เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา
การภาษีอากร/ภาษีอากร 1
รหัสวิชา 961365/960102
ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้สอน : นายวินัย เนื้อนาจันทร์ นักวิชาการสรรพากรเชี่ยวชาญ (อาจารย์พิเศษ)
----------------------
บทที่ 2
หลักการและวิธีการประเมินภาษี
ตามประมวลรัษฎากร
ขอบเขตของเนื้อหา
¡
หลักการเกี่ยวกับภาษีเงินได้
-
ความหมายของเงินได้
-
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียภาษี ถิ่นที่อยู่
และแหล่งเงินได้
-
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีเงินได้จากกำไรของบริษัท
กับ เงินปันผลของบุคคลธรรมดา
¡
วิธีการประเมินภาษีอากร
¡
ความหมายของภาษีอากรประเมิน
-
การประเมินตนเอง
-
การประเมินโดยเจ้าพนักงาน
-
อายุความการประเมินภาษี
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
¡
เพื่อให้ทราบถึงความหมายของเงินได้พึงประเมิน
¡
เพื่อให้ทราบถึงหลักถิ่นที่อยู่และแหล่งเงินได้
¡
เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาษีที่เสียจากกำไรสุทธิของบริษัท
กับเงินปันผลของบุคคลธรรมดา
¡
เพื่อให้ทราบถึงอำนาจเจ้าพนักงานประเมินและวิธีการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร
¡
เพื่อให้ทราบถึงอายุความการประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ความหมายของเงินได้พึงประเมิน
ความหมายของเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร คือ เงินได้ที่บุคคลธรรมดา ได้รับนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ได้มาจากแหล่งใด และ
เงินได้ที่กล่าวมานั้นเป็นเงินได้ที่พึงเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามบทบัญญัติหมวด
3 แห่งประมวลรัษฎากร ความหมายของเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายนั้นสามารถแยกได้ดังนี้
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรได้ให้ความหมายไว้ว่า
1.เงิน มีความหมายเป็นได้ทั้งเงินไทย
หรือเงินตราต่างประเทศ
2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
หมายถึงทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ที่ได้รับ (มาแล้วจริงๆ
ในปีภาษีนั้นๆ)และสามารถคิดคำนวณได้เป็นเงิน
เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา สร้อยคอ เป็นต้น
3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
หมายถึงประโยชน์ที่ได้รับ (มาแล้วจริงๆ ในปีภาษีนั้นๆ)มาที่ไม่ใช่ตัวเงิน ไม่ใช่ทรัพย์สิน
แต่ประโยชน์ที่ว่านี้สามารถคิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น
การที่นายจ้างให้การอุดหนุนแก่ลูกจ้างในรูปของที่อยู่อาศัย อาหารกลางวัน เสื้อผ้า เป็นต้น
4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ เงินค่าภาษีถือว่าเป็นเงินได้ คือ เงินค่าภาษีที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ โดยออกแทนให้ทอดใดถือเป็นเงินได้ของทอดนั้น
เงินค่าภาษีที่ออกให้เงินได้ประเภทใดถือเป็นเงินได้ประเภทนั้น เงินค่าภาษีที่ออกให้สำหรับเงินได้ของปีภาษีใดถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้น
5.เครดิตภาษี ตามที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 47 ทวิ คือ ให้ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้ประเภท
เงินปันผลจากบริษัท หรือส่วนแบ่งกำไร ซึ่งได้รับจาก
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี
โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น
ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ
ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา
ผู้จ่ายเงินได้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ให้ชัดเจนว่าเงินได้ที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
เครดิตภาษีที่คำนวณได้ ให้นำมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้
เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด
ให้นำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าวหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย
ถ้ายังขาดหรือเหลือเท่าใดให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีสำหรับจำนวนที่ขาด
หรือมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เหลือนั้นคืน
ผู้มีเงินได้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษี
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีที่เสียจากกำไรสุทธิของบริษัท
กับเงินปันผลของบุคคลธรรมดา
เหตุผลที่ต้องให้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร
1.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ประกอบกิจการและ
