ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๕ ของเงินได้ส่วนที่เกินสิบล้านบาท โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (๑) และ (๒) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๘) ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๔๒ (๒๘)”
      (๒๙) เงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้ เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”
 ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ )

  การยกเว้นภาษีเงินได้ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)  และอื่นๆ

“(1) เงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป)
(2) เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล
(3) เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงานในระหว่างเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าวซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษาหรือนิสิตที่เข้ามาศึกษา ณ สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ
      (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
      (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 149 (พ.ศ. 2523) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2523 เป็นต้นไป)
(5) (ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับสำหรับการโอนกรรมสิทธิในพันธบัตรของรัฐบาลที่ออกจำหน่ายก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534)
(6) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้านหรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตรเงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 136 (พ.ศ. 2517) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2517 เป็นต้นไป)

(7) (ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่เริ่มจำหน่ายก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534)

(8) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้

(9) เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดารหรือเงินยังชีพ ที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 138 (พ.ศ. 2518) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2517เป็นต้นไป)

(10) รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษีอากร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 139 (พ.ศ. 2518) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2518เป็นต้นไป)

(11) ดอกเบี้ยเงินสะสมที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 145 (พ.ศ. 2522) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2522 เป็นต้นไป)

(12) เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 146 (พ.ศ. 2522) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2522 เป็นต้นไป)

(13) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 145 (พ.ศ. 2522) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2522 เป็นต้นไป)

(14) (ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 169 (พ.ศ. 2529) ใช้บังคับ 2 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นต้นไป)

(15) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 152 (พ.ศ. 2523) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ไม่ว่าที่ได้รับก่อนหรือตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2523 เป็นต้นไป)

(16) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างและเงินใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก

      (ก) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย

      (ข) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 154 (พ.ศ. 2524) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปี 2524 เป็นต้นไป)

(17) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น

(18) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย
(ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 312 (พ.ศ. 2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)

(19) เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบ ที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 156 (พ.ศ. 2526) ใช้บังคับ 28 สิงหาคม 2525)

(20) ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ยที่ได้มีการออกใบรับฝากก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534

“(21) เงินได้ดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือดอกเบี้ยหุ้นกู้

(ข) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน

(ค) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้

ทั้งนี้ เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และผู้มีเงินได้นั้นมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 249 (พ.ศ. 2548) ใช้บังคับ 25 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)

“ผู้มีเงินได้ต้องถือกรรมสิทธิ์หรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก่อนวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องออกจำหน่ายก่อนวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ในกรณีที่การโอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรหรือหุ้นกู้มิได้มีการแจ้งต่อนายทะเบียนต้องมีหลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์เป็นหนังสือซึ่งระบุวันที่โอนกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้นไว้โดยชัดแจ้ง”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 286 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)

(22) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับที่ได้มีการออกบัตรก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)

(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่เริ่มจำหน่ายก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)

(24) เงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อมาระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530

ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่นำรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิ

ในกรณีที่รายจ่ายบางรายการไม่สามารถแยกเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกหรือเกี่ยวกับกิจการอื่นได้โดยชัดแจ้ง ให้เฉลี่ยรายจ่ายตามส่วนของเงินได้ของแต่ละกิจการนั้น

(25) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร แล้วแต่กรณีจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นการคำนวณจากเงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อมาระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าว
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 171 (พ.ศ. 2529) ใช้บังคับ 18 กันยายน 2529 เป็นต้นไป)

(26) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 177 (พ.ศ. 2531) ใช้บังคับ 9 ธันวาคม 2531 เป็นต้นไป)

(27) เงินได้สำหรับรางวัลสลากการกุศลสร้างตึกสยามมินทร์ ซึ่งออกเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2531 และเงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากการกุศลสร้างตึกสยามมินทร์

(28) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

(29) เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 184 (พ.ศ. 2533) ใช้บังคับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับใน พ.ศ. 2532 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป)

(30) เงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้

      (ก) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน แต่ไม่รวมถึงกรีที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงคนแรก
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป)

      (ข) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 223 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับ 30 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป)

       “ (ค) ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นด่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนไว้แล้ว “
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544) ใช้บังคับ 14 กันยายน 2544 เป็นต้นไป)

ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งเกิดจากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ทรงคนแรกไว้แล้วตาม มาตรา 50 (2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายเงินได้ได้ประทับตราว่าได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายบนตราสารแล้วเท่านั้น
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป)

(31) เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าว และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้โครงการ ความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคมยุโรป
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 190 (พ.ศ. 2535) ใช้บังคับ 13 มีนาคม 2535 เป็นต้นไป)

“(32) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ใช้บังคับ 31 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป)

(33) เงินได้ที่คณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทได้รับเพื่อประโยชน์ในการสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่และปรับปรุงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 193 (พ.ศ. 2536) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป)

(34) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

      “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก

      “เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2537) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป)

“(35) เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่เกินสี่แสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )
“(36) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

       (ก) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพหรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์

       (ข) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานก่อนอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพหรืออายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 292 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)

“(37) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ไม่รวมถึงกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป)

(38) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้ง-สิ้นไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 200 (พ.ศ. 2538) ใช้บังคับ 29 พฤศจิกายน 2538เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55))

(39) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่อง-จากการปฏิบัติงานบนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 204 (พ.ศ. 2539) ใช้บังคับ 26 กันยายน 2539 เป็นต้นไป)

(40) เงินได้ที่คณะกรรมการบริหาร “ทุนการกุศลสมเด็จพระเทพฯ” ได้รับเพื่อประโยชน์ของทุนการกุศลสมเด็จพระเทพฯ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 205 (พ.ศ. 2540) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 2 เมษายน 2540 เป็นต้นไป)

(41) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

      (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

      (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดินี้

      (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) โดยจดทะเบียนการได้มาใน พ.ศ. 2540 และขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายหลังจากการจดทะเบียนไม่น้อยกว่าหนึ่งปี แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 206 (พ.ศ. 2540) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป)

(42) ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิต ฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 207 (พ.ศ. 2540) ใช้บังคับ 23 กันยายน 2540 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 69))

“(43) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )
“(44) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังต่อไปนี้

      (ก) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการเพราะตาย เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือเหตุสูงอายุ

      (ข) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการในกรณีอื่นนอกจาก (ก) แต่เมื่อออกจากราชการแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากสมาชิกผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 277 (พ.ศ. 2553) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)

(45) เงินได้ที่คณะกรรมการกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติด สำนักนายกรัฐมนตรีได้รับเพื่อประโยชน์ของกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติดดังกล่าว
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 209 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 4 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป)

(46) ดอกเบี้ยพันธบัตรออมสิน รุ่นพันธบัตรเงินฝากช่วยชาติ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 210 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 4 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป)

(47) เงินได้ที่เป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจากศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ เนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงระห่างรัฐบาลไทยและศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 211 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 21 ตุลาคม 2539 เป็นต้นไป)

(48) รางวัลบัตรออกทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 213 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับรางวัลบัตรออมทรัพย์ที่ออกรางวัลตั้งแต่ 10 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป)

(49) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ทำให้วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิดมีที่ดินไม่เกินห้าสิบไร
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 214 (พ.ศ. 2541) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 22 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป)

“(50) ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยโอนหุ้นเพื่อแลกกับหุ้นในบริษัทใหม่อันได้ควบเข้ากันหรือบริษัทผู้รับโอนกิจการทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน และการโอนหุ้นที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 291 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับตั้งแต่ 14 กันยายน 2555 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชน จำกัด หรือบริษัทจำกัด)

(51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกินสามแสนบาท
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป)

(52) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจ่ายให้แก

      (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

      (ข) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

      (ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง


      กรณีที่ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ตาม (53) หรือ (59) รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตาม (53) หรือ (59) แล้วแต่กรณี ต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท


      อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)

(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 87))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 102))
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 103))

(53) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริงในส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
                                    กรณีที่ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ตาม (52) หรือ (59) รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตาม (52) หรือ (59) แล้วแต่กรณี ต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                                    อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88))

“(54) เงินได้เท่าที่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชน จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 227 (พ.ศ. 2543) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป)