มีกำไรต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรก้อนดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร จากกำไรดังกล่าวมาให้กับผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน
และผู้ลงทุนหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนำเงินปันผลดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อีก ก็จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากเงินกำไรก้อนเดี่ยวกัน
จึงกำหนดให้ผู้มีเงินได้จากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร
ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา
47 ทวิ
แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 เพื่อสนับสนุนให้ ประชาชน
ลงทุนในบริษัทเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจของชาติขยายตัวเป็นการส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้นเครดิตภาษีเงินปันผล
จึงเกิดขึ้น โดยกฎหมายให้ทางเลือก
ว่าจะนำเงินปันผลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือ จะเลือก ไม่นำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก็ได้เพราะถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วร้อยละ 10
แต่ถ้าเลือกนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ก็ต้องนำรายได้ เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรทุกก้อนมาคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเลือกเฉพาะเงินปันผลจากบางบริษัทมารวมไม่ได้
ต้องนำมารวมทั้งหมด
วิธีการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร
เครดิตภาษี
= อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล x จำนวนเงินปันผล
( 100
- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล)
ตัวอย่าง บริษัท ก จำกัด จ่ายเงินปันผลให้นาย ข
ผู้ถือหุ้น จำนวน 100,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10,000 โดยเงินปันผลที่นำมาจ่ายนั้น
จ่ายจากกำไรสุทธิที่บริษัท ก
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วในอัตราร้อยละ 30
เครดิตภาษี = 30 x 100,000 = 3
x 100,000 = 42,857
100 – 30 7
การคำนวณภาษีเงินได้ของนาย
ข ประสงค์จำนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษี นาย
ข จะต้องนำเครดิตภาษี จำนวน 42857 ดังกล่าวมาบวกกับเงินปันผลที่ได้รับเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี และต้องนำเครดิตภาษีดังกล่าวมาบวกกับภาษีหัก ณ
ที่จ่าย เพื่อนำไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระ ดังนี้
เงินได้พึงประเมิน(เงินปันผลบวกเครดิตภาษี) = 100,000 + 42857
= 142,857
ภาษีหัก
ณ ที่จ่ายและเครดิตภาษี
= 10,000 + 42,857 =
52,857
เครดิตภาษีเงินปันผลจะได้รับเท่าใดขึ้นอยู่กับว่า
บริษัทผู้จ่ายเงินปันผลจ่ายจากเงินกำไรที่เสียภาษีไว้อัตราเท่าไร เช่น
เสียภาษีร้อยละ
30 เครดิตภาษีเงินปันผล
เท่ากับ 3/7
x จำนวนเงินปันผล
เสียภาษีร้อยละ
25 เครดิตภาษีเงินปันผลเท่ากับ 1/3 x จำนวนเงินปันผล
เสียภาษีร้อยละ
20 เครดิตภาษีเงินปันผล
เท่ากับ ¼ x จำนวนเงินปันผล
เสียภาษีร้อยละ
10 เครดิตภาษีเงินปันผล
เท่ากับ 1/9 x จำนวนเงินปันผล
ถ้าบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผล ในแต่ละอัตราซึ่งต้องระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก
ณ ที่จ่าย ว่าจ่ายจากกำไรสุทธิที่เสียภาษีอัตราร้อยละเท่าไร
แต่ถ้าบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ไม่เสียภาษี จากเงินกำไรที่นำมาจ่ายเงินปันผลก็
ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ เช่น บริษัท
เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และบริษัทยังอยู่ในช่วงเวลายกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นเงินปันผล ก้อนนี้
ผู้ลงทุน จึงไม่ได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล
หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้
ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลมี
โดยทั่วไปรัฐบาลของประเทศต่างๆ มีหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยอาศัยอำนาจในการจัดเก็บภาษีดังนี้
1.
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) กรณีบุคคลมีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศใด
ประเทศนั้นย่อมมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลนั้น
2.
หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) กรณีบุคคลมีถิ่นที่อยู่เป็นการถาวรหรือเป็นการประจำในประเทศใด
(ซึ่งส่วนมากกำหนดให้อยู่ในประเทศนั้นถึง 180 วันในปีภาษี)
ประเทศนั้นย่อมมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลนั้น
ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศหรือแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ
3.
หลักสัญชาติ
(Nationality
Rule) กรณีบุคคลถือสัญชาติของประเทศใด
ประเทศนั้นย่อมมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลนั้น
เช่นเดียวกับหลักถิ่นที่อยู่
เนื่องจากแต่ละประเทศต่างยึดหลักในการเก็บภาษีเงินได้ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาการเก็บภาษีซ้อนจากรายได้ก้อนเดียวกัน
อันเนื่องมาจากผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้ในประเทศหนึ่ง แต่มีถิ่นที่อยู่หรือมีสัญชาติอีกประเทศหนึ่ง
ตัวอย่าง โรเบิร์ต
สัญชาติอเมริกันมาขายส้มตำในไทยได้เงิน 100 ล้าน จากการขายส้มตำ
อยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน มีถิ่นที่อยู่ปกติอยู่ในลาว
อยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน มีถิ่นที่อยู่ปกติอยู่ในลาว
โรเบิร์ตต้องเสียภาษีในไทย ตามหลักแหล่งเงินได้
ต้องเสียภาษีในลาว ตามหลักถิ่นที่อยู่
ต้องเสียภาษีในอเมริกา ตามหลักสัญชาติ
จะเห็นได้ว่าเงินได้ก้อนเดียวกันต้องเสียภาษีถึง 3 ครั้ง 3 ประเทศ กรณีดังกล่าวแก้ปัญหาโดยใช้ความตกลงระหว่างประเทศ แบบทวิภาคี
โดยปกติจะใช้วิธีการเครดิตภาษี
แต่ไม่เกินจำนวนที่จะต้องเสียในประเทศที่ได้รับเครดิต ตามข้อตกลงในอนุสัญญาภาษีซ้อน
ซึ่งแต่ละประเทศได้ตกลงทำสัญญาต่อกัน
อนุสัญญาภาษีซ้อน Double Taxation Agreement (DTA )การขจัดภาษีซ้อน มี 2 วิธี
1. การยกเว้น
วิธียกเว้น (Exemption Method)
ใช้ในกรณีรัฐคู่สัญญาต่างมีสิทธิเก็บภาษีจากเงินได้ประเภทเดียวกันได้
1.1 วิธียกเว้นเต็มที่ (Full Exemption Method)
รัฐถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงิน งดเว้นการเก็บภาษีเงินได้ที่ถูกเก็บในประเทศแหล่งเงินได้
1.2 วิธีการยกเว้นแบบก้าวหน้า (Exemption With Progression)
รัฐถิ่นที่อยู่มีสิทธิเอาเงินได้ที่เกิดขึ้นในรัฐแหล่งเงินได้ มารวมกับเงินได้ในรัฐถิ่นที่อยู่เพื่อให้ตก ต้องในอัตราภาษีก้าวหน้าในอัตราสูงนำไปคำนวณกับเงินได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในรัฐถิ่นที่อยู่
2. การเครดิต (Credit Method) รัฐคู่สัญญาต่างมีสิทธิเก็บภาษีจากประเภทเดียวกันได้
แต่ DTA กำหนดให้รัฐถิ่นที่อยู่ เป็นผู้ทำหน้าที่ขจัดภาษีซ้อนโดย นำภาษีที่เสียไว้แล้ว ในรัฐแหล่งเงิน ได้มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในรัฐถิ่นที่อยู่ - วิธีเครดิตภาษี มี 2 วิธี
อนุสัญญาภาษีซ้อน Double Taxation Agreement (DTA )การขจัดภาษีซ้อน มี 2 วิธี
1. การยกเว้น
วิธียกเว้น (Exemption Method)
ใช้ในกรณีรัฐคู่สัญญาต่างมีสิทธิเก็บภาษีจากเงินได้ประเภทเดียวกันได้
1.1 วิธียกเว้นเต็มที่ (Full Exemption Method)
รัฐถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงิน งดเว้นการเก็บภาษีเงินได้ที่ถูกเก็บในประเทศแหล่งเงินได้
1.2 วิธีการยกเว้นแบบก้าวหน้า (Exemption With Progression)
รัฐถิ่นที่อยู่มีสิทธิเอาเงินได้ที่เกิดขึ้นในรัฐแหล่งเงินได้ มารวมกับเงินได้ในรัฐถิ่นที่อยู่เพื่อให้ตก ต้องในอัตราภาษีก้าวหน้าในอัตราสูงนำไปคำนวณกับเงินได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในรัฐถิ่นที่อยู่
แต่ DTA กำหนดให้รัฐถิ่นที่อยู่ เป็นผู้ทำหน้าที่ขจัดภาษีซ้อนโดย นำภาษีที่เสียไว้แล้ว ในรัฐแหล่งเงิน ได้มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในรัฐถิ่นที่อยู่ - วิธีเครดิตภาษี มี 2 วิธี
2.1 วิธีเครดิตเต็มที่ (Full Credit Method) นำภาษีที่เสียไว้แล้วในรัฐแหล่งเงินได้ มาหัก
ออกจากรัฐถิ่นที่อยู่ได้เต็มที่ไม่จำกัด ถ้าภาษีที่ชำระไว้มากกว่าที่ต้องเสีย รัฐถิ่นที่อยู่ต้องคืนภาษี
2.2 วิธีเครดิตธรรมดา (Ordinary Credit Method)
นำภาษีที่ได้เสียไว้แล้วในรัฐแหล่งเงินได้มาหักออกจากรัฐถิ่นที่อยู่เท่าจำนวนที่เสียจริง
ในรัฐแหล่งเงินได้ แต่ไม่เกินภาษีที่ต้องชำระในรัฐถิ่นที่อยู่ ( ถ้าภาษีที่ชำระในรัฐแหล่งเงินได้ มากกว่าที่ต้องเสีย รัฐถิ่นที่อยู่ไม่ต้องคืนภาษี)
ทั้งนี้ จะขจัดภาษีซ้อนด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ทำไว้กับแต่ละประเทศ
หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ของประเทศไทย
ตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้
2 หลักคือ 1.
แหล่งเงินได้ในประเทศไทย 2.
หลักถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักแหล่งเงินได้ในประเทศไทย
(มาตรา 41 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
ผู้มีเงินได้ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยดังต่อไปนี้
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย
ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศก็ตาม
(1)
เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย ได้แก่
กรณีที่ผู้มีเงินได้ปฏิบัติหน้าที่งานที่ทำอันก่อให้เกิดเงินได้นั้นในประเทศไทย
อาทิ
(ก)
เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
(ข)
เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงาน
(2)
เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้ประกอบกิจการ
หรือมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเงินได้ในประเทศไทย อาทิ
(ก)
เงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน
(ข)
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
(ค)
เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
(ง) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร
การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นใด เช่น ค่าแสดงของนักแสดงสาธารณะ
รางวัลจากประกวดแข่งขันหรือชิงโชค
(3)
เงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย ได้แก่
กรณีที่ผู้มีเงินได้ที่เป็นลูกจ้างและมีหน้าที่งานอันก่อให้เกิดเงินได้ในต่างประเทศ
(ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นเงินได้จากแหล่งเงินได้ในต่าง ประเทศ)
แต่หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศนั้นเป็นไปเพื่อกิจการของนายจ้างที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะ
อาทิ ข้าราชการประจำสถานทูตไทยในต่างประเทศ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่งานในต่างประเทศ
เช่น ทำสัญญา ฝึกอบรม ศึกษาและดูงาน เป็นต้น เป็นครั้งคราว ทั้งนี้
เพื่อกิจการของบริษัทนายจ้างที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะ
(4)
เงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้
(ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม) มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย
และทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดเงินได้ อาทิ
(ก) ค่าแห่งลิขสิทธิ์
หรือสิทธิอย่างอื่น
(ข) ดอกเบี้ย เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร
ผลประโยชน์ที่ได้จากการเพิ่มทุน ลดทุน เลิกกิจการหรือควบกิจการ
(ค)
เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
2. หลักถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)
ผู้อยู่ในประเทศไทยและมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ
จะมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรก็ต่อเมื่อครบเงื่อนไขหรือองค์ประกอบทั้ง
3 ข้อ ดังต่อไปนี้
(1)
ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
โดยจะอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา
แต่รวมเวลาที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมดถึง 180 วันในปีภาษี
(ซึ่งอาจพิจารณาได้จากหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มีเงินได้)
(2) เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 อันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ ดังนี้
(ก)
เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ ได้แก่
กรณีที่ผู้มีเงินได้ปฏิบัติหน้าที่งานที่ทำอันก่อให้เกิดเงินได้ในต่างประเทศ
และการปฏิบัติหน้าที่งานนั้นเป็นไปเพื่อกิจการของนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ
(ข)
เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำในต่างประเทศ
(ค)
เงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
(3) ผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้อันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศดังกล่าว
เข้ามาในประเทศไทย โดยนำเข้ามาภายในปีภาษีเดียวกันกับปีที่เกิดเงินได้นั้น
ตัวอย่าง นักกอล์ฟชื่อดัง มิเชล
วี เดินทางมาแข่งขันกอล์ฟ รายการ LPGA
tour ในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2558 ได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันเป็นเงิน
10 ล้านบาท มิเชล
วี ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีให้ประเทศไทย
ตามหลักแหล่งเงินได้เกิดในประเทศไทย
ตัวอย่าง Mr. Johnny เป็นคนอังกฤษ
ได้ภรรยาเป็นคนไทย มาอยู่ที่เมืองไทยตลอดปีมีเงินได้จากเงินบำนาญที่ประเทศอังกฤษ
โดยผู้จ่ายเงินโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของ Mr. Johnny เป็นประจำทุกเดือน ดังนั้น Mr. Johnny ต้องนำเงินได้จากบำนาญดังกล่าวมาเสียภาษีในประเทศไทย
ตามหลักถิ่นที่อยู่
ภาษีอากรประเมิน
หลักการและวิธีการประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ความหมายของภาษีอากรประเมิน
ภาษีอากรประเมิน
คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมินประเมิน และให้เจ้า
พนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดนั้น ได้แก่
พนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดนั้น ได้แก่
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นภาษีอากรประเมิน