“(55) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกและไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้นเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกินห้าแสนบาท

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนไม่ครบห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้มีเงินได้มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีเงินได้นั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) )

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมินและในกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้จ่ายเงินสะสมตามวรรคสองด้วยเมื่อรวมเงินได้กับเงินสะสมแล้วต้องไม่เกินเจ็ดแสนบาท ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 267 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )
(56) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91)

“(57) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 99)

“ (58) เงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้

(ก) เงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
(ข) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545 ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 235 (พ.ศ. 2545) ใช้บังคับ 1 มีนาคม 2545 เป็นต้นไป)

“(59) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

กรณีที่ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ตาม (52) หรือ (53) รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับ ค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือเงินได้ตาม (52) หรือ (53) แล้วแต่กรณี ต้อง ไม่เกินหนึ่งแสนบาท

อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ. 2550) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป)
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 122) )

“(60) ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้ สำหรับสลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2545) ใช้บังคับ 28 กันยายน 2545 เป็นต้นไป)

“(61) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษีสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไปและการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัย ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป)
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป )
“หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ให้เงินได้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก ในอัตราร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54) แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม (55) แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท ในปีภาษีเดียวกัน การได้รับยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป)

“(62) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

(ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

(ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน

(ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็น ที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือ นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ทั้งนี้ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน“
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) ใช้บังคับกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดแล้วแต่กรณี สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกระทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 125) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2546 )

“(63) เงินได้จากการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทย เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้าเกษตร”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 244 ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่เปิดทำการซื้อขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยเป็นต้นไป)

“(64) บำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2546”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 245 ใช้บังคับ 10 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป)

“(65) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551) )
“(66) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสองให้ผู้มีเงินได้นั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ (133) ใช้บังคับ 3 กันยายน 2547 เป็นต้นไป)

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นและการถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 267 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

(67) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มี เงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตาม (66)”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ใช้บังคับ 31 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป)

“(68) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด กรมพลศึกษาเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน หรือสมาคมกีฬาจังหวัดหรือสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อการกีฬา แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนดังกล่าว”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 294 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)

“(69) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 250 (พ.ศ. 2548) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)

“(70) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามมาตรา 47(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนที่บริจาคให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 253 (พ.ศ. 2548) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2548 ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ 2547 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ 2548 เป็นต้นไป)

“(71) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 256 (พ.ศ. 2548) ใช้บังคับ 22 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป)

“(72) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป)

“(73) เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสินได้รับ โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 258 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 10 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป)

“(74) เงินได้ที่คณะกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยได้รับเพื่อประโยชน์ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 259 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 5 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป)

“(75) เงินได้จากการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 260 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป)

“(76) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัท ประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพัน บาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มี เงินได้ซึ่ง มีรายได้ไม่เพียงพอ แก่การยังชีพ ทั้งนี้ ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายในปี พ.ศ. 2549 เป็น ต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

“(77) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ

(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย

(ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)

“(78) เงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งมีเงินได้ไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทสำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 303 (พ.ศ. 2557) ใช้บังคับ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป)

“(79) เงินได้ที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยได้รับ โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 268 (พ.ศ. 2552) ใช้บังคับ 6 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป)

“(80) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 275 (พ.ศ. 2553) ใช้บังคับ 17 กันยายน 2553 เป็นต้นไป)

“(81) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 9 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป)

“(82) เงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ซึ่งได้ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการได้รับเฉพาะส่วนที่เท่ากับจำนวนค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำหนด”
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 282 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 14 กันยายน 2554 เป็นต้นไป)

“(83) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าที่ลูกจ้างได้รับจากการนำบุตรชอบด้วยกฎหมายของตนแต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมไปอยู่ในความดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กที่นายจ้างได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสำหรับ สถานประกอบการนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป”
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 285 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 13 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป)

“(84) เงินได้ที่นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศได้รับอันเนื่องมาจากการเสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 289 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 29 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป)

“(85) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มีการซื้อขายผ่านระบบที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้มีขึ้นเพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หรือหุ้นกู้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 290 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 6 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป)