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นภาษีอากรประเมิน
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีอากรประเมิน
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นภาษีอากรประเมิน
ความหมายของเจ้าพนักงานประเมิน
"
เจ้าพนักงานประเมิน " หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ได้แก่
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3
ขึ้นไปดังต่อไปนี้ เป็นเจ้าพนักงานประเมิน
(1) สังกัดกรมสรรพากร
นอกจากที่ระบุใน (2) (3) และ (4) ในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(2) สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค
ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรภาคนั้น
(3)
สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
(4)
สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
2.บุคคลอื่นที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน
เช่น
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเจ้าพนักงานประเมิน เฉพาะกรณีรับชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
และแบบแสดงรายการภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร เป็นต้น
หลักการและวิธีการประเมินภาษี
การประเมินภาษีอากร
จำแนกได้ 2 วิธี ดังนี้
1.การประเมินภาษีโดยการประเมินตนเอง (Self assessment)ภาษีอากรประเมิน
ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง
แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากร ตามจำนวนที่ พึงต้องชำระ
ภายในกำหนดเวลาและสถานที่ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หากประเมินแล้วไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
เจ้าพนักงานอาจประเมินภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้ ภาษีประเภทที่ต้องประเมินตนเองเช่น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นต้น
2.
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมิน(Authoritative assessment) แบ่งได้เป็น มีดังนี้
2.1 การประเมินก่อนถึงกำหนดยื่นรายการ
ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีจากผู้ต้องเสียภาษี
ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้ เมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวน
ภาษีที่ต้องเสียไปยังผู้ต้องเสียภาษี และให้ผู้ต้องเสียภาษี ชำระภาษีภายใน
เจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็น
เครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีเมื่อถึงกำหนดเวลาการเสียภาษี
ในการใช้อำนาจ
ประเมินก่อนถึงกำหนดยื่นรายการนี้ เจ้าพนักงานประเมินจะสั่งให้ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดด้วยก็ได้
2.2
การประเมินจากการยื่นแบบแสดงรายการ
รายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้น
ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมิน เป็นผู้
ประเมินตามที่กำหนดไว้ในหมวดภาษีอากรนั้น ๆ และเมื่อได้ประเมินแล้ว
ให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์
การประเมินก็ได้
ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่
ประเมิน ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน ไปยัง
ผู้จัดการมรดกหรือไปยังทายาทหรือผู้อื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี
ประเมิน ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน ไปยัง
ผู้จัดการมรดกหรือไปยังทายาทหรือผู้อื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี
ถ้าเมื่อประเมินแล้ว
ไม่ต้องเรียกเก็บหรือเรียกคืนภาษีอากร การแจ้งจำนวนภาษีอากร เป็นอันงดไม่ต้องกระทำ
แต่อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินยังคงดำเนินการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี ได้
2.3
การประเมินโดยการตรวจสอบ
อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินภาษีในการประเมินภาษีอากรจากการตรวจสอบ
2.3.1
การประเมินโดยการออกหมายเรียกตรวจสอบ
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก.กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า
ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน
และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น
นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้
แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้
การออกหมายเรียกดังกล่าว จะต้องกระทำภายในเวลาสองปี
นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้น จะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร
หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้
แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ
แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร
ข.
กรณีผู้เสียภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ
ผู้ใดไม่ยื่นรายการ
ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแล้วแต่กรณี มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน
และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ ผู้ที่ไม่ยื่นรายการ หรือพยานนั้นนำบัญชี
หรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย
การออกหมายเรียกกรณีนี้ไม่มีกำหนดเวลาแต่ต้องประเมินภายใน 10
นับแต่วันพ้นกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ
2.3.2การประเมินจากการตรวจสอบโดยไม่ต้องออกหมายเรียก
ก. สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ โดยไม่ต้องออกหมายเรียก
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ โดยไม่ต้องออกหมายเรียก
(1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี
หรือแบบใบขนสินค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้า
โดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง
(3)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน
หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(4)
ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อ
หรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย
พร้อมทั้งหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
(5)
ผู้ประกอบการไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ
ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(6) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า
ผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/1
มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข. สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่ต้องออกหมายเรียก
ในเมื่อ
(1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป หรือ
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนผู้ประกอบกิจการ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี
(1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป หรือ
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนผู้ประกอบกิจการ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี
อายุความการประเมินภาษี
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินต้องดำเนินการประเมินภายในกำหนดเวลาดังนี้
1.สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล
อายุความประเมินภาษีมีกำหนดอายุความ 10 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดยื่นแบบแสดงรายการแต่ละประเภท ตามมาตรา 193/31
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ถ้าเป็นกรณีต้องออกหมายเรียกก่อนประเมิน การออกหมายเรียกต้องออกหมายเรียกภายในเวลาที่กำหนด(กรณียื่นรายการอายุความออกหมายเรียกสองปี
แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ
กรณีไม่ยื่นรายการไม่มีอายุความออกหมายเรียกแต่ต้องประเมินภายในอายุความการประเมิน)
2.สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน
ให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(1) สำหรับผู้ประกอบการ
(ก)
สองปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
หรือวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาที่รัฐมนตรี หรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่น
แบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
(ข)
สองปีนับแต่วันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี ทั้งนี้
เฉพาะในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีหลังวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาดังกล่าวใน
(ก) แต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันสุดท้าย แห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ค)
สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
หรือที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
โดยแสดงฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของฐานภาษีที่แสดงในแบบแสดงรายการภาษี
(2) สำหรับผู้นำเข้าซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการสองปีนับแต่วันยื่นใบขนสินค้า
เว้นแต่กรณีที่ผู้นำเข้ามีข้อโต้แย้งตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเป็นคดีในศาล
สองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยข้อโต้แย้งอากรขาเข้า
เป็นหนังสือหรือนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
(3) สำหรับผู้ที่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
83/5 มาตรา 83/6 หรือมาตรา 83/7 สองปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ประกอบการ
ผู้นำเข้า หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษี
แบบใบขนสินค้า หรือแบบนำส่งภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่สมบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่กำหนดเวลาตาม
(1) (ก) (2) และ (3) แล้วแต่กรณี
การประเมินดังกล่าวสามารถประเมินได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก
3.สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะได้ภายในสิบปีนับแต่วันพ้น
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 193/31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยไม่ต้องออกหมายเรียกแต่ประการใด
-----------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น