“(86) เงินค่าตอบแทนพิเศษที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 295 (พ.ศ. 2555) ใช้บังคับ 9 มกราคม 2556 เป็นต้นไป)

“(87) เงินได้ส่วนที่เป็นเงินค่าทดแทน เงินค่าตอบแทน หรือเงินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่ได้รับเนื่องจากความเสียหายหรือเสื่อมประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ในการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ การเข้าใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 301 (พ.ศ. 2556) ใช้บังคับ 15 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นไป)

“(88) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3)(4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนเงินที่บริจาคให้แก่กรมศิลปากรเพื่อการบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากร แล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหัดลดหย่อนดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2556 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 302 (พ.ศ. 2556) ใช้บังคับ 24 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไป)

“(89) เงินได้ที่ได้รับจากส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ที่ได้รับจาก (ก) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมอันได้มาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ตามส่วน 2 หมวด 3 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร และถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 309 (พ.ศ. 2558) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)

“(90) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54) แล้วแต่กรณี หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม (55) หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิต แบบบำนาญตาม (๖๑) แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท ในปีภาษีเดียวกัน

(91) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนการออมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยกองทุน การออมแห่งชาติ เนื่องจากสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติทุพพลภาพ หรือสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุ ครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือถือว่าเป็นกรณีที่สมาชิกมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือตาย ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 314 (พ.ศ. 2559) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป)

  92.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่า อยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
  93. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการขาย แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการขายตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
          (1) การให้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน
          (2) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
          มิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
  94. ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว
  95. ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินส่วนแบ่งของกองทุนรวมที่จัดตั้ง ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้
  96. ลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(3)(ก) และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรประเภทเงินฝากประจำ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด
  97. เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนแล้ว โดยให้ยกเว้นเท่าจำนวนเงินที่บริจาคให้กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
  98. เงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนเงินที่บริจาคในการจัดสร้างเครื่องทรง พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
  99. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการดำเนินการ ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
  100. ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท แรก สำหรับปีภาษีนั้น (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551)
  101. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
  102. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการให้บริการ และการกระทำ ตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
  103. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
  104. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโดยนำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
  105. เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่นในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ ดังต่อไปนี้
       (1) เงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
       (2) แห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น จากผู้ได้รับการส่งเสริมตามสัญญาที่ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้มีกำหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
  106. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และการบริจาคอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ทั้งนี้ สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2546 เป็นต้นไป
  107. เงินได้จากการขายสุรากลั่นชุมชนของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำสุรากลั่นชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา จำนวนไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ทำสุรากลั่นชุมชน เฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำสุรากลั่นชุมชนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548
  108. เงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานเพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเงินเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี สำหรับระยะเวลา 5 ปีภาษี
  109. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย
  110. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  111. เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสิน ได้รับตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  112. เงินได้ที่คณะกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยได้รับเพื่อประโยชน์ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
  113. เงินได้จากการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 เป็นต้นไป (กฎกระทรวง 260 พ.ศ.2549)
  114. เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภรยาของผู้มีเงินได้ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ทั้งนี้ ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายในปี พ.ศ.2549 เป็นต้นไปและให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด (กฎกระทรวง 263 พ.ศ.2550)
  115. เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ
         (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย
         (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป (กฎกระทรวง 263 พ.ศ.2550)
  116. เงินได้ของรัฐวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (กฎกระทรวง 266 (พ.ศ. 2551))
  117. การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
           (1) เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
           (2) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีมีคู่สมรส
                (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
                (ข) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี และภริยาจะใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ก็ตาม ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 15,000บาท
                 - ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จำนวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
                - การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 187)

  118. การยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการ ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นผู้อยู่ในไทย และมีอายุ ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นค้นไป ได้รับยกเว้นเงินได้ จำนวนเงิน 190,000 บาท โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าว สามารถใช้สิทธิ หักจากเงินได้ ประเภทใดก็ได้ แต่สิทธิทั้งหมดรวมกันแล้ว ต้องไม่เกินคนละ 190,000 บาท
           ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 19)

   

--------------------------------ฯลฯ------------------------------


(มีต่อตอนที่ 2)